วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะ ใช้อย่างไรให้ได้ผลและปลอดภัย

จากซองคำถามที่ สงสัยว่าแผ่นยาคุมกำเนิดชนิดติดผิวหนังที่คุณสาวๆอยากรู้ว่ามันได้ผลในการคุมกำเนิดและปลอดภัยในระดับหนึ่งแล้ว ต่อไปจะใช้อย่างไรกันหล่ะ จะติดอยู่หรือไม่? จะเหนียวเหนอะหนะมั้ย?  เรามาฟังคำแนะนำถึงการใช้แผ่นแปะคุมกำเนิดให้ได้ผลป้องกันการตั้งครรภ์อย่างได้ผล และปลอดภัยกันดีไหม?

แผ่นคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะคืออะไร? 
แผ่นคุมกำเนิดชิดแผ่นแปะนี้ประกอบด้วยตัวยาสองตัวคือโปรเจสโตเจนและเอสโตรเจนเหมือนยาเม็ดคุมกำเนิดทั่วไป สำหรับโปรเจสโตเจนก็ใช้ตัว norelgestromin ส่วนเอสโตรเจนก็ใช้ ethinyl estradiol เมื่อแปะที่ผิวหนังแล้ว ตัวยาจะค่อยๆซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือด แล้วไปออกฤทธิ์ป้องกันการตั้งครรภ์วิธีนี้เป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าร้อยละ 99 ควรปึกษาแพทย์ก่อนใช้ โดยแผ่นแปะนี้ใช้สัปดาห์ละหนึ่งแผ่น ในระหว่างที่ใช้แผ่นแปะ สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ เช่น อาบน้ำ ว่ายน้ำ ออกกำลังกาย เต้นแอโรบิค หรือทำงานตามปกติ

ยาคุมกำเนิดชนิดนี้ มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดด้านละ 1 3/4 นิ้ว ผิวเรียบ เป็นแผ่นบาง สีเบจ ประกอบด้วยตัวยาสองชนิด คือโปรเจสโตเจนและเอสโตรเจน ตัวยาดังกล่าวเหมือนกับยาเม็ดคุมกำเนิดทั่วไป เมื่อแปะที่ผิวหนังแล้ว ตัวยาจะค่อยๆซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือดในปริมาณที่สม่ำเสมอ พอดีสำหรับออกฤทธิ์ยับยั้งการตกไข่ และทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียวข้นทำให้ตัวอสุจิผ่านเข้ามดลูกได้ยาก  
     





แผ่นคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะ ใช้อย่างไร? 


1.แปะแผ่นคุมกำเนิดในวันแรกที่รอบเดือนมา
แล้วก็แปะไว้อย่างนั้นโดยไม่ต้องเอาออก นาน 1 สัปดาห์ (1 แผ่น ต่อ 1 สัปดาห์)
2.เมื่อครบ 7 วันแล้ว ก้อเปลี่ยนแผ่นอันเก่าออก แล้วแปะอันใหม่ (แผ่นที่ 2)
แปะที่เดิม แปะไปอีก 1 สัปดาห์
3.พอขึ้นสัปดาห์ที่ 3 ก็แปะแผ่นที่ 3 ตรงที่เดิม
4.พอขึ้นสัปดาห์ที่ 4 ก็หยุดแปะไป 7 วัน และช่วงนี้จะเป็นช่วงที่รอบเดือนมา
พอครบ 7 วันแล้วก็เริ่มแปะแผ่นที่ 1 ของเดือนต่อไปได้
สรุปแล้ว 1 เดือน แปะแผ่นคุมกำเนิด 3 แผ่นในเวลา 3 สัปดาห์
แผ่นคุมกำเนิดชิดแผ่นแปะ แปะที่ไหนดีหล่ะ?         
ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะ สามารถแปะได้หลายที่ แต่ส่วนมากก็มักแปะที่ท้องน้อย หรือสะโพก แต่ละแผ่นไม่ควรแปะซ้ำที่ แต่ให้เลื่อนออกไปตำแหน่งใหม่ จุดที่ห้ามแปะคือที่เต้านม 


  • จุดที่จะแปะ ไม่ควรใช้เครื่องสำอาง หรือแป้งหรือครีมมาทาซ้ำ  
  • หลีกเลี่ยงจุดที่มีแผล มีการอักเสบ หรือมีโรคผิวหนัง 
  • ระหว่างการแปะไม่ควรแกะออกแล้วแปะใหม่ เพราะการแปะใหม่จะไม่แน่นพอ อาจหลุดได้ง่าย  แต่หากแผ่นหลุดไป ก็ควรใช้แผ่นใหม่แปะต่อจนครบ 7 วัน โดยให้แผ่นหลุดบวกแผ่นใหม่รวม 7 วัน  

ข้อควรทราบเมื่อใช้ยาคุมกำเนิดแบบแปะ
1. หลังจากเว้นไป 7 วันแล้ว วันรุ่งขึ้นลืมแปะแผ่นใหม่ ผ่านไป 2 - 3 วันเพิ่งนึกได้
ก็ให้รีบแปะ  7 วันแรกต้องใช้การคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วยก่อน
หลังจากนั้นจึงจะปลอดภัย

2. ถ้าแผ่นแรกแปะครบ 7 วันแล้วลืมแกะออกหรือลืมเปลี่ยนแผ่นใหม่
ทันทีที่นึกได้ ให้รีบเปลี่ยนแผ่นใหม่ทันที ถ้าไม่เกิน 2 วัน ก็ยังมีผลในการคุมกำเนิด
แผ่นที่แปะช้าก็แปะไม่ถึง 7 วัน
ส่วนแผ่นที่สามถ้าลืมก็ปฏิบัติเหมือนแผ่นที่สอง

3. ถ้าแผ่นหลุดหรือแผ่นเผยอออก ให้ลองกดดูถ้ายังติดได้ก็ใช้ต่อ
แต่ถ้าหมดยางเหนียวหรือยังเผยอ ก็ต้องเปลี่ยนแผ่นใหม่
(แปะเท่าเวลาที่เหลือ เช่นแผ่นนั้นยังเหลือ 3 วันแล้วหลุด ก็แปะแผ่นใหม่แค่ 3 วัน แล้วก็เปลี่ยน)

4. การเปลี่ยนรอบใหม่กลางคันนั้น ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุใดก็ตามที่ต้องการเปลี่ยนรอบใหม่ (เช่น แปะไป 2 แผ่นแล้วเลิก)
ก็สามารถเริ่มรอบใหม่ได้เลย แต่ 7 วันแรกต้องใช้การคุมกำเนิดอื่นช่วยเสริมด้วย
(หนึ่งรอบ หมายถึง 3 แผ่นสามสัปดาห์บวกกับสัปดาห์ที่ 4 ที่ไม่ต้องแปะ)
5. หลังจากแปะแผ่นแล้ว อาบน้ำ ว่ายน้ำ ออกกำลังกายได้เลย
(แต่ถ้าบังเอิญแผ่นเผยอหรือหลุด ก็ปฏิบัติตามที่แนะนำข้างต้น)

6. ตัดแต่งแผ่นเป็นชิ้นส่วนได้ไหม เช่นตัดเป็นรูปดาว 
ไม่ควร เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพการคุมกำเนิดลดลงได้
ปกติจุดที่แปะก็มักเป็นจุดซ่อนเร้นจากสายตาอยู่แล้ว ไม่ต้องไปโชว์ใคร

7. ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ก็เหมือนอาการข้างเคียงของยาเม็ดคุมกำ เนิดทั่วไป
8. ข้อห้ามก็เหมือนยาเม็ดคุมกำเนิดทั่วไป
ถ้าต้องกินยาฉีดยาอื่น ก็อาจมีผลต่อการคุมกำเนิด เช่นเดียวกับยาเม็ดคุมกำเนิดทั่วไปได้เช่นกัน

9. ถ้าจะเปลี่ยนจากยากินมาเป็นแบบแปะนั้นให้เริ่มวันแรกที่รอบเด ือนมาได้เลย

10. ใช้ยาคุมแปะแล้วจะมียังคงมีรอบเดือน เช่นเดียวกับยาเม็ดคุมกำเนิด
หลังจากแกะแผ่นที่สามออกแล้ว วันสองวันเลือดก็ควรจะมาตามปกติ

ตอนหน้าเราจะมาตามต่อว่าเจ้ากอเอี้ยะแปะติดผิวหนังเพื่อการคุมกำเนิดของคุณปุ๋ยเนี่ยจะเหมาะกะสาวๆอย่างคุณหรือไม่ และวิธีใช้จะสะดวกเรียบง่ายกว่ายาเม็ดหรือไม่ หากคุณๆ อยากทราบทุกคำตอบของยาเม็ดคุมกำเนิดสามารถตามอ่านได้จาก link แหล่งข้อมูลอ้างอิงข้างล่าง หรือถ้ามีคำถามเพิ่มเติม ขอความกรุณาส่งซองคำถามของคุณมาได้ที่อีเมล์utaisuk@gmail.com หรือแวะไปที่ Facebook “UTAI SUKVIWATSIRIKUL” หรือ “37C PHARMACY” ยินดีตอบรับทุกท่านครับ 

แหล่งข้อมูล 

·         รูปประกอบจากอินเตอร์เนท 
stomaatje.com
plannedparenthood.org


·         วิธีการคุมกำเนิดทุกรูปแบบ รู้ไว้ก่อนเลือกใช้ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/10/01/entry-2

·         ยาเม็ดคุมกำเนิดป้องกันการตั้งครรภ์ได้อย่างไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/10/13/entry-2

·         ยาเม็ดคุมกำเนิดทำงานอย่างไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/12/11/entry-1

·         เลือกยาเม็ดคุมกำเนิดแบบไหนดีนะ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/12/05/entry-1

·         เริ่มต้นรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/12/08/entry-1

·         ยาเม็ดคุมกำเนิด รับประทานอย่างไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/10/11/entry-1

·         ผลข้างเคียงของยาเม็ดคุมกำเนิด โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/12/10/entry-1

·         นพ.รุ่งโรจน์ ตรีนิติ, ยาเม็ดคุมกำเนิด,http://www.clinicrak.com/birthcontrol/lady_pills06.shtml

·         สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุลดำรง เหรียญประยูรสมชัย นิรุตติศาสน์อรรณพ ใจสำราญ. การวางแผนครอบครัว และเทคโนโลยีการคุมกำเนิด. บริษัท ดีไซร์จำกัด70-274.

·         ชวนชม สกลธวัฒน์. การคุมกำเนิด. พิมพ์ครั้งที่ 3.ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น,2538

·         Corson SL. Efficacy and safety of a monophasic and a triphasic oral contraceptive containing norgestimate. Am J Obstet Gynecol 1994;170:1556-61

·         Ortho EVRA Product Information, Ortho-McNeil-Janssen Pharmaceuticals, Inc. http://www.orthoevra.com/

·         Zieman M. The introduction of a transdermal hormonal contraceptive (Ortho Evra(TM)/Evra(TM)). Fertility and Sterility 2002;77(suppl 2):1-2

·         Abrams LS, Skee DM, Natarajan J, Wong FA, Anderson GD. Pharmacokinetics of a contraceptive patch (Evra(TM)/Ortho Evra(TM)) containing norelgestromin and ethinyl estradiol at four application sites. Br J Clin Pharmacol 2002;53:141-6

·         Audet MC, Moreau M, Koltun WD, Waldbaum AS, Shangold G, Fisher AC, et al. Evaluation of contraceptive efficacy and cycle control of a transdermal contraceptive patch vs. an oral contraceptive : a randomized controlled trial. JAMA 2001;285:2347-54

·         Creasy G, Hall N, Shangole G. Patient adherence with the contraceptive patch dosing schedule versus oral con-traceptives (abstract). Obstet Gynecol2000;95(suppl):605

·         Thorne EG, Roach J, Hall J, Creasy G. Lack of phototoxicity and photoallergy with a contraceptive patch (abstract). FASEB J 2001;14:A1341

·         Creasy G, Fisher A, Hall N, Shangold G. Effect of a contraceptive patch vs. placebo (PBO) on serum lipid profile (abstract). Fertil Steril 2000;74(suppl 1):S185

·         Abrams LS, Skee DM, Natarajan J, et al. Multiple-dose pharmacokinetics of a contraceptive patch in healthy women participants. Contraception. 2001;64:287-294

·         Skee D, Abrams LS, Natarajan J, et al. Pharmacokinetics of a contraceptive patch at 4 application sites. Clin Pharmacol Ther. 2000;67:159. Abstract PIII-71

·         Geoffrey H. Smallwood, Mary L. Meador, John P. Lenihan, Jr,Gary A. Shangold, Alan C. Fisher, George W. Creasy. Efficacy and Safety of a Transdermal Contraceptive System ,http://www.pharmacy.cmu.ac.th/dic/newsletter/newpdf/newsletter9_4/Ortho.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น