วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โรคปอดอักเสบจากมัยโคพลาสม่า รักษาอย่างไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล



จากข่าวลือว่าทหารอุตรดิตถ์ ป่วยเข้ารับการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล แล้วว่ามีอาการติดเชื้อจากไวรัสชนิดรุนแรง เสียชีวิตไปแล้ว 


จากการตรวจสอบขณะนี้ ยังไม่มีทหารเสียชีวิตแต่อย่างใด จากทีมที่ขึ้นไปศึกษาลักษณะอาการและการรักษาของผู้ป่วย ผู้เชี่ยวชาญได้สงสัยติดเชื้อ 3 โรคได้แก่ ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ และไข้จากโรคปอดอักเสบจากมัยโคพลาสม่า (Mycoplasma pneumoniae) โรคหลังนี่ชื่อแปลกๆ น่ากลัวมั้ยนะ เรามารู้จักโรคนี้เพื่อให้พร้อมดูแลและรักษาเราหากเผลอไปติดเชื้อมา พร้อมกลับรู้จักไว้เพื่อไปดูแลครอบครัวที่เรารักต่อไปจะดีไหม?

รูปประกอบ: สภาวะติดเชื้อที่ทำให้ปอดบวม หายใจไม่ออก จาก health-reply.com

โรคปอดอักเสบหรือปอดบวมคืออะไร 
โรคปอดบวมหมายถึงภาวะปอดซึ่งเกิดการอักเสบ ซึ่งอาจเป็นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสนำมาก่อน แล้วในสภาวะที่ผิดปกติอาจจะเกิดจาก เชื้อรา และ พยาธิตามติดมาร่วมวงศ์ติดเชื้อต่อไปภายหลัง เมื่อเป็นปอดบวม จะมีหนอง และสารน้ำอย่างอื่นๆในถุงลม ทำให้ร่างกายไม่สามารถรับ oxygen มาแลกเปลี่ยนทำให้ร่างกายขาด oxygen หายใจไม่ได้ และอาจถึงแก่ชีวิตได้ เลยเรียกแบบชาวบ้านว่าปอดบวม
จริงๆแล้ว สาเหตุของปอดบวม มีสาเหตุมากมายแต่แบ่งสาเหตุได้จากต้นเหตุ ซึ่งอาจเกิดจากเชื้อ Bacteria,Viruses, Mycoplasma, เชื้อชนิดอื่น เช่น เชื้อรา และสุดท้ายอาจเกิดจาก สารเคมี

มัยโคพลาสม่า คืออะไรหล่ะ?
ต้นเหตุจากอาการโรคตามข่าว ตอนนี้คาดว่าเกิดจากเชื้อโรคที่เราพบบ่อยที่สุดโรคหนึ่ง คือ “ Mycoplasma” 
แต่ก่อน คิดว่าเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา ต่อมาภายหลัง มันถูกจัดกลุ่มขึ้นใหม่ เป็น “แบคทีเรีย” ชนิดที่ไม่มีผนังเซลล์ห่อหุ้ม เชื้อนี้ที่เป็นตัวทำให้เกิดโรคในมนุษย์เรานั้น มีหลายตัวด้วยกัน รวมทั้ง mycoplasma Pneumonia และ mycoplasma genitalium ซึ่งทำให้เกิดโรคปอดอักเสบ (pneumonia) ตามข่าว และโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ (urinary tract infections) ไม่จำเป็นต้องโรคปอดบวมเท่านั้น

เชื้อนี้ จัดเป็นเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งมีความสามารถที่จะมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพา host เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งมี ขนาด 1/10 ของเชื้อ E. coli ที่มันต่างไปจากเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ ก้อคือ เชื้อนี้จะมีเยื่อ memrane หุ้มเซลล์ที่มีลักษณะพิเศษ มีโมเลกุลของโปรตีนเป็นพวก sterols เช่น cholesterol ซึ่งสามารถเปลี่ยนรูปได้ ทำให้ยากแก่การตรวจพบ ทำให้ต้องเสียเวลาตรวจสอบกันอยู่นานตามข่าวนั่นเอง

โรคปอดอักเสบติดต่ออย่างไรกันนะ?
ในกองทหารหรือในที่ชุมชน แม้กระทั่งโรงเรียนของลูกเรา หากมีใครคนหนึ่งเป็นโรคนี้มาก่อน แล้วเจ้าเชื้อที่เป็นสาเหตุมักจะอยู่ในน้ำลายและเสมหะของ ผู้ป่วย และสามารถแพร่กระจายออกไปติดต่อคนอื่นๆด้ โดดยการไอ จาม ใครที่อยู่ใกล้ๆ หากร่างกายมีภาวะที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็จะเกิดโรคติดเชื้อตามมาได้  

จะรู้ได้อย่างไรว่า เป็นโรคปอดอักเสบ?
การติดต่อโดยการได้รับเชื้อจากการไอ หรือจามของผู้ป่วย บางรายอาจได้จากการกินน้ำแก้วเดียวกันหรือใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกัน หลังจากได้รับเชื้ออาจจะเกิดอาการใน 1-3 วัน อาการของโรคปอดบวม

อาการเริ่มต้นมีดังต่อไปนี้

·    ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการน้ำมูกไหล จาม คัดจมูกนำมาก่อน

·    บางรายอาจจะเริ่มด้วยไข้สูง หนาวสั่น หายใจหอบเหนื่อย

อาจจะมีอาการเจ็บหน้าอกตำแหน่งที่เจ็บมักตรงกับบริเวณที่อักเสบ

·    อาการไอ ในระยะแรกมีลักษณะไอแห้งๆ แต่ระยะต่อมาจะมีจำนวนเสมหะเพิ่มมากขึ้น เสมหะเหนียว

ถึงเวลานี้ คนไข้มักไม่ไหวแล้ว พอไปถึงมือหมอจะได้รับการวินิจฉัย หากมีประวัติไข้สูง หนาวสั่น ไอมีเสมหะสีเหลือง หรือสีเขียว หายใจหอบ และแพทย์สงสัยว่าจะเป็นปอดบวมแพทย์ตรวจร่างกายและส่งตรวจทางห้องแลป เพื่อเจาะเลือดตรวจ CBC พบว่าเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น ตรวจเสมหะโดยการย้อมสี และเพาะเชื้อ เพื่อหาสาเหตุของปอดบวม นำเลือดไปเพาะเชื้อหาสาเหตุ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา 3-4 วันกว่าจะทราบผล X-ray ปอด ตามข่าวที่ลือกันไป เพราะอยู่ในระหว่างตรวจสอบกันอยู่ แต่ตื่นตกใจกันไปละ

โรคปอดอักเสบจากมัยโคพลาสม่า รักษาอย่างไร

โรคนี้มักหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่การใช้ยาปฏิชีวนะ จะช่วยรักษาอาการให้ทุเลาลงได้ เนื่องจากเชื้อมัยโคพลาสมานี้ มันไม่มีผนังเซลล์ จุลชีพพวกนี้จึงสามารถทนต่อต้านยาจุลชีพที่ออกฤทธิ์ต่อผนังเซลล์ เช่น เพนนิซิลลินได้ จึงดื้อต่อยาต่อยากลุ่มนี้ จึงไม่ควรรักษาพร่ำเพรื่อด้วยยาปฏิชีวนะ

การรักษาส่วนใหญ่หากเกิดจากเชื้อไวรัส อาจจะไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล ต้องให้คนไข้ดื่มน้ำมากๆ วัดไข้วันละ 2 ครั้ง รับประทานยาโดยเคร่งคัด ห้ามซื้อยาแก้ไอรับประทานเอง ให้คอยตรวจดูสีริมฝีปาก และเล็บว่ายังคงสีชมพูอยู่หรือไม่ หากมีสีคล้ำควรรีบพบแพทย์ หากเป็นเชื้อแบคทีเรีย หรืออาการเป็นมาก เช่น ไข้สูงมาก หอบมาก ไอมาก แพทย์จะให้นอนโรงพยาบาล การป้องกัน ไม่แนะนำให้มีการป้องการติดเชื้อนี้ โดยสารเคมี ยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ได้ผลดี แนะนำให้ใช้ภูมิคุ้มกันชนิดครั้งคราว

สุดท้ายเภสัชกรร้านยาคือเพื่อนสุขภาพทางเลือกแรกๆที่เราสามารถไปขอปรึกษาอาการโรคนี้ได้เป็นแห่งแรกๆ หากเป็นเข้าไปแล้ว จะได้รับการช่วยเหลือนำส่งต่อไปรับการรักษาขั้นต่อไป ดังนั้นหากไม่แน่ใจ ไปร้านยา ถามหาเภสัชกรทุกครั้งนะครับ



แหล่งข้อมูล


เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 6 มิย. 2555

ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ
Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

  • รูปประกอบจาก http://microrespiratorysystem.blogspot.com/ เพลงก้อเพราะ

·    Mycoplasma pneumonia, U.S. National Library of Medicine , Department of Health and Human Services National Institutes of Health , Page last updated: 19 April 2012, http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000082.htm
·    Mycoplasma pneumonia , emedicine.medscape.com,  http://emedicine.medscape.com/article/1941994-overview

·    Mycoplasma pneumoniae,
Centers for Disease Control and Prevention , U.S.A, http://www.cdc.gov/ncidod/dbmd/diseaseinfo/mycoplasmapneum_t.htm

·    Outbreaks of Mycoplasma pneumoniae Respiratory Infection -- Ohio, Texas, and New York, 1993, Centers for Disease Control and Prevention , U.S.A, http://www.cdc.gov/mmwr/preview/mmwrhtml/00022322.htm

·    Michael Joseph Bono, et al.,
Mycoplasmal Pneumonia Treatment & Management, WebMD LLC. http://emedicine.medscape.com/article/1941994-treatment

·    Dr J Macfarlane , BTS Guidelines for the Management of Community Acquired Pneumonia in Adults
British Thoracic Society Standards of Care Committee in collaboration with and endorsed by the Royal College of Physicians of London, Royal College of General Practitioners, British Geriatrics Society, British Lung Foundation, British Infection Society, British Society for Antimicrobial Chemotherapy, and Public Health Laboratory Service, http://thorax.bmj.com/content/56/suppl_4/iv1.full

·    วิมล เพชรกาญจนาพงษ์, Mycoplasma pneumoniae
, สถาบันวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/a_nih_1_001c.asp?info_id=933

·    นพ.มานิตย์ วัชร์ชัยนันท์,
About Mycoplasma, http://vatchainan2.blogspot.com/2011/07/about-mycoplasma.html


·    นพ.มานิตย์ วัชร์ชัยนันท์,
Mycoplasma pneumonia: Symptoms
เมื่อมีปอดอักเสบ จากเชื้อไมโคพลาสมา เกิดขึ้นกับท่าน
ท่านจะรู้ได้อย่างไร?, http://vatchainan2.blogspot.com/2011/07/mycoplasma-pneumonia-symptoms.html

·    รศ.นพ.สรรเพชญ เบญจวงศ์กุลชัย,
Principal pathology of infection
หลักการพยาธิวิทยาการติดเชื้อ, http://cai.md.chula.ac.th/chulapatho/chulapatho/lecturenote/infection/Pathology%20of%20infection/pathology%20of%20infection.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น