วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

TOPICORTE คือยาตัวเดียวกันกับ ESPERSON


ที่ร้านยาช่วงนี้ จะมีคนไข้มาถามหายาที่เคยใช้บ่อยๆ 
"เอ๊ะ เดี๋ยวนี้ ยาจึงขาดบ่อยจัง ทำไมจึงไม่มีนะ" 
หนึ่งในยายอดนิยมที่ขาดหายไปนั่นคือ Topicorte เกิดอะไรขึ้น ทำไมยาขาด จะแก้ไขอย่างไร มาฟังคำแนะนำจากเภสัชกรร้านยากันเถิด 


ทำไมยาขาด?
ลืมกันไปแล้วหรือว่าปีที่ผ่านมา บ้านเมืองเราเจอมหาอุทกภัยตั้งแต่กลางปีจากภาคเหนือ ไล่ลงมาถึงภาคกลางและกรุงเทพในตอนปลายๆปี แหล่งโรงงานยาหลายแห่งก้อโดนผลกระทบจากน้ำท่วมไปด้วย รวมไปถึงแหล่งผลิตภาชนะบรรจุอีกมากมาย ผลที่ตามมาก้อคือยาหลายตัวต้องหยุดขบวนการผลิต จึงทำให้สต๊อคยาหล่อเลี้ยงภายในประเทศสะดุดขาดหายไป นี่ยังไม่รวมยาตามโรงพยาบาลหรือร้านยาที่เสียหายจากน้ำท่วมตามไปด้วยอีกมหาศาล


แล้วจะหายาตัวเดิมๆจากที่ไหนหล่ะ?
ความจริงแล้ว ทางโรงงานยาและทาง อย. ได้ทราบผลกระทบดังกล่าวและได้ประเมินแล้วว่ายาขาดแน่ๆ เนื่องมาจากโรงงานที่ผลิต ต้องใช้เวลาในขบวนการฟื้นตัว ทำความสะอาด หาเครื่องจักร ตรวจสอบคุณภาพ ซึ่งต้องเริ่มต้นใหม่หมด ขบวนการเหล่านี้ต้องใช้เวลา ระหว่างนี้ยาหลายตัวจึงได้รับอนุญาตจาก อย. ที่นำเข้ามาจากแหล่งผลิตจากต่างประเทศ ที่มีโรงงานคุณภาพระดับ GMP ไว้วางใจได้ นำมาใช้ทดแทนไปก่อน ดังนั้นอย่าได้แปลกใจไปเลยว่า ทำไมยาจึงขาดนานจริงๆ และยาใหม่ที่เข้ามาจึงมีขนาดบรรจุ ฉลาก แผง เม็ด แตกต่างไปจากเดิม แต่วางใจเถิดครับ ยาเหล่านี้มีการควบคุมจากทั้งหน่วยงานเจ้าของผลิตภัณท์และทางราชการที่ตรวจสอบและควบคุมมาแล้วว่าไม่แตกต่างจากยาเดิมๆที่ผลิตในประเทศเราแต่อย่างใด


Topicorte และ Esperson คือยาตัวเดียวกัน
topicorte เป็นยาอีกหนึ่งตัวที่มีผลกระทบจากภาวะยาขาด ทางบริษัทได้นำเข้ายาตัวเดียวกันเข้ามาทดแทนแล้ว ในชื่อว่า esperson ซึ่งไม่แตกต่างจากยาเดิม แต่เนื่องจากนำเข้ามาจากประเทศเกาหลี จึงมีภาชนะบรรจุแตกต่างไปจากเดิม แต่ยาทั้งคู่คือยาตัวเดียวกันครับ


Esperson คือยาอะไร ใช้อย่างไรจึงจะได้ผลและปลอดภัย
ยา Esperson หรือ Topicorte เป็นยาทาเฉพาะที่ที่มีตัวยาที่มีชื่อสามัญ ว่า Desoximetasone ที่มีความแรง 0.25% และ 0.05% ในรูปแบบยาครีม และ 0.25%
ในรูปแบบยาขี้ผึ้ง และ 0.05% ในรูปแบบยาน้ำ 


desoximetasone จัดเป็นยากลุ่มสเตียรอยด์ที่มีความแรงในระดับสูงและออกฤทธิ์เร็ว เราจึงเลือกใช้สำหรับใช้ทาโรคผิวหนังที่ต้องการผลการรักษาอย่างรวดเร็ว หรือเลือกใช้กับคนไข้ที่มีอาการอักเสบในบริเวณบริเวณผิวหนังที่หนา เช่น บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า หนังศรีษะ ซึ่งใช้ยาทั่วๆไปออกฤทธิ์ได้ช้ากว่า

วิธีใช้คือ ทายาบางๆบริเวณที่เป็น วันละ 2 ครั้ง แต่ต้องตักเตือนว่า เมื่ออาการหายแล้วควรหยุดใช้ยาทันที หรือหากจำเป็นต้องใช้ยาทาเป็นเวลานานควรเปลี่ยนไปใช้ยาทาที่มีระดับความแรงต่ำลง ได้แก่ triamcinolone 0.025% หรือ hydrocortisone 1%



อาการโรคอะไรบ้าง ที่ต้องใช้ยาตัวนี้
ยาตัวนี้เหมาะสำหรับทารักษาอาการ ผื่น คัน ภูมิแพ้ที่ผิวหนัง 
ขอความกรุณาติดตามไปอ่านได้ที่

โรคผิวหนังอักเสบ ทำไมจึงเป็นและการรักษา โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

http://www.oknation.net/blog/DIVING/2009/01/07/entry-1



http://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/02/15/entry-1




 http://www.oknation.net/blog/DIVING/2009/01/08/entry-1


สุดท้ายแล้ว สงสัยเรื่องการใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัย แวะร้านยาใกล้บ้านที่มีเภสัชกรใจดีที่ ยินดีตอบคำถามของทุกท่านครับ

แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 1 กค. 2555
E-mail:utaisuk@gmail.com                                                  Facebook: “UTAI SUKVIWATSIRIKUL
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้นผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url addressไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

ภาพประกอบจาก

วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์ วิธีใช้ชุดทดสอบหาระยะการตกไข่อย่างง่ายด้วยตัวเอง


คุณแม่คุณพ่อที่วางแผนการตั้งครรภ์คงรู้อยู่แล้วว่าการเข้าใจวงจรการตกไข่ จะช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้ การที่เราจะทราบว่าช่วงเวลาไหนที่เหมาะและมีโอกาสสมหวังได้มาที่สุดพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์แล้ว เราควรเรียนรู้วิธีใช้ชุดทดสอบหาระยะการตกไข่เพื่อหาระยะเวลาช่วงเวลาไข่ตก ซึ่งจะช่วยให้ทราบว่าเวลาใดที่เรามีโอกาสตั้งครรภ์สูงที่สุด


ชุดทดสอบการตกไข่ด้วยตนเองแบบจุ่มปัสสาวะ

(One Step Ovulation Test: Urine Test Strip)
          ชุดทดสอบนี้ ใช้สำหรับตรวจสอบความเข้มเข้นของฮอร์โมน LH (Luteinizing Hormone) ในปัสสาวะ เพื่อทำนายระยะเวลาตกไข่ในสตรี โดยชุดทดสอบจะตรวจจับความเข้มข้น LH ที่ขึ้นสูง (LH surge) และกระตุ้นให้เกิดการตกไข่ภายใน 36 ช.ม. การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาดังกล่าวนับจากตรวจพบผลเป็นบวกในครั้งแรก จะมีโอกาสตั้งครรภ์สูง


การทำงานของชุดทดสอบ

ลูทิไนซิ่งฮอร์โมน (Luteinizing HORMONE: LH) ที่อยู่ในปัสสาวะของสตรีทั่วไปจะ
เพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็วในช่วงกลางของรอบเดือน การเพิ่มขึ้นของ
 LH นี้ช่วยกระตุ้นการตกไข่ การตกไข่นี้จะเกิดขึ้นภายในเวลา 36 ชั่วโมง นับจากการตรวจพบ LH SURGE ซึ่งก็คือ
ผลทดสอบเป็นบวก

เมื่อนำชุดทดสอบถูกจุ่มลงในตัวอย่างปัสสาวะ  การซึมผ่านตามรูเล็กก็จะนำเอาตัวอย่างลอดผ่านแผ่นเยื่อออกมา เมื่อ LH ในตัวอย่างซึมผ่านถึงบริเวณเขตทดสอบก็จะทำให้เกิดแถบสีขึ้น (Test Line) หากไม่มีแถบสีนี้ปรากฏก็แสดงว่าผลการทดสอบเป็นลบ
  
ผลทดสอบจะถูกต้องตามขั้นตอน ก็ต่อเมื่อมีแถบสีปรากฏในเขตควบคุม (control Line) ชุดทดสอบนี้สามารถตรวจสอบการตกไข่ด้วยความแม่นยำในระดับสูง  เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ในการช่วยให้เกิดการตั้งครรภ์ เนื่องจากช่วยระบุเวลาที่ไข่จะพบกับอสุจิในสภาพการณ์ที่เหมาะสมที่สุดได้

การตกไข่นั้นอาจไม่เกิดขึ้นเนื่องจากสภาพต่างๆ  อารมณ์  และปัจจัยอื่นๆ จึงไม่อาจ
สันนิษฐานว่าการตกไข่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาเดียวกันหลังการมีประจำเดือน  ดังนั้นจึงควร
ทดสอบซ้ำในแต่ละรอบประจำเดือน                             
 


 


ส่วนประกอบของอุปกรณ์ทดสอบ
   1. ซองหนึ่งใบบรรจุชุดทดสอบหนึ่งอัน และสารดูดความชื้น ซึ่งมีไว้เพื่อการเก็บอุปกรณ์เท่านั้น
       และไม่ได้ใช้ในขั้นตอนการทดสอบแต่อย่างใด

   2. แผ่นคำแนะนำในการใช้

อุปกรณ์อื่นที่ท่านต้องเตรียม
  1. ถ้วยพลาสติกหรือถ้วยแก้วที่สะอาดและแห้งเพื่อเก็บปัสสาวะ
  2. 
นาฬิกา
ข้อควรระวัง

   1. อุปกรณ์นี้ใช้ภายนอกเท่านั้น ห้ามรับประทาน
   2. 
ทิ้งหลังจากใช้เสร็จ  ไม่สามารถใช้ซ้าได้
   3. 
ห้ามใช้อุปกรณ์ที่หมดอายุแล้ว
   4. 
ห้ามใช้อุปกรณ์หากซองมีรอยฉีกขาดหรือปิดไม่สนิท
   5. 
เก็บให้พ้นมือเด็ก
การเก็บและรักษาให้คงสภาพ

   1. ซองที่เก็บอุปกรณ์ไม่มีรอยฉีกขาด เก็บในอุณหภูมิ 4-30 องศาเซลเซียสจนถึงวันหมดอายุ
   2. 
เก็บให้พ้นจากแสงแดด ความชื้นและความร้อน 
   3. ห้ามแช่แข็ง
   4. 
เมื่อฉีกซองแล้วให้รีบใช้ทันที 
การเริ่มการทดสอบ

เริ่มแรกจะต้องคำนวณความยาวของรอบประจำเดือนปกติก่อน โดยเริ่มนับจากวันแรกที่มีประจำเดือนจนถึงวันสุดท้ายก่อนวันที่มีประจำเดือนในครั้งถัดไป ตรวจสอบว่าความยาวของรอบประจำเดือนนั้นไม่แตกต่างกันในแต่ละเดือน เมื่อคุณทราบว่าความยาวรอบประจำเดือนของคุณแล้ว สามารถนำมาเปรียบเทียบกับแผนผังด้านล่าง เพื่อกำหนดวันเริ่มต้นการทดสอบต่อไป

ยกตัวอย่าง หากปกติรอบประจำเดือนยาว 28 วัน ผังรอบประจำเดือนชี้ว่าควรเริ่มทดสอบในวันที่ 11 ปฏิทินข้างล่างนี้แสดงว่าคุณควรเริ่มทำการทดสอบเป็นวันที่ 11 ขอบรอบเดือน


วิธีอ่านผล
        การแปลผลการทดสอบว่ามี LH เพิ่มขึ้นระดับสูง (LH surge) หรือไม่ จะต้องพิจารณาเปรียบเทียบความเข้มสีของเส้นทดสอบ (Test line) กับเส้นควบคุม (Control line) นอกจากนี้เส้นควบคุม (Control line) ยังใช้เพื่อยืนยันว่าคุณได้ทำการทดสอบได้อย่างถูกต้องด้วยหรือไม่


ผลเป็นบวก (Positive: LH surge):
          หากเห็นแถบสีสองแถบ และแถบทดสอบ (Test line) สีเข้มเท่ากับหรือเข้มกว่าแถบควบคุม (Control Line) แสดงว่ามี LH surge และไข่จะตกภายใน 24-36 ชั่วโมง แนะนำว่าควรมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาดังกล่าวหลังจากตรวจพบผลทดสอบเป็นบวกในครั้งแรก

ผลเป็นลบ (Negative: No LH surge):
          มีแถบควบคุม (Control line) ปรากฏเพียงแถบเดียว หรือแถบทดสอบ (Test Line) มีสีจางกว่าแถบควบคุม (Control line) หมายความว่า LH มีระดับใกล้เคียงหรือเป็นปกติ

ผลทดสอบไม่ถูกต้อง (Invalid result):
          ถ้าเส้นควบคุม (Control line) ไม่ปรากฏใน 5 นาที หรือเห็นแถบทดสอบ (Test line)แต่ไม่เห็นแถบควบคุม (Control line) แสดงว่าผลทดสอบไม่ถูกต้อง ให้ทำการทดสอบซ้ำกับชุดทดสอบชุดใหม่

แหล่งข้อมูล
วิธีใช้ชุดทดสอบหาระยะการตกไข่อย่างง่ายด้วยตัวเอง 
http://www.wecare2009.com/content-วิธีใช้ชุดทดสอบหาระยะการตกไข่อย่างง่ายด้วยตัวเอง-4-2209-34504-1.html


ภาพประกอบ

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์ เรียนรู้การนับวันตกไข่


สำหรับคุณแม่คุณพ่อที่วางแผนการตั้งครรภ์ การเข้าใจวงจรการตกไข่ จะช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้ การที่เราจะทราบว่าช่วงเวลาไหนที่เหมาะและมีโอกาสสมหวังได้มาที่สุดพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์แล้ว เราควรเรียนรู้เกี่ยวกับช่วงเวลาไข่ตก หรือวงจรการตกไข่ ซึ่งจะช่วยให้ทราบว่าเวลาใดที่เรามีโอกาสตั้งครรภ์สูงที่สุดได้ง่ายที่สุด 

•  เมื่อไหร่คือวันไข่ตก : โดยปกติแล้ว รอบประจำเดือนของคุณจะเกิดขึ้น ทุกๆ 23 ถึง 35 วัน และมีโอกาสสูงที่ไข่จะตกในช่วงประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนที่ประจำเดือนของคุณจะมา แต่ก็อาจแตกต่างกันไปในผู้หญิงแต่ละคน โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้หญิงเรามักมีประจำเดือนทุกๆ 28 วัน และไข่จะตกในราววันที่ 14 ของรอบเดือน


• สัญญาณของระยะตกไข่ : ในช่วงการตกไข่ คุณจะรู้สึกว่ามีของเหลวออกมาทางช่องคลอดมี ลักษณะเป็นเมือก ใส ลื่น คล้ายไข่ขาว


• บันทึกอุณหภูมิของร่างกายคุณ : สัญญาณที่แสดงระยะตกไข่ยังรวมถึงความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในร่างกายด้วย คุณจึงสามารถคาดการณ์ช่วงเวลาการตกไข่ได้จากอุณหภูมิของร่างกาย โดยอุณหภูมิจะลดลงก่อนไข่ตกและเพิ่มขึ้นหลังจากไข่ตกแล้ว แต่คุณจำเป็นต้องบันทึกอุณหภูมิ
ในเวลาเดียวกันทุกเช้า ก่อนดื่มน้ำและรับประทานอาหาร หรือก่อนลุกจากเตียง


• ซื้อชุดทดสอบระยะตกไข่ : คุณอาจหาซื้อชุดทดสอบระยะตกไข่จากร้านขายยา หรือตามซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำทั่วไป โดยในชุดทดสอบนี้จะมีแผ่นจุ่มทดสอบปัสสาวะ ซึ่งคล้ายกับการทดสอบการตั้งครรภ์


• มีสัมพันธ์รักอย่างสม่ำเสมอในช่วงตกไข่ : เมื่อทราบระยะตกไข่แล้ว ช่วงนี้ ก็ควรมีเพศสัมพันธ์กันให้บ่อยขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์  เพราะปกติแล้ว ไข่ที่ตกแล้วจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกินหนึ่งวันหากไม่มีการปฎิสนธิ ขณะที่อสุจิสามารถมีชีวิตอยู่ได้ถึง 2 - 3 วัน การมีสัมพันธ์รักบ่อยๆจึงมีโอกาสที่จะช่วยให้อสุจิปฎิสนธิกับไข่ได้ทันเวลา 

แหล่งข้อมูล

การตกไข่ เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์ เรียนรู้การนับวันตกไข่ โดย ดูเม็กซ์

http://www.dumex.co.th/pregnancy/article/Ovulation


รูปประกอบ จาก natural-health-for-fertility.com
และ pregnancyweekbyweek.co.za

“Stem cell” คืออะไร เอามาใช้รักษาโรคได้ไหม?




“Stem cell” โด่งดังมากมาย มาจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เราเชื่อว่า การค้นพบสเต็มเซลล์นี้ ในอนาคตน่าจะพัฒนาต่อยอดให้กลายเป็นช่วยรักษาโรคร้ายหลายโรคได้ อย่างที่มนุษย์ไม่เคยสามารถเอาชนะได้มาก่อนใต้อุ้งหัตถ์ของธรรมชาติและพระเจ้า  ดังนั้น สเต็มเซลล์จึงเป็นความหวังให้กับผู้ป่วย และวงการแพทย์ทั่วโลก แต่ก่อนที่จะเดินทางไปถึงจุดนั้น ก็มีบุคคลบางกลุ่มที่อาศัยคำว่าสเต็มเซลล์นี้ในการหากิน โดยมิได้มีความรู้ที่แท้ และโลภมากฉกชิงเอาแต่เงินทองที่ผู้ป่วยที่เดือดร้อนกายอยู่แล้ว ยังต้งอมาโดนเบียดเบียนจากความไม่รู้และความหวังเข้าไปอีก ในฐานะเภสัชกรร้านยาจึงได้ไปค้นหาคำตอบมาให้ได้เข้าใจถึงบทบาทที่แท้ของสเต็มเซลล์ ว่าได้ผลหรือไม่ อย่างไร ?

1. “Stem cell” คืออะไร? 
ไปฟังคำอธิบายง่ายๆ 
จาก อาจารย์ชมพูนุท  พรเจริญนพ  
สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ  คณะวิทยาศาสตร์ ม.รามคำแหง

http://www.biotech.sci.ru.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=63%3Astem-cell&catid=22%3Atips&lang=TH

2. มุมมองในการใช้สเต็มเซลล์ ดีจริงหรือไม่ 
โดย น.สพ.ศุภเสกข์ ศรจิตติ 
มาเล่าให้ฟังถึงใครกันแน่ที่มาบุคคลที่ไม่มีความรู้ แต่ตั้งตนเป็นกลุ่มหลอกลวงมาหลอกเรา ขายอาหารเสริม เครื่องประทินผิว โน่น นู่ นี่

ใครคือตัวจริง เป็นบุคคลที่มีความรู้ด้านเซลล์บำบัด หรือ สเต็มเซลล์บำบัดในประเทศไทย ที่จะนำความรู้ดังกล่าวมาช่วยเหลือพ่อแม่พี่น้องคนไทย ด้วยพื้นฐานเทคโนโลยี่และกำลังทางเศรษฐกิจของคนไทยเราทั้งหลาย

แล้วตอนนี้เทคโนโลยี่การรักษาในบ้านเราไปถึงไหนแล้ว รักษาแล้วคุ้มค่าไหม?

http://www.vcharkarn.com/varticle/32173

3. สเต็มเซลล์ในโลกนี้ไปถึงไหนแล้ว 
ตามติดข้อมูลที่ครอบคลุมทุกประเด็น การพัฒนา เทคโนโลยี่ในการต่อยอดและพัฒนาไปใช้ใช้ทางด้านต่างๆ ประเด็นเกี่ยวกับกฎหมายและจริยธรรม
ขอแนะนำให้ตามไปอ่านอย่างจุใจได้ที่ NIH Stem Cell Information Home Page. In Stem Cell Information, National Institutes of Health, U.S. Department of Health and Human Services,

http://stemcells.nih.gov/