วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ลูกน้อยเป็นไข้ไม่สบาย จะรู้ได้อย่างไร? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


เอ๊ะ...ลูกป่วยหรือเปล่านะ พอเอามืออังหัวลูกน้อยที่ร้อน ก็ทำเอาพ่อแม่หนักใจเลยว่าลูกรักตัวน้อยของเราจะเป็นไข้หรือไม่นะ ไม่รู้ว่าควรจะทำอย่างไรดี ปัญหาดังกล่าวเภสัชกรมักได้รับเป็นคำถามประจำ เรามีวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ไปสังเกตว่า ลูกตัวน้อยของคุณมีไข้จากอาการป่วยจริงๆหรือไม่?

ตัวร้อนอย่างไร? จึงเรียกว่าลูกรักเป็นไข้นะ
ก่อนอื่นเลย คุณแม่ทราบไหมครับว่า ร่างกายของเรามีระบบควบคุมอุณหภูมิร่างกายที่ทำงานได้อย่างน่ามหัศจรรย์ ตัวอย่างเมื่อ น้องน้อยวิ่งเล่นออกกำลังกายสนุกสนาน ระบบที่ว่านี้ก้อจะทำงานระบายความร้อน ออกมาเป็นร่างกายที่ร้อนหรืออุ่นขึ้น พร้อมกับมีเหงื่อไหลซึมออกมาระเหยความร้อน เพื่อให้ร่างกายลูกรักลดอุณหภูมิลงจนเป็นปกติตามธรรมชาติ

แต่หลายครั้งที่คุณแม่พอเอามือไปอัง สัมผัสหน้าผากน้องเล็กของเรา แล้วเผินๆ มีอาการตัวร้อน แต่ความจริงแล้วอาจจะไม่มีไข้ก้อได้ ทำไมเหรอครับ อาจเนื่องเพราะ กลไกควบคุมอุณหภูมิในร่างกายของเด็กเล็กๆ ยังทำงานได้ไม่ดีนัก หลายครั้งที่เราจึงเป็นไปจับตัวลูกอาจจะรู้สึกว่าร้อน แต่จริงๆแล้วร่างกายเขาก้อไม่ได้ผิดปกติ อาจจะตัวร้อนมากขึ้น อันเกิดจากได้หลายสาเหตุที่ไม่ได้เป็นไข้แต่อย่างใด อาจจะเนื่องมาจากออกกำลังกายวิ่งเล่น ห้องนอนของลูกร้อนเกินไป ลูกน้อยใส่เสื้อผ้าเสียหลายชั้นไม่เหมาะสมกับสภาวะอากาศ หรือห่มผ้าหนาๆ ให้ลูกจนรู้สึกร้อน อึดอัด ไม่สบายตัวได้ 

ตัวร้อนอย่างไรจึงเรียกว่าลูกรักเป็นไข้นะ?
พ่อแม่หลายคนหากสำรวจดูปัจัยอื่นๆแล้วปกติ แต่ลูกยังตัวร้อนอยู่ แสดงว่าอาจเป็นไข้ก็ได้ พอซักทีเถิดครับการใช้มือหรือความรุ้สึกในการไปอังตัวน้องน้อย แล้วคาดเดาเอาว่าลูกน้อยเป็นไข้
ขอแนะนำให้ใช้ปรอทหรือเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ เพราะเป็นวิธีทดสอบที่ได้ผลว่าลูกเป็นไข้หรือไม่ ที่น่าเชื่อถือมากกว่าใช้มือสัมผัสมากที่สุด  ถ้าตัวเลขบนปรอทขึ้นไปถึง 39 องศาเซลเซียส แสดงว่าไข้ขึ้นสูง ควรเริ่มช่วยระบายความร้อนด้วยการถอดเสื้อผ้าของลูกออก และรีบใช้ผ้าหรือฟองน้ำชุบน้ำเช็ดตัวลดไข้ให้ลูก พร้อมให้ลูกดูดน้ำหรือนมเพื่อช่วยลดความร้อนในร่างกาย ถ้าลูกอายุ 3 เดือนขึ้นไปแล้ว อาจจะป้อนยาพาราเซตตามอลสำหรับเด็กเพื่อลดไข้ต่อไป

สัญญานต่อไปนี้ ที่ลูกรักมีอาการบอกว่าลูกรักผิดปกติแล้วหล่ะ
นอกเหนือจากการสัมผัสดูแลลูกน้อยแล้ว นอกเหนือจากกการมีไข้แล้ว หากเราพบว่าลูกรักมีอาการดังนี้ ก้ออย่าได้วางใจ
·      ลูกน้อยเบื่อไม่ยอมกินนม หรือกินน้อยมากกว่าปกติ
หากเค้ามีอาการการเบื่อนม กินได้น้อย หรือแทบไม่กินเลย เป็นสัญญานอาการเริ่มต้นของการป่วยได้  หากถ้าลูกเราซึ่งเคยเจริญอาหาร กินเก่งมั่กๆ อยู่ๆ กลับไม่ยอมกินนม คงไม่ดีแน่ ควรพยายามป้อนนมหรือน้ำให้ลูกบ่อยๆ จะให้จิบจากช้อน หรือดูดจากขวดก็ได้ การให้นมกับน้ำบ่อยๆ จะช่วยให้ร่างกายของลูกไม่ขาดน้ำ จากนั้นควรจะปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำต่อไปครับ
·      เสียงลมหายใจที่เปลี่ยนไป
หากรู้สึกว่าลูกหายได้ลำบาก มีเสียงดัง หรือหายใจถี่มาก แสดงว่าลูกอาจมี ปัญหาหายใจไม่สะดวก หรืออาจมีของติดหรือขวางทางเดินหายใจของลูก ให้รีบตรวจดูคอและจมูกของลูก ถ้าไม่มีสิ่งผิดปกติใดๆ แต่ลูกยังหายใจผิดปกติอยู่ ควรปรึกษาแพทย์ด่วน
·      อาเจียน
บางครั้งลูกรักอาจมีอาการแหวะนมหลังดูดนมจนอิ่มได้บ้าง เป็นเรื่องปกติของเด็กเล็กๆ เพราะหูรูดกระเพาะอาหารในวัยนี้ยังไม่แข็งแรง เลยทำให้มีน้ำนมไหลล้นออกมาได้บ้าง แต่ถ้าลูกอาเจียนเอานมหรือน้ำที่ทานเข้าไปจนเกือบหมด อย่างนี้ไม่ได้การแล้ว
ควรรีบดูว่าลูกมีอาการทางกายอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่ เช่น ตัวร้อน ท้องร่วง ฯลฯ เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณว่าเจ้าตัวน้อยของเราป่วยเสียแล้ว
·      มีอาการซึม ไม่สนใจสิ่งสิ่งเร้ารอบตัวเหมือนเคย
อาการนี้อาจเกิดขึ้นได้หากลูกเหนื่อยหรือเบื่อ แต่ถ้าสังเกตเห็นว่าเจ้าตัวเล็กดูอ่อนเพลีย แข้งขาไม่มีแรง นั่งซึม ก็ไม่ควรวางใจ นอกจากนั้นควรสังเกตดูด้วยว่าลูกหายใจเป็นปกติหรือไม่ ทานนมได้สะดวกมั้ย ลองคลำดูบริเวณท้อง ลำคอ และหน้าผากของลูกด้วยว่าร้อนหรือไม่ อาการดังกล่าวแสดงว่าลูกน้อยของคุณไม่สบายเสียแล้ว
·      ท้องเสีย
การที่เด็กอ่อนถ่ายวันละหลายๆ ครั้ง โดยมักถ่ายเป็นสีเหลืองหรือออกเขียว ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าลูกถ่ายเหลวมากหรือเป็นน้ำ อุจจาระมีกลิ่นและลักษณะไม่เหมือนปกติติดต่อกันหลายๆ ครั้ง ถึงแม้ว่าลูกจะยังดูปกติดีก็ไม่ควรชะล่าใจ เพราะการท้องร่วงทำให้ร่างกายได้สูญเสียน้ำได้อย่างรวดเร็ว อาจช็อกและเป็นอันตรายได้
·      ร้องไห้ งอแง โยเย
เสียงร้องไห้กับเด็กเป็นของคู่กัน อย่าได้รำคาญไปเลยนะครับ เพราะเสียงร้องเป็นเครื่องมืออย่างเดียวที่ลูกสามารถบอกคุณได้ตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็นหิว เหนอะหนะ รำคาญ เหงา เบื่อ เจ็บปวด ไม่สบาย สิ่งสำคัญก็คือ ถ้าลักษณะการร้องและเสียงร้องของลูกเปลี่ยนไป และเมื่อลองแก้ไขอย่างเคยแล้วก็ยังไม่หยุดร้อง อาจเป็นไปได้ว่าลูกป่วย หรือไม่สบายมาก
·      ปากและแก้มแดง
การที่ปากและแก้มน้อยๆ ของลูกแดงขึ้นนั้น นอกจากเป็นเพราะพิษไข้แล้ว การที่ปากของลูกแดงอาจมีการอักเสบในช่องปาก หรือแก้มอาจเกิดจากผิวอักเสบเนื่องจากผดผื่นได้
·          ผื่นขึ้น
ผิวของเด็กอ่อนบอบบางมาก จึงง่ายต่อการเกิดผดผื่น ข้อสำคัญก็คือ ถ้ามีผื่นขึ้นโดยไม่มีไข้หรือตัวร้อนอาจจะเป็นการแพ้ธรรมดา แต่ถ้ามีไข้ร่วมกับผื่นขึ้นด้วยแสดงว่าลูกไม่สบายแล้ว

แต่ถ้าหาก ถ้าเห็นลูกมีอาการต่อไปนี้ อย่ารอช้า รีบพาลูกไปโรงพยาบาลทันที
* ซึม ไม่ค่อยรู้สึกตัว หมดสติ
* ชัก
* หายใจลำบาก กระสับกระส่าย เหงื่อออกมาก มือเท้าเย็น
* หอบกระวนกระวาย หน้า มือหรือเท้าเป็นสีคล้ำ
* อาเจียนหรือท้องเสียมาก จนปากแห้ง ขอบตาลึก หรือเห็นว่ากระหม่อมยุบลงไป
* ปัสสาวะน้อยผิดปกติ หรือไม่ถ่ายปัสสาวะเกิน 8 ชั่วโมง
* ถ่ายอุจจาระหรืออาเจียนเป็นเลือดหรือมีสีดำ

 ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นวิธีสังเกตุเบื้องต้นเมื่อลูกป่วย คุณพ่อคุณแม่แทนที่จะมัวแต่กังวลใจควรทบทวนและหมั่นสังเกตุ หากมีอาการผิดปกติอย่างไร อย่าวางใจ สดวกที่สุดก้อแวะไปร้านยาใกล้ๆบ้านก้อได้ครับ เภสัชกรใจดีเรายินดีให้คำปรึกษาเพื่อสุขภาพดีของทุกครอบครัวไทยครับ

แหล่งข้อมูล
•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 19 ธค. 2555 
E-mail: utaisuk@gmail.com Facebook: “UTAI SUKVIWATSIRIKUL
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น

ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

รูปประกอบจาก

http://2.bp.blogspot.com/_Vr8Xl0cbUZA/ShXuCbaJeJI/AAAAAAAAHAQ/eKas6wQ6U8E/s400/Image+%3D+Fever+2.jpg

Fever in Infants and Children, familydoctor.org , http://familydoctor.org/online/famdocen/home/tools/symptom/504.html

Fever in Children, eMedicineHealth , http://www.emedicinehealth.com/fever_in_children/article_em.htm

Flu (Influenza), medicinenet.com,
http://www.medicinenet.com/influenza/article.htm

Seasonal Flu Guidance , A federal government Website managed by the U.S. Department of Health & Human Services - 200 Independence Avenue, S.W. - Washington, D.C. 20201, http://www.flu.gov/professional/hospital/index.html
Influenza (Flu) Antiviral Drugs and Related Information, http://www.fda.gov/drugs/drugsafety/informationbydrugclass/ucm100228.htm
Information on availability of influenza vaccine: Food and Drug Administration, Center for Biologics Evaluation and Research, Office of Communication, Training & Manufacturers Assistance, 301-827-1800.  Fax: 301-827-3843
,octma@fda.hhs.gov

Information on drugs used to treat influenza:, Food and Drug Administration, Center for Drug Evaluation and Research, Drug Information Line, druginfo@fda.hhs.gov
Information on influenza prevention and control: Centers for Disease Control and Prevention, Public Inquiries Office, inquiry@cdc.gov, cdcinfo@cdc.gov

Questions & Answers: Antiviral Drugs, 2009-2010 Flu Season, Centers for Disease Control and Prevention   1600 Clifton Rd. Atlanta, GA 30333, USA, http://www.cdc.gov/h1n1flu/antiviral.htm

Flu, Centers for Disease Control and Prevention   1600 Clifton Rd. Atlanta, GA 30333, USA, http://www.cdc.gov/flu/

เมื่อลูกน้อยป่วย... การดูแลเบื้องต้น, http://www.chulakid.com/forum/index.php?topic=125.0

พญ. วรรณสิริ วรรณสถิตย์     "อาการป่วยที่พบบ่อยในเด็ก" http://kanchanapisek.or.th/kp4/book343/ill.htm

น.ท. นพ. จักรพงศ์ ไพบูลย์ อายุรแพทย์,หวัด โรคหน้าหนาว , http://www.thaiclinic.com/medbible/commoncold.html

ว พชร, ยาแก้โรคหวัด มีจริงหรือ, จันทร์ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552, http://herbnatureandliving.blogspot.com/2009/12/2.html

ภญ.มนทยา สุนันทิวัฒน์, ยาน้ำลดไข้สำหรับเด็ก, นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 291
เดือน/ปี: กรกฎาคม 2003,
http://www.doctor.or.th/article/detail/1671


ภก.พุทธิพันธ์ รอดสุวรรณ, ยาลดไข้ในเด็ก
, นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 295
เดือน/ปี: พฤศจิกายน 2004
,http://www.doctor.or.th/article/detail/2008


ภก.วิรัตน์ ทองรอด, ลูกน้อยไม่สบายเลือกใช้ยาอย่างไร, นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 343
เดือน/ปี: พฤศจิกายน 2007, http://www.doctor.or.th/article/detail/1117

ภก.พุทธิพันธ์ รอดสุวรรณ, ยาลดไข้ในเด็ก,
, นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 295
เดือน/ปี: พฤศจิกายน 2004,
http://www.doctor.or.th/article/detail/2008


ลลิตา อาชานานุภาพ
, การดูแลเด็กมีไข้, นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 1
เดือน/ปี: พฤษภาคม 1979
,http://www.doctor.or.th/article/detail/5074

ลูกรักเป็นไข้ ทำอย่างไรดี โดย เภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://utaisuk.blogspot.com/2011/09/blog-post_23.html

ไข้หวัด: จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกป่วย? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,
http://utaisuk.blogspot.com/2011/10/blog-post_2793.html

ไข้อีดำอีแดง รู้จักเพื่อป้องกันลูกรัก โดยเภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,
http://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/06/22/entry-1

ใช้ยาลดไข้ในเด็กอย่างปลอดภัย โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,
http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/09/26/entry-1

รูปประกอบจาก http://www.babyexpert.com/baby/health/how-to-treat-febrile-seizures/359.html 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น