วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เปิดร้านยาอย่างไรจึงจะไม่ติดคุก? ตอนที่1: เป็นเภสัชกรร้านยาต้องรู้กฎหมายยาอะไรบ้าง? โดยเภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


ระยะนี้มีข่าวร้านยาและเภสัชกรโดนจับกุมหลายเรื่อง หลายข้อหาเหลือเกิน โดยมีเจ้าภาพจากหลายค่ายหลายหน่วยงานทั้งสารวัตรยา เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ สคบ. นู่น นี่ นั่น ทำให้ใครที่เคยคิดว่าเปิดร้านยาแล้วเป็นงานสบายๆ หนิมๆ เงียบๆ ไม่ไปมีปากเสียง ไปมีเรื่องอะไรกับใคร แต่ใครจะรุ้ว่าการเปิดร้านยาทุกวันนี้ มีความเสี่ยงที่จะถูกแจ้งความ ฟ้องร้อง จับกุม ส่งฟ้องดำเนินคดีมากมายเหลือเกิน ทั้งโดยตรงในส่วนของการละเลย ละเมิดไม่ปฎิบัติตามกฎหมาย พรบ.ยา หรือ กฎกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงกฎหมายใหม่ๆ ที่ตั้งวงใหม่ขึ้นมา ตีกรอบผลักภาระให้เจ้าของร้านยาที่ไมรู้เท่าทัน เหลี่ยมกฎหมายต่างๆ ไปเป็นผู้ต้องหา ที่มีทั้งโทษตั้งแต่ตักเตือน ปรับเป็นเงิน หรือสุดท้ายอาจต้องรับโทษถึงจำคุกต้องขังได้

ในฐานะเภสัชกรร้านยา ขอมาทบทวนเล่าเรื่องคำแนะนำในการให้ทุกท่าน ผู้ประกอบการร้านยาทั้งหลายได้ตรวจสอบว่าธุรกิจของท่านได้ดำเนินการถูกต้องเป็นไปตามกบิลบ้านเมืองหรือไม่ หากทีสิ่งใดที่ไม่รู้ไม่เข้าใจ เรายังจะแนะนำแหล่งข้อมูลชั้นเยี่ยม ที่ค้นคว้าและนำเสนอโดยผู้ชำนาญในข้อกฎหมายที่จะมาสรุปให้เรา ได้ไปเปิดดำเนินร้านยาได้สอดคล้องถูกต้องตามกฎหมาย ค้าขายสบายใจ ไม่โดนปรับ ไม่มีใครมาชวนไปติดคุกโดยไม่ตั้งใจต่อไปนะครับ

ทำไมต้องมีกฎหมายยา?
ในสังคมไทยของเรานั้นมีประชากรจำนวนมากที่มีความแตกต่างกันมาก ทั้งด้านความคิดเห็นและพฤติกรรมต่างๆกัน รวมไปถึงรูปแบบการใช้ชีวิต เรามุ่งหวังให้ทุกคนมีการดูแลร่างกายให้มีสุขภาพดี ถ้าหากเจ็บป่วยด้วยโรคาพยาธิ ก้อสมควรได้การรับการรักษาพยาบาลที่ถูกต้อง และได้รับส่งมอบยาที่มีคุณภาพจากเภสัชกรที่ผ่านการเรียนฝึกอบรมมาอย่างเชี่ยวชาญ

หรือหากคุณเองอยากจะเสริมเพิ่มเติมความสวยงามด้วยศัลยกรรม ก้อต้องผ่านมือแพทย์ผู้ชำนาญโดยตรง ที่ต้องใช้เครื่องมือที่ปลอดภัย รวมไปถึง  เวชสำอาง หรืออาหารเสริมก้อต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพจากเภสัชกร  เห็นมั้ยว่า ในสังคมไทยบ้านเราจึงจำเป็นต้องมีกฎระเบียบหรือกติการ่วมกัน เพื่อเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการควบคุมความประพฤติทั้งผู้ป่วยและผู้ให้การรักษา ให้ได้รับการบริการที่ถูกต้อง ปลอดภัยและเป็นธรรม ในที่สุด ก็จะช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับสังคม ไม่ให้เกิดความวุ่นวาย ถ้านึกไม่ออกว่าจะยุ่งวุ่นยากยังไง ก้อดูกรณีตัวอย่างล่าสุด น้อง pretty ที่หลงไปฉีดคอลลาเจนกับหมอเถื่อน แล้วมีผลตามมาทำให้ถึงกับเสียชีวิตน่านแหละครับ ถ้าไปรับการรักษาพยาบาลที่หน่วยงานที่ถูกต้อง มีการเลือกใช้ผลิตภัณท์ยาที่มีการนำเข้าถูกต้อง และได้รับการดูแลจากแพทย์แท้จริง คงไม่เกิดโศกนาฎกรรมดังว่า    

ดังนั้นกฎหมายจึงเป็นแนวทางปฏิบัติยึดถือเพื่อความสงบเรียบร้อย ช่วยให้การดำเนินชีวิตของพลเมืองไทยทุกคนปฏิบัติตนตามข้อบังคับของกฎหมาย ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องได้รับโทษ เพื่อป้องปรามไม่ให้ใครก้อตามมาล่วงละเมิด

ดังนั้นกฎหมายจึงเป็นเกณฑ์สำคัญที่เป็นหลักของความยุติธรรมที่ช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเราทุกคนให้มีสุขภาพดีตามเกณท์ที่เป็นที่ยอมรับ ตรวจสอบได้ และให้ความปลอดภัยแก่ร่างกายและจิตใจของเราได้มากที่สุด  

เป็นเภสัชกรร้านยาต้องรู้กฎหมายอะไรบ้าง?
ในความจริงแล้วกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการหรือเภสัชกร ที่มาจัดตั้งองค์กร เพื่อดำเนินธุรกิจค้าปลีกหรือร้านยานั้นมีหลายฉบับที่เกี่ยวโดยตรง ตั้งแต่กฎระเบียบในการจัดตั้งองค์กรธุรกิจ การจดทะเบียนรูปแบบนิติบุคคล ระบบภาษี กฎหมายแรงงานและอื่นๆ อีกมากมายซึ่งหวังว่าท่านเจ้าของร้าน จะได้ไปค้นคว้าหาความรุ้หรือสรรหาผู้ชำนาญจะเป็นทางเลือกที่ดี่สุด

แต่กฎระเบียบที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับธุรกิจยาก้อมีตั้งแต่ พระราชบัญญัติยา และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง กฎและประกาศของกระทรวงสาธารณสุขต่างๆที่เกี่ยวข้องโดยตรง   รวมไปถึง ข้อกำหนดทางจริยธรรมที่แม้นไม่ตราไว้เป็นข้อบังคับ แต่ก้อเพื่อให้ เภสัชกรได้ปฎิบัติหน้าที่ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ในร้านยาที่เป็นหน่วยบริการทางสุขภาพที่น่าเชื่อถือและตรวจสอบได้

กรณีที่ท่านเป็นเภสัชกรเองคงได้รับการร่ำเรียนกระบวนวิชา กฎหมายทางเภสัชศาสตร์มาแล้ว ซึ่งไม่อยากนำมาเล่ากล่าวให้ฟังซ้ำซ้อน แต่จะนำมาทบทวนใน
หัวข้อกว้างที่ท่านจำเป็น “ต้องรุ้” และเข้าใจอย่างถ่องแท้ ในการนำไปประกอบธุรกิจร้านยาได้ อันได้แก่
·     ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป
·     พระราชบัญญัติยาแต่ละฉบับ
·     พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ
·     พระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
·     พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม และสิทธิผู้ป่วย
·     จริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม

·     พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค + PL Law

·     พระราชบัญญัติอาหาร

·     พระราชบัญญัติเครื่องสำอางค์

·     พระราชบัญญัติสถานพยาบาล

·     ทรัพย์สินทางปัญญาและพระราชบัญญัติสิทธิบัตร CL

·     Good Pharmacy Practice  หรือวิธีการที่ดีทางเภสัชกรรม 

สำหรับท่านผู้รับอนุญาตเอง หากข้อกฎหมายที่กล่าวนำมามีข้อกำหนดให้ปฏิบัติ ท่านจะละเลยไม่ได้ในการสื่อสารให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฎิบัติการของท่าน ต้องเป็นที่พึ่งในการดูแลการเปิดร้าน การดูแลกลุ่มผลิตภัณท์จัดสัดส่วนให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ตรวจดูคุณภาพยาตามประเภท ปกป้องไม่ให้มีการจ่ายยาหมดอายุ  การจัดทำบัญชียาต่างๆ และทุกๆข้อที่เป็นหน้าที่ของเภสัชกรในอนาคต ได้แก่  GPP หรือวิธีการที่ดีทางเภสัชกรรมซึ่งเป็นหลักการสากลในระดับโลก  และได้แปลงมาเป็นมาตรฐานของร้านยาคุณภาพที่กำลังมีการรณรงค์ให้ร้านยาสมัครเข้าโครงการอยู่ในขณะนี้  และในเวลาอีกไม่ไกลจะมีการผลักดันให้ มีการนำมาตรฐานนี้มาใส่ไว้ในกฎหมาย  โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2 ฉบับ  คือ (ร่าง) กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการออกใบอนุญาต และต่ออายุใบอนุญาต (ร่าง) ประกาศกระทรวงว่าด้วยหลักปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรม

สุดท้ายแล้ว ในบทความของชุดนี้ เราจะมาเล่าต่ออย่างละเอียดต่อไป ให้เห็นว่าอนาคตร้านยาต่อไปแล้วจะเป็นโลกของมืออาชีพทั้งด้านการจัดการค้าปลีก การให้บริการวินิจฉัยโรคและการปฎิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนดเปลี่ยนแปลงใหม่ๆที่ตามมาในที่สุด ...อีกไม่นาน

แหล่งข้อมูลที่แนะนำให้ไปทำความเข้าใจเรื่องกฎหมายยา
·     กฎหมายยาและแนวทางปฎิบัติตามกฎหมาย โดย"สำนักยา”

·     แนวทางปฎิบัติของร้านยา แบ่งตามหัวข้อ โดย ภก.นฤป ถาวรทวีวงษ์ http://pharmanet.co.th/articles.php?article_no=10

·     บทสรุปย่อและคำอธิบายกฎหมายยา โดยภก.ปรุฬห์ รุจนธำรงค์

1 ความคิดเห็น:

  1. Wholedrug.com ขายส่งยา ยี่ปั๊วร้านขายยา
    เชคราคายา สมัครสมาชิกฟรี จัดส่งทั่วประเทศ


    www.wholedrug.com

    โทร. 092 8811 857
    Line ID : wholedrug
    Email : info@wholedrug.com
    Facebook : www.facebook.com/wholedrug

    เราได้รวบรวมสินค้าสำหรับร้านยา คลีนิค และ โรงพยาบาล มากกว่า 2,000 รายการ อยู่ในหมวดสินค้า

    - ระบบประสาท ขยายหลอดเลือด
    - ยาลดไข้ แก้ปวดอักเสบ
    - ยาแก้ไอ ขับเสมหะ ละลายเสมหะ
    - ยาปฏิชีวนะ Antibiotic
    - ยาระบบทางเดินหายใจ Respiratory Tract
    - ยาระบบทางเดินอาหาร Gastrointestinal tract
    - ยากลุ่มโรคเรื้อรัง Chronic disease
    - ยาตา หู คอ จมูก
    - ยาคุมเม็ดฮอร์โมน Hormones
    - เทสตั้งครรภ์ ถุงยาง ฯลฯ
    - ยาใช้ภายนอก ยาครีม Topical Use
    - ยาทาแก้ปวด พลาสเตอร์แก้ปวด
    - ยาฉีด
    - ยาดม
    - ยาอม
    - วิตามิน อาหารเสริม Supplementary
    - ยาสมุนไพร
    - เวชภัณฑ์ ยา อุปกรณ์ตกแต่งแผล First Aid Support
    - อุปกรณ์การแพทย์ Medical Device
    - ครีมบำรุง ดูแลผิว เวชสำอาง
    - อื่นๆ

    ** ขายส่งเฉพาะบุคคากรทางการแพทย์ **

    ตอบลบ