วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2555

ซูโดอีเฟดรีน ยาดีหรือยาบ้า โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

คนเลวเพียงเล็กน้อยในสังคมเรา ทำให้คุณๆเดือดร้อนอีกแล้ว เพราะเมื่อยามเป็นหวัด น้ำมูกไหล คัดจมูก จามฮัดเช้ย แต่เดิมคุณสามารถไปหายาสุตรที่มีส่วนผสมที่มีส่วนประกอบของ ซูโดอีฟรีดีน (Pseudoephedrin) มาบำบัดอาการต่างๆได้ ทว่าตั้งแต่ 21 ก.ค. นี้ การประชุมคณะกรรมการยา จากเดิมที่ทาง อย.มีการควบคุมยาดังกล่าวอยู่แล้ว แต่เมื่อการดำเนินการดังกล่าวยังไม่ได้ผล อย.จึงอ้างว่าจำเป็นที่จะต้องหาแนวทางที่เข้มข้นขึ้นโดยยกระดับยากลุ่มดังกล่าวให้เป็นยาที่จะต้องจำหน่ายในโรงพยาบาลเท่านั้น เรามาทำความรุ้จักยาสุตรนี้กันดีกว่า ว่าได้ผลหรืออันตรายอย่างใด ( หมายเหตุ บทความนี้เขียนตั้งแต่วันที่ 21 กค. 2554 ปัจจุบันยาตัวนี้ได้เปลี่ยนไปเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทที่ 2 แล้ว ซึ่งจะได้เขียนอธิบายต่อไปในตอนหน้าว่ามีผลกระทบอย่างไร)


ทำไมซูโดเอฟิดรีนจึงเป็นสารตั้งต้นในขบวนการยาเสพติด
ซูโดเอฟิดรีน PseudoEphedrine เป็นสารออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติปในร่างกายเราที่เรียกว่าซิมพาเธติก เป็นระบบประสาทที่ทำหน้าที่ยามคุณตื่นเต้น ตกใจ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว เพื่อตอบโต้ทันการ์ณกับสถานะที่ต้องต่อสุ้ หรือออกกำลังกาย
ภาพประกอบ: สูตรโครงสร้างทางเคมีของซูโดเอฟิดีน คล้ายคลึงกับยาบ้า จึงสามารถนำไปผ่านขบวนการทางเคมีเพื่อผลิตเป็นยาบ้าได้ จาก http://www.gotoknow.org/blogs/posts/481027

ถ้าส่องกล้องมองลงไปเราจะพบว่าโครงสร้างทางเคมีของมันดันไปคล้ายคลึงกับ เอฟิดรีน และสาร เมธแอมเฟตามีน (ยาไอซ์) เป็นอย่างมาก ดังนั้นในแก้งคนเลวที่เกริ่นนำมา พอมันไม่สามารถหาวัตถุดับไปผลิตยาเสพติดกลุ่มดังกล่าวได้ มันก้อเลยไปกว้านซื้อยาแก้หวัดที่มี ซูโดเอฟิดรีน มาเป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาไอซ์แทน ในปัจจุบัน คณะกรรมการอย.ไทย ไม่อนุญาตให้ขายยาที่มี ซูโดเอฟิดรีน ล้วนๆ ในร้านยาอยุ่แล้ว จะมีเฉพาะในโรงพยาบาล โดยต้องมีใบสั่งแพทย์เท่านั้น แต่เจ้ายาที่มี ซูโดเอฟิดรีน เป็นส่วนประกอบร่วมกับยาชนิดอื่นๆ สามารถจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไปได้ เนื่องจากไม่สามารถนำไปใช้เป็นสารตั้งต้น สำหรับการผลิตสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทที่มากขึ้นได้

ซูโดเอฟิดรีนจำเป็นต้องใช้ในการรักษาอย่างไร
ซูโดเอฟิดรีน เป็นยาออกฤทธิ์โดยการไปกระตุ้นปลายประสาทอัตโนมัติประเภทซิมพาเธติก ซึ่งอยู่ในชั้นกล้ามเนื้อของหลอดเลือด มีผลทำให้หลอดเลือดเกิดการหดรัดตัว ทำให้น้ำคัดหลั่งภายในหลอดเลือดไหลออกไปเนื้อเยื่อของจมูกน้อยลงและลดการสร้างน้ำมูก
ผลที่ได้ก็คือช่วยลดอาการบวมเยื่อบุจมูก ลดอาการคั่งของเลือดในเนื้อเยื่อ ลดอาการคัดจมูก ทำให้หายใจสะดวกขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มการระบายออกของสารคัดหลั่งจากไซนัส และยังช่วยบรรเทาอาการอักเสบของช่องหูตอนกลาง ช่วยให้ท่อนำลมที่เชื่อมระหว่างหลังจมูกกับหูส่วนกลางที่อุดกั้นเปิดออกได้ จึงเป็นยาเสริมสำหรับนักดำน้ำหรือผู้ที่ขึ้นเครื่องบินแล้วมีอาการหูตัน
ผลการออกฤทธิ์ของซูโดอีเฟดรีนที่มีฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเยื่อบุจมูก และมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางค่อนข้างน้อย จึงได้นำมาใช้ในผลิตยาลดน้ำมูก แก้คัดจมูก เนื่องจากหวัดและภูมิแพ้ เพื่อบรรเทาอาการคัดจมูกตันหรือบวม หายใจไม่ออก และลดน้ำมูกให้แห้งสนิทลง ไม่เกรอะกรันขวางการหายใจ เราจะใช้ยานี้ ร่วมกับยาแก้แพ้ เพื่อเสริมฤทธิ์ซึ่งกันและกัน นอกจากใช้ในการลดน้ำมูกแล้วในอาการหวัดทั่วๆไปแล้ว เรายังใช้ในกรณีที่คุณป่วยเป็นไซนัสอักเสบ หรือหูชั้นกลางอักเสบ อีกด้วย

ซูโดเอฟิดรีนมีกี่แบบ ใช้อย่างไรในการรักษา
ผลจากการออกฤทธิ์ของซูโดเอฟิดรีน เราจะเน้นมาใช้เพื่อลดอาการบวมของเยื่อบุจมูก ทำให้คุณหายจากอาการคัดจมูก หายใจได้ง่ายขึ้น มีทั้งแบบชนิดกินทั้งเม็ดและน้ำ และแบบใช้เฉพาะที่ คือพ่นเข้าไปในจมูก หรือหยอดจมูก ยาพ่นชนิดใช้เฉพาะที่ ไม่ค่อยใช้บ่อยนัก ยกเว้นในกรณีที่ต้องการให้เกิดการหดตัวของเยื่อบุจมูกอย่างรวดเร็ว เช่น มีไซนัสอักเสบเฉียบพลัน หรือมีอาการปวดหูตอนเครื่องบินลง แต่ไม่ควรใช้ยาแบบพ่นหรือหยอดนี้ ติดต่อกันเป็นระยะเวลามากกว่า 3-5 วัน เพราะจะทำให้เกิดอาการคัดจมูกอย่างทันทีเมื่อเลิกใช้ (Rebound Phenomenon) และทำให้จมูกอักเสบแย่ลงไปอีก

ผลข้างเคียงและข้อควรระวังของซูโดเอฟิดรีน
ผลข้างเคียงที่อาจพบได้คือ ผลจากยาไปกระตุ้นประสาท หงุดหงิด ตกใจง่าย มีนศีรษะ นอนไม่หลับ ใจสั่น ในบางรายพบว่าทำให้เกิด อาการหลอนทางประสาท หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง ชัก ลำไส้ใหญ่อักเสบจากการขาดเลือด ด้วย 
ข้อควรระวังในการใช้ยานี้กรณีที่รับประทานเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้ เช่น ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว นอนไม่หลับ หรือใจสั่นหากได้รับยาในขนาดสูง
และหากคุณเป็นผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ต่อมลูกหมากโต ภาวะทัยรอยด์เป็นพิษ และต้อหินบางชนิด รวมทั้งผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ก่อนการใช้ยา ต้องระวังผลข้างเคียง เรามักแนะนำให้ใช้ยาอื่นๆที่ปลอดภัยกว่า เช่นการใช้ยาแบบเฉพาะที่ หรือการใช้น้ำเกลือพ่นจมูกหรือล้างจมูกแทนจะปลอดภัยกว่ามาก
ผู้ที่ห้ามใช้ยานี้ได้แก่ ผู้ที่กำลังใช้ยา (หรือหยุดยามาไม่เกิน 14 วัน) ในกลุ่ม Monoamine oxidase inhibitor ผู้ที่มีความดันเลือดสูงอย่างรุนแรง โรคหัวใจขาดเลือดขั้นรุนแรง รวมทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ และนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดการกำเริบของอาการได้
ภาพประกอบ: ขบวนการยาเสพติดมีการนำยาซูโดไปใช้เป็นสารตั้งต้นผลิตยาเสพติด โดย
ดีเอสไอ-ตร.จาก dailynews.co.th

แล้ววันนี้จะไปหายาที่มีซูโดเอฟิดรีนได้จากที่ไหน?
ปัจจุบัน อย. โดยกองควบคุมวัตถุเสพติด นำเข้า ซูโดอีเฟดรีน ที่เป็นวัตถุดิบในรูปของผงยา จาก 2 ประเทศ คือ เยอรมนี และอินเดีย โดยกำหนดเพดานรวมสำหรับใช้ในประเทศ 35,000 กิโลกรัมต่อปี เพื่อจำหน่ายให้กับผู้ที่ได้รับอนุญาตนำไปผลิตเป็นยาเม็ด และยาน้ำ ตามสูตรตำรับที่ขึ้นทะเบียนไว้ ซึ่งมีทั้งยาสูตรเดี่ยวและยาสูตรผสม ซึ่งประเทศไทยมีผู้ผลิตยาสูตรเดี่ยว 4 ราย 10 ตำรับ และผลิตยาสูตรผสม 63 ราย 224 ตำรับ
จะเห็นได้ว่าซูโดอีเฟดรีน เป็นยาที่มีประโยชน์และใช้มาก แต่ปัจจุบันถูกนำไปเป็นสารตั้งต้นผลิตยาบ้า ถึงแม้นจะมีการกวดขันทั้งการปราบปราม ควบคุมสารตั้งต้น ล่าสุด 21ก.ค. นพ.พงศ์พันธ์ วงศ์มณี รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่ประชุมกรรมการยามีมติให้ปรับสถานะยาแก้หวัดชนิดเม็ด/แคปซูล ที่มีส่วนผสมของ ซูโดอีเฟดรีน 3 สูตร ได้แก่
· สูตร Pseudoephedrine และ Triprolidine
· สูตร Pseudoephedrine และBrompheniramine และ
· สูตร Pseudoephedrine และ Chlorpheniramine
จากยาอันตรายให้เป็นยาควบคุมพิเศษ โดยมีเงื่อนไขให้จำหน่ายได้เฉพาะในสถานพยาบาลของรัฐและ สถานพยาบาลเอกชนประเภทรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน เพื่อควบคุมสถานการณ์ปัญหาดังกล่าว

แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 21 กค. 2554
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
แหล่งข้อมูล และภาพประกอบ อ้างอิงและตรวจสอบ มาจาก
Laurence L Brunton, ed (2006). Goodman & Gilman's The Pharmacological Basis of Therapeutics (11th ed.). New York: McGraw-Hill Medical Publishing Division. ISBN 0-07-142280-3.
Popat N. Patil, A. Tye and J.B. LaPidus A pharmacological study of the ephedrine isomers JPET May 1965 vol. 148, no. 2, pp. 158-168.
Gayle Nicholas Scott, Pharm.D., BCPS, ELS, Alternatives to Pseudoephedrine
, http://www.sportpharm.com/pdfs/Alternatives_Pseudoephedrine-1005.pdf
Methamphetamine Abuse and Pseudoephedrine, Consumer Healthcare Products Association., http://www.chpa-info.org/governmentaffairs/Meth_Abuse_PSE.aspx
Substitution of phenylephrine for pseudoephedrine as a nasal decongeststant. An illogical way to control methamphetamine abuse Br J Clin Pharmacol. 2007 January; 63(1): 10–14.
Published online 2006 November 20, Journal compilation © 2006 Blackwell Publishing Inc
The Effects of Phenylephrine Compared With Those of Placebo and Pseudoephedrine on Nasal Congestion in Subjects With Seasonal Allergic Rhinitis (SAR)(P04579), http://clinicaltrials.gov/ct2/show/NCT00276016, http://clinicaltrials.gov/ct2/show/NCT00276016
Pseudoephedrine vs. Phenylephrine?, drugs.com, http://www.drugs.com/answers/pseudoephedrine-vs-phenylephrine-166721.html
Pseudoephedrine Side Effects,
http://www.pseudoephedrinesideeffects.com/phenylephrine-vs-pseudoephedrine.html
นพ.สมศักดิ์ หวานกิจเจริญ, ไม่ตกยุค..มารู้จัก ซูโดเอฟริดีน (PseudoEphedrine) กันเถอะ
Posted by BangkokHospital , http://www.oknation.net/blog/bangkokhospital/2007/03/21/entry-2
ซูโดอีเฟดรีน คืออะไร? ศูยน์วิทยบริการ http://elib.fda.moph.go.th/library/default.asp?page2=subdetail&id_L1=27&id_L2=27761&id_L3=3025
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค, ยาแก้ไข้หวัด, http://elib.fda.moph.go.th/elib/cgi-bin/opacexe.exe?op=dsp&wa=D39A444&bid=33954&qst=@13706=1&db=Jindex&pat=Pseudoephedrine&cat=gen&skin=u&lpp=20&catop=&scid=zzz
หนังสือสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ที่สามารถนำไปใช้ผลิตยาเสพติดที่ควรเฝ้าระวัง, กองควบคุมวัตถุเสพติด ,http://www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/addict/pdf/massฯ.pdf
มาตรการควบคุมวัตถุดิบ Pseudoephedrine ที่เป็นโควต้าผลิตยาหรือนำเข้าเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ ประจำปี พ.ศ.2554 กองควบคุมวัตถุเสพติด , update 30/05/2554, http://www.thaifda.com/narcotic/
เอกสารสําหรับรับฟังความเห็นผู้เกี่ยวข้องกรณี : การเปลี่ยนประเภทยาแก้หวัดชนิดเม็ด/แคปซลู สตู รผสม Pseudoephdrine จากยาอันตราย ให้เป็นยาควบคุมพิเศษที่มีเงอื่ นไขให้จําหนา่ ยได้เฉพาะในสถานพยาบาลของรัฐ และสถานพยาบาลเอกชนที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน, http://wwwapp1.fda.moph.go.th/drug/zone_service/files/สาระสำคัญ.pdf
Thailand Drug Problem II (ATS) , สถานการณ์ยาเสพติดในประเทศไทย  , http://www1.bangkokvoice.com/blogs/200901082233242313/entry/142

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น