วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทำไมธุรกิจเอสเอ็มอีส่วนใหญ่จึงล้มเหลว

เป็นที่น่าสังเกตว่าจากจำนวนธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ทุกวันกว่า 50% ไม่สามารถก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ 4 ได้สำเร็จ ตัวเลขที่สูงจนน่าสะพรึง กลัวนี้ทำให้สถาบันการเงินส่วนใหญ่ไม่ค่อยกล้าเสี่ยงปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการรายใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งสวนกระแสกับ ความต้องการทางการเงินที่มีมากนับหมื่นแสนล้านบาทต่อปี จึงเป็นที่มาของการเติบโตของสินเชื่อบุคคล และสินเชื่อที่ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ที่มุ่งไปที่กลุ่มผู้ประกอบการหน้าใหม่ซึ่งยอมเสียดอกเบี้ยที่สูงลิบลิ่วแลกกับเงินลงทุนก้อนแรกในการเริ่มธุรกิจ


ในช่วง 3 ปีแรกถือเป็นช่วงที่อันตรายและมีความเสี่ยงที่สุด เพราะผู้ประกอบการจะมีความกังวลอยู่หลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ รูปแบบธุรกิจที่ยังไม่ลงตัว การบริหารบุคคล และกระแสเงินสดที่ยุ่งยากซับซ้อน อีกทั้งดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการหยิบยืมหรือกู้จากสถาบันการเงินก็ทำ ให้เกิดภาระหนี้สินตามมา อุปสรรคทั้งหลายเหล่านี้อาจทำให้ผู้ประกอบการหลายรายถึงกับถอดใจและเลิกล้มความคิดที่จะดำเนินกิจการต่อ อย่างไรก็ ดีหากเราได้เรียนรู้จากตัวอย่างของกิจการที่ล้มเหลว และเตรียมความพร้อมแต่เนิ่นๆ ไม่แน่ว่าความล้มเหลวในอดีต อาจทำให้ผู้ประกอบการรายใหม่ๆ สามารถนำพาให้ธุรกิจของตนไปสู่ความสำเร็จในอนาคตก็เป็นได้ ลองมาดูกันว่าคุณคือหนึ่งในตัวอย่างเหล่านี้หรือไม่



1. คิดเล็กแต่ทำการใหญ่
เพียงแค่เริ่มต้นการทำธุรกิจก็ลงทุนเกินตัว ทั้งในเรื่องของเครื่องจักร อุปกรณ์สำนักงาน และเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้ว่าสินค้า ของเราจะเป็นที่ต้องการของตลาดหรือไม่ การลงทุนในช่วงแรกไม่ควรลงทุนด้วยเงินกู้เพียงอย่างเดียวเพราะทำให้เกิดภาระหนี้สินท่วมท้นที่หลังแต่ จะทำให้ผู้ประกอบการเครียดกับการผ่อนชำระหนี้จนเกิดไป
2. อิงกระแสและแฟชั่น เริ่มทำธุรกิจตอนตลาดเริ่มวาย
เกาะกระแสทำธุรกิจตามแฟชั่น ซึ่งเป็นธุรกิจที่มักอยู่ได้ไม่นาน เมื่อหมดกระแสความต้องการของลูกค้าก็จะลดลงไปด้วย ในกรณีนี้ คนที่เริ่มก่อนมักได้เปรียบ เพราะมีโอกาสถึงจุดคุ้มทุนได้เร็วกว่า ดังนั้นถ้าคิดจะทำจริงๆควรศึกษาตลาดให้ดีว่าลูกค้าคือใคร ใครคือกลุ่มเป้าหมายที่ แท้จริงแล้วเราจะสร้างความแตกต่างจากที่มีอยู่ได้อย่างไร
3. อารมณ์ศิลปิน เบื่อง่าย เลิกง่าย
ไม่จริงจัง ทำเพราะความสนุก เมื่อหมดสนุกหรือธุรกิจไม่เป็นไปอย่างที่คิดไว้ก็จะไปหาอย่างอื่นทำ ลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ ขาด ความตั้งใจในการทำธุรกิจ โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการประเภทที่มีเงินทุนหนา
4. ไม่อดทน และหวังผลเร็วเกินไป
ท้อแท้สิ้นหวัง เมื่อเจออุปสรรคในการทำธุรกิจ หรือผลลัพธ์ไม่เป็นอย่างที่หวังไว้ โดยไม่คิดหาทางแก้ไข ก็ถอดใจล้มเลิกกิจการ คืนทุน เร็วใครๆ ก็อยากได้ แต่ก็มีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ควรวิเคราะห์ให้ถึงแก่นแท้ว่ามีจุดไหนที่เรามองข้ามไปบ้าง ค่อยๆ แก้ทีละจุด อย่าหุนหันผลันแล่นตี โพยตีพาย การเลิกกิจการคือทางออกที่ง่ายที่สุด แต่ไม่ใช่ทางออกเดียวที่เหลืออยู่
5. ทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ และให้ผู้อื่นทำในสิ่งที่ตัวเองควรทำ
เกิดจากการไม่ไว้ใจลูกน้องหรือหุ้นส่วน หรือคิดว่าคนอื่นทำไม่ได้ จึงทำให้เราเสียเวลาไปกับสิ่งที่ไม่ใช่บทบาทที่เราควรกระทำ เช่น การสั่งซื้อหรือเช็คสต๊อกสินค้า การผลิต การส่งของ เป็นต้น ซึ่งควรเป็นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงาน จริงอยู่ว่าในช่วงเริ่มต้นเจ้าของกิจการอาจจะต้องเริ่ม ลงมือทำทุกอย่างด้วยตัวเองเพื่อเรียนรู้กระบวนการต่างๆของธุรกิจอย่างถ่องแท้ แต่เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น เราควรถอยออกมาหนึ่งก้าว อยู่ในจุดที่มอง ภาพรวมมากกว่า สร้างระบบเพื่อตรวจสอบการทำงานของลูกน้องแทนที่จะทำเองเสียทั้งหมด
6. ถูกหุ้นส่วน หรือลูกน้องโกง
เป็นเพราะคิดว่าตนเองมีคนที่ไว้ใจได้คอยดูแลหรือคิดว่าตนเองไม่ถนัด จึงละเลยและขาดความใส่ใจปล่อยให้หุ้นส่วนหรือลูกน้อง ดำเนินการแทน (โดยเฉพาะเรื่องเงินๆทองๆ) โดยไม่เข้าไปสอบถามหรือมีส่วนเกี่ยวข้อง กว่าจะรู้ตัวก็อาจจะถูกยักยอกรายได้บางส่วนหรืออาจถูกโกง ทรัพย์สินไปโดยไม่รู้ตัว ฉะนั้นท่านเจ้าของธุรกิจควรตรวจสอบระบบการสั่งซื้อสินค้าและวัตถุดิบ รวมทั้งที่มาของรายรับและรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ
7. แบ่งผลประโยชน์ไม่ลงตัว ขัดแย้งกับหุ้นส่วนธุรกิจ
การมีหุ้นส่วนจำนวนมากหรือมีหุ้นส่วนที่มีแนวความคิดไม่เหมือนกัน เมื่อดำเนินธุรกิจไปสักพัก ถึงจุดที่จะต้องตัดสินใจ ส่วนใหญ่มัก จะเกิดปัญหาการขัดแย้งกับหุ้นส่วน ตามมาด้วยการถอนหุ้น และสุดท้ายก็ถึงจุดจบของธุรกิจ ดังนั้นควรมีการกำหนดบทบาทและอำนาจหน้าที่ของ หุ้นส่วนแต่ละคนให้ชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้น
8. ไม่ดูแลกระแสเงินสด ปล่อยให้เงินรั่วไหลโดยไม่รู้ตัว
มีธุรกิจจำนวนไม่น้อยที่ถึงแม้มีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่สามารถสร้างผลกำไรได้ เพราะปริมาณเงินสำรองจ่ายให้กับเจ้าหนี้ ไม่สมดุลกับบัญชีลูกหนี้หรือรายรับในแต่ละเดือน ผู้ประกอบการควรดูแลกระเป๋าตัวเองอย่าให้เงินขาดมือ รับให้มากกว่าจ่าย อย่าเอารายได้ในอนาคต มาคิดรวมกับความสามารถในการชำระหนี้ทางการค้าในปัจจุบัน
9. ไม่มีแผนสำรอง ทำธุรกิจแบบเฉพาะหน้า
เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด หรือแผนงานไม่เป็นไปตามที่วางไว้ ถ้าไม่มีแผนสำรองรองรับ อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ดังนั้นผู้ ประกอบการควรคิดเผื่อไว้เสมอ ถ้ายอดขายไม่เข้าเป้า พนักงานลาออก วัตถุดิบขาด สินค้าผลิตไม่ทัน ลูกค้ายกเลิกออร์เดอร์กะทันหันจะทำอย่างไร ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ธุรกิจต้องหยุดชะงักเพียงเพราะไม่ได้คิดวางแผนไว้ล่วงหน้า
มีคำกล่าวอยู่คำหนึ่งที่มีผู้รู้กล่าวไว้คือ “เราเรียนรู้เพียงเล็กน้อยจากความสำเร็จ แต่เรากลับได้บทเรียนมากกมายจาก ประสบการณ์ที่ล้มเหลว” เมื่อรู้ดังนี้แล้วผู้ประกอบการเอสเอ็มอีควรใส่ใจ และศึกษาไม่เพียงแต่ความสำเร็จเพียงเปลือกนอก แต่ควร ศึกษาวิธีการก้าวข้ามผ่านอุปสรรคต่างๆ ของเหล่าผู้นำที่ท่านนับถือด้วย
แหล่งข้อมูล
http://article.classifiedthai.com/blog/business/สาเหตุที่ธุรกิจ-smes-เจ๊ง-หร/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น