วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประโยชน์จากแผนธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการร้านยา

เวลาเดินทางไปไหน เดี๋ยวนี้เรามีอุปกรณ์ที่เรียกว่า GPS ทันสมัยนำทิศทาง ให้เราไปสู่เป้าหมายได้ทันเวลา  แล้วชีวิตองค์กรหรือร้านยาของเรามีเครื่องมือเข็มทิศใช้ในการนำทิศทางไปสู่เป้าหมาย หรือไม่
เรามี Best practice ของร้านยาเครือข่ายแห่งหนึ่งที่นำแผนธุรกิจมาใช้งานที่ผลักดันจากร้านขายยาเล็กๆในเมืองเหนือ ปัจจุบันขยายเป็นเครือข่ายร้านสุขภาพและความงามใหญ่โตครอบคลุมไปทั้งจังหวัดเชียงใหม่และขยายพื้นที่สยายปีกไปทั่วกรุงเทพและภูเก็ต รวมทั้งถึงพร้อมที่จะแสวงหาพันธมิตรในการเป็นแฟรนไชน์ในทุกวันนี้ ทั้งนี้เกิดจากน้ำมือของเภสัชกรหญิงตัวเล็กๆคนเดียว ที่ต้องคารวะน้ำใจและความอุตสาหะของเธอในการจัดตั้งองค์กรและเริ่มต้นนำแผนธุรกิจมาส่งมอบความสำเร็จให้กับร้านยา
แผนธุรกิจคืออะไร?แผนธุรกิจเริ่มต้นด้วยรวบรวมและสังเคราะห์ข้อมูล กำหนดเป้ามายในการคิด และลงมือเขียนเป็นเอกสาร ซึ่งต้องผ่านกระบวนการในการวางแผนในการดำเนินการของธุรกิจมาแล้ว อย่างถูกต้อง รอบคอบ และรัดกุม และข้อดีคือถึงแม้นเป็นธุรกิจเล็กแต่พร้อมจะยิ่งใหญ่หากเรามีก้าวเดินที่สามารถนำไปปฎิบัติได้ประสบความสำเร็จและเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป
แผนธุรกิจเริ่มอย่างไรดีหล่ะเราสามารถหาแหล่งเริ่มต้น ทำความรู้จัก นำไปเขียน เริ่มต้นปฎิบัติได้โดยการคลิ้กไปยังแหล่งข้อมูลต่อไปนี้

วิธีดีที่สุดในการรักษารอยแผลเป็น โดยเภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


เราเดินทางมาถึงตอนใกล้จะสุดท้ายของความรู้เรื่องการดูแลแผลอย่างไรให้มีแผลเป็นได้น้อยที่สุด  เรามาตามติดดูว่าวิทยาการเทคโนโลยี่ใหม่ๆ อะไรบ้างที่ปัจจุบันนำมารักษารอยแผลเป็นกันบ้างอย่างได้ผลและปลอดภัย แล้วิธีไหนนะ? ที่เจ๋งเป้งทำให้ผิวปูดโปนปุ่มปมน่ากังวล กลับไปเนียนเรียบสวยงามดั่งวันวารได้อีก 

  ทำไมยังเกิดแผลเป็นได้หล่ะ
คุณๆที่ติดตามบทความนี้มาแต่เริ่มต้น คงทราบดีแล้วว่าแผลเป็นต่างๆ อาจเกิดจากอุบัติเหตุเล็กๆ เช่นมีดบาด หกล้ม รวมไปทั้งแผลที่เกิดจากโรคบางชนิดเช่นสิว แผลจากอาการแพ้ผื่นคัน แผลติดเชื้อ แผลเป็นเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ จะเกิดมาภายหลังมาจากการหายของแผล เนื่องจากร่างกายคุณเองนั่นแหละ มีขบวนการซ่อมแซมตัวเองให้มีแผลเป็นน้อยที่สุดอยุ่แล้ว แต่เราไม่ได้โชคดีที่เกิดแต่แผลเล็กๆ บางครั้งถ้าเราโชคร้ายไปมีแผลที่มีขนาดใหญ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นแผลจากอุบัติเหตุรุนแรง แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกเป็นพื้นที่กว้างๆ แผลจากการผ่าตัด ร่างกายเราจะมีความสามารถน้อยลงในการสมานแผลให้เป็นปกติดั้งเดิม และใช้เวลานานอย่างมากกว่าเดิม ทำให้ในแผลหายช้าลง จนเกิดโอกาสที่จะเป็นแผลเป็นมากขึ้น แผลเป็นที่เกิดขึ้นมักจะเห็นชัดในระยะแรกและค่อยๆ จางลง โดยใช้ระยะเวลาเป็นเดือนหรือปี การที่แผลเป็นจะเห็นได้ชัดหรือไม่ขึ้นกับสี ความเรียบ ความลึก ความยาวและความกว้างของแผลเป็นนั้นๆ ยิ่งเรามีอายุน้อยการซ่อมแซมแผลมักจะดี ทำให้แผลเป็นเกิดได้น้อยกว่าเมื่อคุณอายุมากขึ้น

ภาพประกอบ: ขบวนการรักษาแผลเป็นให้หาย The Wound Healing Process จาก
woundcaresolutions-telemedicine.co.uk

   การรักษาแผลเป็นที่โฆษณากันตูมตาม ทำอย่างไร? จะหายจริงหรือ? จะเชื่อได้แค่ไหน?
 คุณคงผ่านหูผ่านตาของการโฆษณามากมายถึงวิธีการและผลิตภัณท์ ยาและอาหารเสริมต่างๆมากมาย มาแล้วว่าช่วยให้เแผลเป็นเลือนหายในภาพคอมพิวเตอร์กราฟิคต่างๆ จะเชื่อถือได้หรือไม่ แล้วแต่ประสบการ์ณของแต่ละท่านนะครับ แต่ในที่นี้ผมขออนุญาตใช้องค์ความรุ้ ของสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับการยอมรับว่าได้ผลและปลอดภัยที่ผ่านการพิสูจน์มาแล้ว

   ภาพประกอบ: ขบวนการรักษาแผลเป็นทีละขั้นตอน จาก Schematic representation of processesinvolved in wound healing copewithcytokines.de

วิธีการรักษาแผลเป็นที่ได้ผลและปลอดภัย
 เทคนิควิทยาการทางการแพทย์ในด้านความงามนี่ไปเร็วจริงๆครับ ปัจจุบันเรามีความสามารถในการเจริญในการทำแผลเป็นให้ดีขึ้น แต่ต้องบอกันตรงๆว่า “ไม่ว่าจะใช้วิธีการใดก็ไม่มีทางที่จะทำแผลเป็นให้กลับมาเป็นผิวหนังปกติได้เลยความจริงมีอยุ่ว่า เราเพียงแต่ช่วยทำให้แผลเดิมดูดีขึ้นและสังเกตเห็นได้น้อยลง สิ่งสำคัญคือ อย่าเชื่อจนกว่าจะได้พบผุ้ให้การรักษา ผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการเรียนรุ้ ฝึกอบรมและให้การรักษาเท่านั้น ที่จะอำนวยการให้คุณเชื่อมั่นได้ว่าจะมีวิธีการรักษาไหนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแผลเป็นนั้นของคุณเอง

ลองมาดูว่ามีวิธีไหนบ้างที่อาจจะเหมาะกับเรา

การเปลี่ยนลักษณะแผลเป็นโดยการผ่าตัด
 ย้ำไม่ใช่ลบรอยแผลเป็น แต่วิธีนี้เหมาะสำหรับแผลเป็น มาก่อนแล้ว ที่กว้างอย่างมากหรือยาวมากในบริเวณที่สังเกตเห็นได้ชัด โดยแผลเป็นที่กว้างและยาวดูน่าเกลียด สามารถถูกทำให้แคบขึ้นและสั้นลงได้โดยเทคนิคทางการผ่าตัดต่างๆ ซึ่งแพทย์ต้องดูทิศทางของแผลเป็นและทิศทางของกล้ามเนื้อภายใต้แผลเป็นนั้นๆ เป็นศาสตร์และศิลป์ที่เราต้องการผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

การขัดหน้า
 กำลังโด่งดังในขณะนี้ เป็นเทคนิคที่ค่อนข้างจะปลอดภัยและสามารถทำได้ด้วยเครื่องมือหลาย ชนิดตั้งแต่เครื่องที่หัวทำด้วยกากเพชร ทรายบางชนิด ไปจนถึงการใช้แสงต่างๆ เช่นเลเซอร์ขัดหน้า แต่การจะเลือกใช้เครื่องมือชนิดใดขึ้นอยู่กับความชำนาญของแพทย์ ชนิดของผิว และลักษณะของแผลเป็น เทคนิคนี้ใข้ได้ผลดีกับแผลเป็นจากสิว แผลเป็นจากอีสุกอีใส แผลเป็นจากรอยผ่าตัด กระชนิดลึกและรอยเหี่ยวย่น ขบวนการรักษาโดยวิธีนี้ จะฉีดยาชาเฉพาะที่และยาช่วยผ่อนคลายระหว่างให้การรักษา  หลังทำเสร็จแล้ว คุณสามารถกลับบ้านได้แต่ต้องพักอยู่บ้านประมาณ 1 สัปดาห์ แผลส่วนใหญ่จะแห้งภายใน 1-2 สัปดาห์ ต่อมาบริเวณที่ทำอาจมีสีผิวดำและแดงได้เล็กน้อย ส่วนใหญ่จะหายไปภายใน 3 เดือน ขึ้นอยุ่กับการดูแลผิวต่อไปภายหลังของคุณนั่นเอง แต่ต้องพยายามเลี่ยงแสงแดดเป็นเวลา 3-6 เดือน

การฉีดคอลลาเจน
 โด่งดังจนต้องไปหาซื้อมากิน ทั้งๆที่ไม่รู้ว่าจะได้ผลหรือไม่ในการลดรอยแผลเป็น แต่ความจริงนั้น คอลลาเจนคือสารที่ผลิตจากโปรตีนของสัตว์ที่ผ่านขบวนการสังเคราะห์และควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด ว่าได้ผลในการฉีดเข้าไปในแผลเป็นเพื่อให้แผลเป็นเรียบขึ้นกว่าเดิม และไม่มีผลอันตรายเป็นสิ่งแปลกปลอมต่อร่างกายเรา วิธีนี้เหมาะสำหรับแผลเป็นที่เป็นมานานและ รักษาโดยวิธีอื่นแล้วไม่ค่อยได้ผล แต่ที่ต้องระวังคือ ผลข้างเคียงของสารโปรตีนนี้อาจทำให้คุณเกิดอาการต่อต้าน แพ้ได้และต้องมาฉีดสม่ำเสมอทุก 6-12 เดือน เนื่องจากคอลลาเจนที่ฉีดเข้าไปจะสลายได้

การรักษาโดยการปลูกหนังใหม่
 ทำได้โดยการผ่าตัดแผลเป็นดั้งเดิมออกไป และนำผิวหนังจากบริเวณอื่นในร่างกายเรา น่านแหละที่ปกติดีอยุ่มาใส่ลงไปแทนที่ลงไป ผลที่ได้จะทำให้แผลเป็นเรียบขึ้น เหมาะสำหรับแผลเป็นที่เป็นหลุมลึกมาก และช่วยให้เกิดอาการต่อต้านผิวใหม่น้อยมากเพราะผิวที่บ่มแปะแทนก้อเป็นผิวเดิมๆจากร่างกายเราเอง

รักษาโดยใช้สารเคมี
 เหมาะสำหรับแผลเป็นชนิดตื้นๆ เช่นแผลเป็นจากรอยคุ้ย แคะ แกะ เกาของ สิว ด้วยมือของเราเองนี่แหละ ในทางการแพทย์นั้น เราจะเลือกใช้สารเคมีที่ต้องควบคุมพิเศษ มาใช้มีหลายชนิดคือกรดไทรคลออาซิติก กรดอัลฟาไฮดรอกซี่และอื่นๆ การเลือกใช้สารชนิดใดขึ้นอยู่กับระดับความลึกของแผลเป็น หลังทำไปแล้วคุณผู้จะรู้สึกแสบๆ เล็กน้อยในพื้นที่ผิวเดิม หลังจากนั้นบริเวณที่ทำจะดำและหลุดลอกออกภายใน 4-5 วัน หลังแผ่นดำหลุดออกบริเวณที่ถูกทำอาจดำหรือแดงเล็กน้อยและค่อยๆ จางหายไปในที่สุด ผู้ที่ได้รับการรักษาต้องหลีกเลี่ยงแสงแดดอย่างน้อย2-3 สัปดาห์ คุณๆสามรถตามอ่านรายละเอียดได้ในตอนการรักษาแผลเป็นจากสิว ที่ผมเขียนไว้แล้ว ในคุ่มือรักษาสิวที่ผ่านมาครับ

แล้ววิธีไหนดีที่สุดหล่ะ
เชื่อว่าเสียเงินเท่าไหร คุณสาวๆที่มีแผลเป็นให้กังวลใจ ก้ออยากให้หายไปเหมือนผิวยามวัยเยาว์แรกเกิดของคุณๆ ของเราใช่ไหมครับ ในฐานะเภสัชกรอยากจะยืนยันว่าเทคโนโลยี่ใหม่ทำให้การรักษาแผลเป็นก้าวหน้าขึ้น มีผลิตภัณท์ยา อาหารเสริม เวชสำอางเครื่องประทินผิวบางตำหรับที่ช่วยให้แผลเป็นต่างๆ “ดูดีขึ้น ได้แค่ระดับหนึ่งเท่านั้น แต่ก้อมีลักษณะแผลหลายอย่างตามที่ได้กล่าวมาแล้ว อยากจะแนะนำให้ไปปรึกษาผู้ชำนาญแทนครับ เพราะว่าจะช่วยเหลือคุณ ตรวจวิเคราะห์สภาพผิว ดูรอยโรคของแผลเป็น และประเมินพร้อมกับให้การรักษาที่ดีที่สุด หากคุณให้ความร่วมมือในการดูแลผิวสวยต่อไปด้วยครับ 

ตอนต่อไปเราจะนำผลิตภัณท์ต่างๆที่อ้างว่าได้ผล ลดรอยเลือนแผลเป็นมาลงทีละตัว ให้มันรู้ไปเลยว่าจริงใจหรือไก่กา อยากรู้กันมั้ยครับ?

แหล่งข้อมูล

เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 31 พค. 2554

ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ
Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

·  รูปประกอบจากอินเตอร์เนท  http://www.compulsivestyle.com/wp-content/uploads/2012/04/main-beauty.jpg

คู่มือรักษาแผล ตอนที่ 1: บาดแผลเกิดได้อย่างไร ขบวนการสมานแผล โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/04/29/entry-3
·      คู่มือรักษาแผล ตอนที่ 2: ทำอย่างไรให้บาดแผลหายเร็ว ไม่เกิดแผลเป็น โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/06/13/entry-1
·      คู่มือรักษาแผล ตอนที่ 3: วิธีรักษารอยแผลเป็นที่ได้ผลและปลอดภัย โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุลhttp://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/06/14/entry-1
·      คู่มือรักษาแผล ตอนที่ 4: เทคนิคใหม่ในการรักษารอยแผลเป็นที่ได้ผลและปลอดภัย โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุลhttp://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/06/17/entry-1
·      รักษาแผลเป็นให้หาย: ทำไมจึงเกิดแผลเป็นมาได้นะ? โดยเภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://utaisuk.blogspot.com/2012/05/blog-post_17.html
·      ทำอย่างไรให้บาดแผลหายเร็ว ไม่เกิดแผลเป็น โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุลhttp://utaisuk.blogspot.com/2012/05/blog-post_8589.html
·      รักษารอยแผลเป็นได้ผลและปลอดภัยกัน โดยเภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุลhttp://utaisuk.blogspot.com/2012/05/blog-post_23.html
·      Medscape wound management center, http://www.medscape.com/resource/wound-management
·      Nguyen, D.T., Orgill D.P., Murphy G.F. (2009). Chapter 4: The pathophysiologic basis for wound healing and cutaneous regeneration. Biomaterials For Treating Skin Loss. CRC Press (US) & Woodhead Publishing (UK), Boca Raton/Cambridge, p.25-57.
·      Stadelmann W.K., Digenis A.G. and Tobin G.R. (1998).Physiology and healing dynamics of chronic cutaneous wounds. The American Journal of Surgery 176 (2) : 26S-38S. PMID9777970 Hamilton, Ont. B.C. Decker, Inc. Electronic book
·      Midwood K.S., Williams L.V., and Schwarzbauer J.E. 2004.Tissue repair and the dynamics of the extracellular matrix. The International Journal of Biochemistry & Cell Biology 36 (6) : 1031-1037.
·      Richard M Stillman, MD, Wound Care, WebMD LLC ,http://emedicine.medscape.com/article/194018-overview
·      Jorge I de la Torre MD, Wound Healing, Chronic Wounds
, WebMD LLC, http://emedicine.medscape.com/article/1298452-overview
·      Michael Mercandetti, MD, MBA, Wound Healing, Healing and Repair, WebMD LLC, http://emedicine.medscape.com/article/1298129-overview
·      ผศ.นพ.สรวุฒิ  ชูอ่องสกุล, แผลเป็น ,สาขาวิชาศัลยศาสตร์ตกแต่ง ภาควิชาศัลยศาสตร์, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=548
·      นายแพทย์ทองดี ชัยพานิช , "Wound Healing Process" , ผู้อำนวยการราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย, การสัมมนาวิชาการการดูแลแผลเรื้อรังด้วยการแพทย์แบบผสมผสาน, โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๘ , สำนักการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
·      นายแพทย์ บุญชัย ทวีรัตนศิลป์, Wound healing, หน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่ง ภาควิชาศัลยศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Planogram จัดวางสินค้าอย่างไร ให้ขายดี


เมื่อยามเรากระหายเครื่องดื่มเย็นๆ ตรงไปไปร้านอิ่มสดวกครั้งใด เราจะรู้ได้เลยว่าเราต้องเข้าไปมุมใดของร้าน ชั้นไหนนะที่วางเครื่องดื่มเย็นเจี๊ยบชื่นใจเรา

ร้านยาก้อเช่นเดียวกัน ไม่มีใครทุกคนเป็น expert เหมือนเภสัชกรที่ชำนาญในเรื่องยา มองปุ้บไปบนชั้นก้อรู้เลยว่าเราอยากได้อะไร แต่อีกมุมหนึ่งหากเราเป็นผู้บริโภคธรรมดา ลองนึกว่าหากเราปวดหัว แล้วเราไปเลือกหาซื้อยาสามัญประจำบ้านบรรเทาตนเองในเบื้องต้น แล้วไปเจอร้านยามืออาชีพ ที่เภสัชกรได้มีการจัดวางผังและแผนที่ร้านให้เราได้หยิบยาง่ายๆ ได้เป็นยาบรรเทาตนเองไปก่อน จะดีเช่นไร เรามีเครื่องมือหนึ่งที่ร้านค้าปลีกใหญ่ๆ เขาใช้กันที่เรียกว่า planogram มาช่วยเภสัชกรทุกท่านได้นำไปวางแผน สรรหาสินค้า เลือก จัดวาง ตัดคัด สินค้า ในร้านของคุณให้ขายดี ลูกค้ารักและกลับมาถามหาเภสัชกรคนเก่งได้ต่อไปและต่อไปจะดีไหม?

ตามไปค้นหาคำตอบได้ที่ http://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/07/27/entry-2

ภาพประกอบจาก:

http://www.elec-intro.com/pharmacy-internship

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

รักษารอยแผลเป็นได้ผลและปลอดภัยกัน โดยเภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ใครที่มีรอยแผลเป็น โดยเฉพาะคุณสาวๆที่มีรอยสิว รอยแผลเป็น บนใบหน้าหรือตามผิวพรรณ ยามส่องกระจกทุกวันคุณคงถามตัวเองอยุ่เสมอว่า ถ้ามันมีวิธีรักษาหรือขจัดรอยนี้ออกไปได้ก้อดีนะซิ ผิวหน้าฉันจะได้ผุดผ่องเป็นนวลใยได้เหมือนยามวัยเยาว์ พอไปดูโฆษณาต่างก้อมีผลิตภัณท์ต่างๆ ร้อยแปด มาอวดอ้างลดรอยแผลเป็น ได้ผลมากมายเสมือนเราไปเกิดใหม่ เอ แล้วจะเชื่อใครดี? เรามาติดตามเภสัชกรหนุ่มรูปหล่อแนะนำวิธี การรักษารอยแผลเป็นที่ได้ผลและปลอดภัยกันจริงๆ ดีกว่าไหม

รักษารอยแผลเป็นได้ผล จะเชื่อใครดี?
เปิดดูโทรทัศน์ อ่านนิตยสาร หรือเปิดอินเตอร์เนท คุณจะพบว่ามีผลิตภัณท์หรือสถาบันต่างๆมากมาย มาประโคมโอ่ว่าตัวเองเป็นทางเลือกในการรักษารอยแผลเป็นให้หายไปได้ เราจะเชื่อเขาได้ไหม ในฐานะเภสัชกรชุมชนก็เหือนกับคุณน่านแหละที่เราจะได้รับสื่อต่างๆมากมาย แต่เราจะมีแนวความคิดในการรับข้อมุลและตัดสินใจโดยใช้ฐานข้อมูลที่น่าเชื่อถือ คือมีการทดลองโดยผู้ชำนาญการ มีขบวนการที่ตรวจสอบอ้างอิงได้ ในที่นี่ขออ้างอิง The International Clinical Guidelines for Scar Management 2002 แหล่งข้อมูลนี้ คุณๆสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ link ข้างล่างครับ ให้ข้อมุลที่น่าเชื่อถือและมีรายละเอียดเยอะมากๆ

การรักษาแผลเป็นที่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่น่าเชื่อถือว่าได้ผลและปลอดภัยที่ผ่านมามีขบวนการรักษาและผลิตภัณท์มากมายไปหมด แต่พอเข้าสู่ขบวนการรักษาและตรวจสอบจริงๆแล้ว กลับพบได้ว่าการรักษาแผลเป็นที่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่น่าเชื่อถือเพียงพอมีไม่กี่วิธีเอง อันได้แก่

แผ่นเจลซิลิโคน silicone gel sheet
เป็นการรักษาที่นำแผ่นซิลิโคนใส ที่ออกแบบและสังเคราะห์ออกมาเป็นพิเศษ นำไปใช้กับแผลเป็นที่มีสีแดงหรือสีคล้ำหรือนูน ซึ่งในการนำไปใช้ มีรายงานว่าจะช่วยให้สีของแผลจากลงและแผลแบนราบลงได้ แต่แผ่นเจลซิลิโคนนี้ไม่ควรจะใช้ในขณะแผลเปิด ควรเริ่มใช้ทันทีที่แผลปิดสนิทหรือหลังตัดไหมสำหรับแผลเย็บ โดยปิดแผ่นเจลซิลิโคนนี้ทับแผลเป็นหรือคีลอยด์ที่อาจจะเกิดขึ้น เป็นระยะเวลานานมากกว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน หรืออาจเริ่มต้นด้วยระยะเวลาน้อยๆก่อน และค่อยๆเพิ่มเวลามากขึ้นๆ ขึ้นจนมากกว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน จะไปมีผลช่วยให้แผลเป็นนี้ยุบลงได้ โดยที่ไม่มีอาการระคายเคืองให้เจ็บแผลแต่อย่างใด แต่ขบวนการรักษาเช่นนี้ ต้องใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือนจึงจะทำให้ผิวกลับสุ่สภาพดังเดิมได้มากที่สุด

ภาพประกอบ: ภาพการใช้แผ่นเจลปิดแผลเป็น มาจาก http://www.changesplasticsurgery.com


ทำไมจึงได้ผล ยังไม่ทราบกลไก แต่เราพบว่าเจ้าแผ่นนี้จะมีคุณสมบัติเป็น semi-occlussive คือปกป้องแผลได้ในขณะที่ไม่ยอมให้น้ำผ่าน แต่ไอน้ำ ความชุ่มชื้น และอ๊อกซิเจนผ่านไปซ่อมแซมแผลได้ (รายละเอียดการรักษาแผลให้หายเร้วกรุณากลับไปอ่านในตอนที่ 2 นะครับ) และแรงกดจากแผ่นนี้ที่ทาบลงไปอยู่ตลอดเวลาบนแผลเป็น จะไปช่วยให้ลักษณะของแผลเป็นดีขึ้นได้

แผ่นซิลิโคนใสนี้ สามารถนำมาล้างทำความสะอาด ใช้สบู่ฟอก ใช้น้ำสะอาดล้าง แล้วผึ่งให้แห้ง นำมาใช้ปิดแผลเป็นได้จนกว่าจะปิดไม่อยู่ ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถใช้ได้นาน 14-28 วัน


ภาพประกอบ: ฉีดยาคอติโคสเตียรอยด์ มาจาก Intralesional corticosteroids. Scar treatments
virtualmedicalcentre.com
    การฉีดยาคอติโคสเตียรอยด์ Intra lesional corticosteroid
    วิธีการนี้ทำเองที่บ้านไม่ได้ครับ เราต้องฉีดยาสเตียรอยด์ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้ชำนาญการเท่านั้น โดยจะเลือกใช้ยาคอติโคสเตียรอยด์หรือภาาาชาวบ้านที่เรียกว่ายาแก้อักเสบแบบสเตียรอยด์น่านแหละครับ ที่เราเลือกใช้มากคือ triamcinolone acetonide เข้าไปยังใต้ตำแหน่งของแผลเป็น จะช่วยให้แผลเป็นปุ่มปูดโปนนั้นนุ่มลงและแบนราบลงได้

    กลไกที่ทราบของยาคือมันนี้จะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของ fibloblast และส่งเสริมการทำลายคอลลาเจนที่แผลเป็น ทำให้แผลเป็นยุบตัวลง ยานี้ควรใช้ร่วมกับการรักษากับการใช้แผ่นซิลิโคนใส แล้วยังไม่หายดี แพทย์ผู้ชำนาญการจะเป็นผู้วินิจฉัยรอยแผลโรคและให้การรักษา พร้อมกับดูแลไปตลอด 4-6 สัปดาห์ ผลข้างเคียงที่ต้องระวังคือทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บขณะที่ฉีดยา และต้องมาฉีดเป็นระยะ ตามที่แพทย์นัด นอกจากนี้ในบางรายอาจทำให้ แผลยุบตัว และสีผิวเปลี่ยนได้

    การผ่าตัด
    แน่นอนที่สุดหากแผลใหญ่มากมีการทำลายของชั้นเนื้อเยื่ออย่างรุนแรง เราต้องพึ่งพาการผ่าตัดเพื่อไปช่วย จัดตำแหน่งร่องรอยแผลเป็นให้ดูดีขึ้นได้มากกว่าเดิม หลักการก็มีอยู่ว่า การผ่าตัดจะไปแก้สภาพสูญเสียของแผลเดิมให้น้อยลงไป แต่ในขณะเดียวกันก็จะเกิดแผลเป็นใหม่ตามขึ้นมาแทนที่แผลเป็นเก่า แต่แผลใหม่นี้เราจะให้การรักษาให้แผลใหม่หายเร็วมากกว่าเดิมและ ต้องป้องกันการเกิดแผลเป็นควบคุ่ไปด้วยเสมอ จึงทำให้ลดรอยแผลเป็นเดิมๆลงไปได้ และแผลใหม่ก้อมีร่องรอยแผลเป้นน้อยมากกว่าเดิม ผลโดยรวมที่ได้คุณก็จะมีผิวใหม่ที่ใกล้เคียงผิวสวยเดิมๆมากที่สุด

    วิธีการผ่าตัดและเครื่องมือทันสมัยต่างๆ เช่นการผ่าตัดด้วยด้วยแสงเลเซอร์ แสงอินฟาเรดต่างๆ ให้ผลดีต่อการรักษา ไว้ตอนต่อไปจะมาขยายความให้ฟังนะครับ

    การปล่อยให้แผลเป็นจางลงเองตามธรรมชาติ
    คุณเชื่อหรือไม่ว่าร่างกายคุณเองน่านแหละ มีขบวนการการรักษาแผลด้วยตนเองได้ คืออาจทำให้แผลเป็นเดิมๆหดตัวลงและค่อยๆ จางลงได้เองในระดับหนึ่ง เน้น แค่ระดับหนึ่งนะครับ ไม่ใช่หายไปเลย ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆที่ผมได้เล่าให้ฟังมาแล้ว

    ดังนั้นเวลาคุณไปขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้ชำนาญการหรือศัลยแพทย์ตกแต่ง หลายท่านจะแนะนำให้ทิ้งรอยแผลนั้นไว้เฉยๆ เสียก่อนเป็นเวลา 6 เดือนถึง 1 ปี จนแผลเป็นเดิมๆที่มีอยุ่ ค่อยๆจางลงไปเรื่อยๆ จนเต็มที่ก่อนมาให้การรักษาในเวลาต่อไป

    ตอนหน้าเราจะมาดูว่าพวกยารักษา วิตามิน อาหารเสริม ครีมประทินผิว เวชสำอางทั้งหลายที่บอกว่าช่วย ขจัดรอยแผลเป็น ให้รอยแผลจางหายลงไปได้ในไม่กี่วันนั้น จริงใจหรือแหกตากันนะครับ

    แหล่งข้อมูล


    เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 24 พค. 2555

    ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

    การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ
    Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง

    บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

    ·      รูปประกอบจากอินเตอร์เนท http://senatus.net/album/images/6067/#?img=2


    คู่มือรักษาแผล ตอนที่ 1: บาดแผลเกิดได้อย่างไร ขบวนการสมานแผล โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/04/29/entry-3
    ·      คู่มือรักษาแผล ตอนที่ 2: ทำอย่างไรให้บาดแผลหายเร็ว ไม่เกิดแผลเป็น โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/06/13/entry-1
    ·      คู่มือรักษาแผล ตอนที่ 3: วิธีรักษารอยแผลเป็นที่ได้ผลและปลอดภัย โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/06/14/entry-1
    ·      รักษาแผลเป็นให้หาย: ทำไมจึงเกิดแผลเป็นมาได้นะ? โดยเภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://utaisuk.blogspot.com/2012/05/blog-post_17.html
    ·      ทำอย่างไรให้บาดแผลหายเร็ว ไม่เกิดแผลเป็น โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
    ·      Medscape wound management center,http://www.medscape.com/resource/wound-management
    ·      Nguyen, D.T., Orgill D.P., Murphy G.F. (2009). Chapter 4: The pathophysiologic basis for wound healing and cutaneous regeneration. Biomaterials For Treating Skin Loss. CRC Press (US) & Woodhead Publishing (UK), Boca Raton/Cambridge, p.25-57.
    ·      Stadelmann W.K., Digenis A.G. and Tobin G.R. (1998).Physiology and healing dynamics of chronic cutaneous wounds. The American Journal of Surgery 176 (2) : 26S-38S. PMID9777970 Hamilton, Ont. B.C. Decker, Inc. Electronic book
    ·      Midwood K.S., Williams L.V., and Schwarzbauer J.E. 2004.Tissue repair and the dynamics of the extracellular matrix. The International Journal of Biochemistry & Cell Biology 36 (6) : 1031-1037.
    ·      Richard M Stillman, MD, Wound Care, WebMD LLC ,http://emedicine.medscape.com/article/194018-overview
    ·      Jorge I de la Torre MD, Wound Healing, Chronic Wounds
    ·      , WebMD LLC, http://emedicine.medscape.com/article/1298452-overview
    ·      Michael Mercandetti, MD, MBA, Wound Healing, Healing and Repair, WebMD LLC, http://emedicine.medscape.com/article/1298129-overview
    ·      ผศ.นพ.สรวุฒิ  ชูอ่องสกุล, แผลเป็น ,สาขาวิชาศัลยศาสตร์ตกแต่ง ภาควิชาศัลยศาสตร์, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=548
    ·      นายแพทย์ทองดี ชัยพานิช , "Wound Healing Process" , ผู้อำนวยการราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย, การสัมมนาวิชาการการดูแลแผลเรื้อรังด้วยการแพทย์แบบผสมผสาน, โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๘ , สำนักการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
    ·      นายแพทย์ บุญชัย ทวีรัตนศิลป์, Wound healing, หน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่ง ภาควิชาศัลยศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล

    วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

    ทำอย่างไรให้บาดแผลหายเร็ว ไม่เกิดแผลเป็น โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล



    ตอนที่แล้วเราได้พาคุณไปรุ้จักการเกิดแผลชนิดต่างๆมาแล้ว แต่ถ้าหากพลั้งเผลอไปมีแผลแล้วเข้าให้ จะทำอย่างไรดีให้แผลหายเร็วๆ ขณะเดียวกันก้อไม่อยากให้เกิดแผลเป็นด้วยนะ ขอเชิญติดตามเภสัชกรหนุ่มรูปหล่อแนะนำต่อไปครับ
      
    ทำไมต้องเกิดรอยแผลเป็นด้วยหล่ะ

    หากมีดบาดนิ้วคุณไปหนึ่งจึ้ก เราจะพบว่าร่างกายคุณจะมีขบวนการรักษาแผลที่เกิดการฉีกขาดของเนื้อเยื่อออกไป โดยจะมีการสร้างเนื้อเยื่อซึ่งเป็นโปรตีนที่เรียกว่า คอลลาเจน collagen มาทดแทนเนื้อเยื่อที่ถูกฉีกขาดหายหรือถูกทำลายไป ต่อเมื่อแผลหายดีแล้ว ที่คุณๆกังวลก้อคือการเกิดก็รอยแผลเป็นไว้ตรงบริเวณที่เกิดแผลมาก่อนนั่นเอง

    รูปประกอบขบวนการหายของแผล 

    4 Phases of Healing. Nutrition and the Wound Healing Process จาก

    yourhealthywounds.com

    ทำไมบางคนมีรอยแผลเป็นได้ง่ายมาก

    เคยสังเกตุไหมว่าแผลที่มักทำให้เกิดรอยแผลเป็น แผลผ่าตัด แผลจากอุบัติเหตุ แผลไฟไหม้ แผลสิว แผลจากโรคสุกใส ที่เกิดขึ้น บางคนเกิดเป็นได้ง้ายง่าย ในขณะที่บางคนโชคดีกว่า ไม่ค่อยเกิดก้อมี ต้องมาเข้าใจก่อนว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดแผลเป็น ในแต่ละคนมีอะไรบ้าง

    1. ขั้นตอนการเกิดแผลเป็น  คือเมื่อเกิดแผลแล้ว ตรงตำแหน่งของแผลหรือการฉีกขาดของเนื้อเยื่อจมีความรุนแรงมากน้อย แผลตื้นหรือลึกเพียงใด ไปทำลายถึงเนื้อเยื่อล่างๆลงไปด้วยหรือไม่ ตัวอย่างเช่นหากคุณหกล้มจนเข่าเกิดบาดแผลเพียงชั้นบนของผิวเล็กน้อยในระดับของหนังกำพร้า ซึ่งเป็นผิวหนังชั้นบางๆ ชั้นนอกสุด เมื่อแผลหายดีแล้วก็อาจทำให้เกิดแผลเป็นนิดหน่อยเช่นกัน ร่างกายคุณจะซ่อมแซมได้เอง เมื่อทิ้งไว้สักระยะหนึ่งรอยแผลเป็นจะค่อยๆจางหายไปได้เอง ถ้าไม่สังเกตุอาจจะมองไม่เห็นรอยแผลเป็นเลยก็มี

    แต่ถ้าหากมีการฉีกขาดเจาะลึกลงถึงชั้นหนังแท้หรือลึกกว่านั้นลงไป ตัวอย่างเช่นประสบอุบัติเหตุรถชน มีแผลบาดลึก ฉีกขาดไปจนถึงชั้นของกล้ามเนื้อหรือกระดูก คราวนี้หล่ะ งานใหญ่ในการซ่อมแผลจะยากมากว่าเดิม เมื่อหายดีแล้วอาจทิ้งรอยแผลเป็นไว้ให้รำคาญใจได้

    2. ขั้นตอนการรักษาแผลให้หาย ถ้าเกิดแผลขึ้นมาแล้ว ถ้ามีการดูแลรักษาแผลอย่างดี จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ผลที่ตาามารอยแผลเป็นก็จะลดน้อยลงไปได้ แต่ถ้าหากดูแลรักษาไม่ดี ปล่อยให้มีความสกปรกหรือติดเชื้อซ้ำเติมลงไป จะทำให้แผลหายช้าและเกิดรอยแผลเป้นได้มากกว่า

    3. ขบวนการสมานแผลเในแต่ละคนตามธรรมชาติ เมือแผลหายเแล้ว ย่อมต้องเกิดรอยแผลเป็นที่มีลักษณะเป็นสีแดงหรือสีน้ำตาลและนูนขึ้น แต่ทว่าในแต่ละคน จะมีเมื่อขบวนการซ่อมแผลแตกต่างกันไป จากการวิจัยเราพบว่าในเด็กโอกาสที่จะเกิดแผลเป็นได้น้อยกว่าในผู้ใหญ่ ในวัยรุ่นและวัยเจริญพันธุ์จะมีโอกาสเกิดแผลเป็นได้บ่อยกว่าในวัยอื่นๆ คุณผู้หญิงจะมีโอกาสการเกิดแผลเป็นได้บ่อยและมากกว่าผู้ชาย ในคนผิวคล้ำจะมีโอกาสเกิดแผลเป็นได้บ่อยและรุนแรงกว่าคนผิวขาว และสุดท้าย หากพ่อแม่ของคุณเคยเกิดแผลเป็นได้น้อยมากแถมยังสมานตัวไว คุณเองก็จะมีโอกาสเกิดแผลเป็นได้น้อยลงเช่นกัน ขึ้นอยุ่กับพันธู์กรรมที่ได้ถ่ายทอดมานั่นเอง

    ชนิดของรอยบาดแผล ชนิดไหนที่เกิดแผลเป็น

    ตอนที่แล้วเราได้อธิบายอย่างละเอียดถึงชนิดของรอยบาดแผลมีมากมายหลายชนิด แต่ที่เป็นปัญหาของการเกิดแผลเป็นจะมีดังนี้

    1. รอยแผลเป็นนูนหนา Hypertrophic scar คือแผลเป็นที่มีรอยสีแดงและนูนขึ้นมาจากผิวหนังปกติ อยู่ในขอบพื้นที่ของรอยแผลที่เกิดจากการบาดเจ็บหรือฉีกขาดของแผลเดิม แผลเป็นชนิดนี้เกิดจาการสร้างคอลลาเจนมากเกินไป และมักไม่ขยายกว้างขึ้นเกิดจากรอยโรคเดิม

    2. คีลอยด์ Keloid คุ้นหูกันดีแล้วนั่นคือแผลเป็นที่มีอาการนูนและแดงคล้ายกับรอยแผลเป็นนูนหนาข้างบน แต่กลับมีความผิดปกติบางประการที่ไปเร่งให้ เกิดการขยายรอยนูนดังกล่าว กว้างขึ้นออกไปสู่เนื้อเยื่อรอบๆรอยของแผลตอนแรกเริ่ม
       
    ทำอย่างไร ป้องกันไม่ให้เกิดแผลเป็น 

    เมือเกิดแผล สิ่งสำคัญอย่างแรกในการลดรอยแผลเป็นคือ

    1. ต้องรีบลดสาเหตุและระดับความรุนแรงของการเกิดแผลให้เร็วที่สุด อย่าให้แผลเกิดลึกมากหรือถูกทำลาย

    2. ถ้าเกิดแผลขึ้นมาแล้ว ต้องดูแลรักษาทำความสะอาดแผลอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งเพื่อให้แผลหายเร็วที่สุด หากคุณยิ่งรักษาแผลหายเร็วเท่าใด โอกาสในการเกิดแผลเป็นก็จะน้อยลงเท่านั้น คุณเองสามารถเริ่มต้นดูแลแผลได้โดยหากมีการเกิดแผลเล็กน้อย การล้างหรือเช็ดทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือ แล้วปิดแผลให้ปราศจากเชื้อ เราไม่แนะนำให้ใช้แอลกอฮอล์หรือยาฆ่าเชื้อ เช่น โพรวิโดนไอโอดีนชะลงที่แผลโดยตรง เพราะมีผลเสียต่อการสร้างเนื้อเยื่อ ทำให้แผลหายช้า ลงไปอีก แต่ถ้าหากคุณไปมีแผลที่เลือดไหลไม่หยุด แผลขนาดใหญ่หรือแผลลึกมาก แผลที่เกิดจากแมลงพิษกัด แผลบริเวณข้อต่อหรือข้อพับ และแผลที่มีอาการร้อนบวมแดงอักเสบ และปวดรุนแรงหรือเป็นหนอง แนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อชะล้างทำความสะอาดอย่างถูกวิธีเพื่อลดโอกาสในการเกิดแผลเป็นต่อไป

    3. เสริมปัจจัยอื่นๆ ที่ช่วยเร่งต่อการหายของแผลเร็วที่สุดเพื่อลดการเกิดแผลเป็นให้น้อยที่สุด ได้แก่ การใช้ยาคอร์ติโคสตีรอยด์บรรเทาอาการอักเสบไม่ให้รุนแรงต่อเนื่อง การกินสารอาหารให้ครบหมู่และเพียงพอ ลดการสูบบุหรี่ รักษาสภาวะอุณหภูมิให้อุ่น มีความชุ่มชื้น รักษาความเป็นกรดด่าง ph 7.4 และเพิ่มเติมก๊าซออกซิเจน จะทำให้แผลจะหายได้ดีขึ้น อาจเสริมสารอาหารวิตามินซี และธาตุสังกะสี ในเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายระหว่างมีแผล


    ตอนหน้าหากต้องเกิดแผลเป็นนูน การรักษารอยแผลเป็นมีกี่วิธี 
    อันตรายไหม ช่วยลดรอยแผลได้จริงหรือ ต้องทำอย่างไร

    แหล่งข้อมูล


    เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 18 พค. 2555

    ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

    การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ
    Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง

    บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

    ·      รูปประกอบจากอินเตอร์เนท
    คู่มือรักษาแผล ตอนที่ 1: บาดแผลเกิดได้อย่างไร ขบวนการสมานแผล โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/04/29/entry-3

    ·      คู่มือรักษาแผล ตอนที่ 2: ทำอย่างไรให้บาดแผลหายเร็ว ไม่เกิดแผลเป็น โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/06/13/entry-1
    ·      รักษาแผลเป็นให้หาย: ทำไมจึงเกิดแผลเป็นมาได้นะ? โดยเภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://utaisuk.blogspot.com/2012/05/blog-post_17.html

    ·      Medscape wound management center,http://www.medscape.com/resource/wound-management
    ·      Nguyen, D.T., Orgill D.P., Murphy G.F. (2009). Chapter 4: The pathophysiologic basis for wound healing and cutaneous regeneration. Biomaterials For Treating Skin Loss. CRC Press (US) & Woodhead Publishing (UK), Boca Raton/Cambridge, p.25-57.
    ·      Stadelmann W.K., Digenis A.G. and Tobin G.R. (1998).Physiology and healing dynamics of chronic cutaneous wounds. The American Journal of Surgery 176 (2) : 26S-38S. PMID9777970 Hamilton, Ont. B.C. Decker, Inc. Electronic book
    ·      Midwood K.S., Williams L.V., and Schwarzbauer J.E. 2004.Tissue repair and the dynamics of the extracellular matrix. The International Journal of Biochemistry & Cell Biology 36 (6) : 1031-1037.
    ·      Richard M Stillman, MD, Wound Care, WebMD LLC ,http://emedicine.medscape.com/article/194018-overview
    ·      Jorge I de la Torre MD, Wound Healing, Chronic Wounds
    ·      , WebMD LLC, http://emedicine.medscape.com/article/1298452-overview
    ·      Michael Mercandetti, MD, MBA, Wound Healing, Healing and Repair, WebMD LLC, http://emedicine.medscape.com/article/1298129-overview
    ·      ผศ.นพ.สรวุฒิ  ชูอ่องสกุล, แผลเป็น ,สาขาวิชาศัลยศาสตร์ตกแต่ง ภาควิชาศัลยศาสตร์, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=548
    ·      นายแพทย์ทองดี ชัยพานิช , "Wound Healing Process" , ผู้อำนวยการราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย, การสัมมนาวิชาการการดูแลแผลเรื้อรังด้วยการแพทย์แบบผสมผสาน, โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๘ , สำนักการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
    ·      นายแพทย์ บุญชัย ทวีรัตนศิลป์, Wound healing, หน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่ง ภาควิชาศัลยศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล