วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การอนุญาตให้ร้านยาขายยาสามัญของยาซิเดนาฟิล เพื่อแก้ไขปัญหายาปลอม และเพิ่มการเข้าถึงยาของประชาชนของทางราชการนั้น "แหกตา"


ตามข่าว “อย.อนุญาตขายยารักษานกเขาไม่ขัน ได้ตามใบสั่งแพทย์แก้ปัญหายาปลอม” 




ตามข่าวจาก
http://www.banmuang.co.th/2012/09/อย-อนุญาตขายยารักษานกเข/ โดยกำหนดให้ร้านขายยาแผนปัจจุบันสามารถจ่ายยาดังกล่าวตามใบสั่งแพทย์ได้ ซ้ำร้ายยังได้ออกมาตรการ ในการควบคุมเพื่อมิให้เกิดปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผล จนอาจก่อให้เกิดอันตรายไว้ 5 มาตรการ เพื่ออ้างว่าป้องปรามการใช้ยาผิด

ในฐานะเภสัชกรขอตอบให้ประชาชนชายไทย วัยหมดกระสุน ทั้งหลายที่หงอยเหงาเปล่าเปลี่ยว และตั้งหน้าตั้งตาตั้งขา รอความหวังจากทางราชการ ผอ. องค์การหน่วยงานต่างๆ  ว่าต่อไปนี้ร้านยาจะมียาดังกล่าวบริการท่านในราคาที่แสนถูก ให้ท่านไปซื้อมาบรรลุเป้าหมายทางอารมณ์นั้น

ขอบอกว่าพวกเรากำลังโดน "แหกตา" จากทางหน่วยงานที่รับผิดชอบ จงใจออกข่าวมาบิดเบือนสภาพความเป็นจริงของระบบจ่ายยาในบ้านเมืองเราประเทศไทย ว่าประชาชนคนไทยต่อไปนี้จะได้รับยาดังกล่าวที่ไม่ปลอม ในราคาที่เป็นธรรม และหาซื้อได้ง่ายจากช่องทางบริการสาธารณสุขที่เข้าถึงได้ง่ายที่สุดคือร้านยาที่มีเภสัชกรทำหน้าที่ดูแลสุขภาพของท่านอยู่เต็มเวลา ไม่แขวนป้าย


ทุกท่านกำลังโดนหลอก ด้วยคำตอบที่เป็นจริงจากเภสัชกร ที่ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพของท่านอยู่เต็มเวลาในร้านยา ไม่แขวนป้าย ดังนี้

1. ผู้ประกอบการฯ ต้องรับผิดชอบในการควบคุมการกระจายของยาอย่างเคร่งครัดให้เป็นไปตามกฎหมาย ไม่ให้ออกไปในช่องทางที่ไม่เหมาะสม => ร้านยาส่วนใหญ่ไม่มีการเปิดบัญชีซื้อโดยตรงกับ
กับองค์การเภสัชที่ว่า ที่มีหน้าที่กระจายยาอยู่แล้ว ไม่สามารถหาซื้อยาตัวนี้ได้อยู่แล้ว ทำไมร้านยาที่ไม่มียาตัวนี้ จึงต้องมาควบคุมการกระจายของยาอย่างเคร่งครัด (คำถามที่ว่า ทำไมร้านยาไม่ไปเปิดบัญชีขายยากับองค์การนั้น คำตอบแท้ๆ ยาวมว๊ากก ตอบสั้นๆว่า ระบบการสั่งซื้อยาขององค์การเภสัชที่ว่า “ต่ำกว่ามาตรฐาน”)

2. ผู้ประกอบการฯ ต้องรายงานการขายยาให้สำนักงานคณะกรรมการ อย. ทราบ เพื่อเป็นข้อมูลในการกำกับดูแลการกระจายยา => ตามไปดูข้อ 5

3. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ผู้บริโภค ให้เกิดความเข้าใจ => การที่ผู้นำหน่วยงานดังกล่าวมาเดินสายให้ข่าวยาตัวนี้อย่างโจ่งแจ้งนั้น ขอบอกว่าท่านเองกำลังทำผิดกฎหมายในแง่ของการโฆษณายาอันตรายโดยไม่ได้รับอนุญาต
4. ฟื้นฟูความรู้ให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในร้านยา ให้ช่วยดูแลความปลอดภัยการใช้ยา และเฝ้าระวังอาการ
ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา รวมทั้งไม่จ่ายยาโดยไม่มีใบสั่งแพทย์ => ตามไปดูข้อ 5

5. ผู้ประกอบการฯ จะร่วมสนับสนุนให้มีใบสั่งยาจากแพทย์มารับยาในร้านขายยาอย่างเคร่งครัด โดย อย. จะมีการประเมินผลมาตรการควบคุมทุก ๆ 6 เดือน => ขอตอบดังนี้

5.1 เภสัชกรร้านยาทุกคนรู้อยู่ว่า “แทบไม่เคยมีใบสั่งยามาที่ร้านยา” อยู่แล้ว

5.2 เภสัชกรร้านยาจะร่วมสนับสนุนให้มีใบสั่งยาจากแพทย์มารับยา ในร้านขายยาอย่างเคร่งครัดได้อย่างไร ในขณะที่ รู้อยู่ว่าร้านยาจำนวนมากที่ไม่มีเภสัชไปทำหน้าที่ปฎิบัติการ ขายยากลุ่มที่ต้องใช้ใบสั่งยา ( เช่น ยาควบคุมพิเศษ) โดยไม่มีใบสั่งยามาตั้งนานแล้ว โดยทางราชการก้อไม่มีมาตรการแก้ไขอย่างไร

5.3 ร้านยา ขย. 2 รวมทั้งร้านชำมีการจำหน่ายยาที่ผิดกฎหมายทั้งนั้น แต่ สำนัก อย. ซึ่งนอกจากไม่ทำหน้าที่ที่ควรทำ โดยการการควบคุมการกระจายจากโรงงานและยี่ปั๊วและห้างค้าส่งบางเจ้า ที่ไปขายยาอันตรายให้กับผู้ไม่มีสิทธิ์ไปจำหน่ายต่อ  สำนัก อย. มีสิทธิอำนาจที่จะตรวจ จับ ป้องกันได้โดยตรงกับโรงงานและยี่ปั๊วและห้างค้าส่งบางเจ้าง่ายกว่า เร็วกว่า  ทำได้กลับไม่กระทำ

5.4 ความเป็นจริงในแง่ธุรกิจ โรงพยาบาล คลีนิคไหนจะโง่ขนาดส่งใบสั่งยาไปที่ร้านยา โรงพยาบาล คลีนิคไหนเหล่านั้นทุกวันนี้ ก้อวินิจฉัยเอง ก้อจ่ายยาเอง และก้อเอาเงินกำไรเข้ากระเป๋าเอง ไม่ง่ายกว่าหรือ ทำไมต้องเอาเงินกำไรในปากไปแบ่งให้คนอื่นอีก?

สุดท้ายแล้ว หากท่านอยากได้ยานี้จริงๆ กรุณาเดินทางไปร้านยาขององค์การเภสัชกรรมและอย่าลืมหาใบสั่งยาไปด้วย ไม่เช่นนั้นท่านจะผิดหวังจากระบบราชการไทยที่มีมีแต่นโยบายหลอกลวงไม่จริงใจ จากประชาชนผู้เสียภาษีให้เขาเหล่านั้น

แหล่งข้อมูล

อย.อนุญาตขายยารักษานกเขาไม่ขัน ได้ตามใบสั่งแพทย์แก้ปัญหายาปลอม,
http://www.banmuang.co.th/2012/09/อย-อนุญาตขายยารักษานกเข/

รูปประกอบ

http://www.matichon.co.th/online/2012/10/13491576851349157761l.jpg

http://www.gpo.or.th/Default.aspx?tabid=88&mid=446&ctl=ArticleView&articleId=338&language=th-TH

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น