วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

ปัจจัยที่ทำให้ร้าน 7-11 เติบโต การการบริหารพื้นที่จัดวางสินค้า (Shelf + Product Management) อย่างยอดเยี่ยม


ถึงเดือนนี้ ทราบไหมว่าร้านสะดวกซื้อทั่วประเทศ มีกี่ร้าน

11,525 คือคำตอบ ในนี้เป็นร้าน 7-11 ถึง 6,218 สาขาทั่วประเทศ

อยากทราบอีกหรือไม่ว่า อะไรคือ Key Success Factors ที่ทำให้ร้านอิ่มสะดวกนี้เติบโตอย่างรวดเร็วจนแซงคู่แข่งเบอร์สองไม่เห็นฝุ่น 

เรามีสรุปบรรยายหลักสูตรพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านยารุ่น 1 วันที่ 24 กรกฎาคม 2554 จากคุณภาณุวัชร จงโสตถิฉัตร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ที่ให้เกี่ยรตืมาเปิดเผยจนถึงแก่นของปัจจัยแห่งความสำเร็จด้าน operation ในการการบริหารพื้นที่จัดวางสินค้า (Shelf + Product Management) และการเปิดร้านค้าและการบริหารสินค้า

 
  • ธุรกิจค้าปลีกในยุคปี 2000 เริ่มเน้นการบริการมากขึ้น นอกเหนือจากสินค้าแล้วผู้บริโภคยังต้องการคุณภาพและบริการรวมถึงบริการหลังการขายด้วย โดยมองว่าเงินที่จ่ายออกไปในจำนวนเท่ากัน แต่ผู้บริโภคต้องการคุณภาพและบริการที่ดีกว่า
  • ปัจจัย 2 ประการในการบริหารธุรกิจค้าปลีกคือ 1)ทำเลและ 2)โอเปอเรชั่น
ลักษณะทำเล
  • อาคารตึกแถว ร้านยามักเป็นลักษณะนี้
  • พื้นที่เปล่า ไม่ค่อยพบทำเป็นร้านยา
  • ออฟฟิศ สำนักงาน
  • ห้างสรรพสินค้า
  • คอนโดมิเนียม ปัจจุบันตึกแถวค่อยๆ หายไปและกลายเป็นคอนโดมิเนียมมากขึ้น นั่นคือโอกาสในการมองหาทำเล
  • รถเคลื่อนที่
  • ซุ้ม ให้มองทำเลเป็นตัวตั้ง เกี่ยงทำเลไม่เกี่ยงขนาดพื้นที่ เพราะถ้าทำเลดีแม้ว่าจะขนาดเล็กแต่สามารถทำยอดขายได้มากกว่าร้านที่ขนาดใหญ่กว่า เช่น BTS ที่สยามมีขนาดพื้นที่ 22 ตารางเมตรแต่มียอดขายกว่าแสนบาท/วัน ที่สำคัญคือถ้าพื้นที่ใหญ่ขึ้นเช่นขนาดสองคูหาแถวสีลมจะมีต้นทุนค่าเช่าสูงถึง 500,000 บาท/เดือน ไม่รวมแป๊ะเจี๊ยะ
เวลาเปลี่ยนไป จุดที่เคยเป็นทำเลดีอาจจะเปลี่ยน เช่นบริเวณใกล้เคียงมีถนนตัดผ่าน ดังนั้นธุรกิจต้องปรับตัวนั่นคือต้อง relocate
  • กลุ่มลูกค้า ต้องรู้ว่าลูกค้าเป็นใคร บริเวณนั้นมีปริมาณคนเดินวันละเท่าใด เพื่อหาสินค้าตอบสนองลูกค้า เนื่องจากกำลังซื้อที่ต่างกัน เกรดยาที่จะนำมาเสนอขายลูกค้าย่อมต่างกัน
  • ที่พักอาศัย ตลาด ชุมชนหมู่บ้านหรือชุมชนตึกแถว เป็นตัวบอกจำนวนคน
  • สถานศึกษา นักศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชนกับมหาวิทยาลัยภาครัฐ หรือสถาบันราชภัฎมีกำลังซื้อไม่เท่ากัน
  • สำนักงาน พนักงานย่านสีลมกับดาวคะนองมีฐานเงินเดือนต่างกัน กำลังซื้อต่างกัน
  • โรงงาน เป็นโรงงานขนาดใหญ่ กลางหรือเล็ก
  • โรงพยาบาล คนไข้โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ต้องการยาคุณภาพสูงราคาแพงกว่าคนไข้โรงพยาบาลรัฐ
  • สถานที่ท่องเที่ยว เช่นตามภูเขา ทะเล ต้องมียาประเภทฉุกเฉินเตรียมไว้ให้ลูกค้า
  • สถานบันเทิง ร้านย่าน RCA ย่านรัชดาจะขายถุงยางได้ดีมากช่วงเที่ยงคืนถึงตีสอง
  • สถานีขนส่ง/จุดต่อรถ มีวินมอเตอร์ไซด์หรือไม่
  • คู่แข่ง บางพื้นที่มีร้านยา 3-4 ร้านใกล้ๆ กัน ถ้าแข่งกันด้วยราคา ตายเร็วขึ้น
ถ้าไม่มีเครื่องบันทึกยอดขายแต่ใช้ความรู้สึกว่าสินค้าใดขายดีไม่ดีอาจจะทำให้หลงทางได้

ประเภทลูกค้า

  • เพศ ต้องรู้ว่าลูกค้าประจำและลูกค้าจรเป็นเพศใดจำนวนเท่าใด เพื่อการจัดเตรียมสินค้า
  • อายุ คนอายุเท่าใดซื้อยาชนิดใด
  • อาชีพ เป็นตัวบอกกำลังซื้อ
  • รายได้ รายได้ของประชากรในพื้นที่นั้นๆ ต้องรู้ว่าร้านเรากินรัศมีลูกค้าไปกี่ตารางเมตร เช่นรอบนอกกินรัศมี 2 ตารางกิโลเมตร แต่ในเมืองจะได้ไม่มากเท่านอกเมือง และดูว่าเราจะเบ่งพื้นที่ออกไปได้อีกเท่าใด
การออกแบบร้านค้า คือทำอย่างไรให้ลูกค้าเข้ามาที่ร้านเราร้านเดียว ต้องสร้างความแตกต่าง ควรคำนึงถึง
  • การออกแบบร้านค้าภายนอก เพื่อดึงดูดลูกค้าเข้าร้าน
-       ป้าย ทุกตัวมีความหมาย
  • ป้ายยาวหน้าร้าน ไว้ดึงดูดลูกค้าฝั่งตรงข้ามและลูกค้ารอบๆ ร้านรัศมี 200-300 ตารางเมตร คือเพื่อจับคนเดิน
  • ป้ายแขวน ไว้จับลูกค้าไกล ระยะ 500 ตารางเมตรเพื่อให้ลูกค้าได้เห็นและชลอรถจอด ความสูงของป้ายไม่เกิน 15 เมตรจากพื้น ถ้าสูงกว่านี้ระยะประทับตายิ่งไกลยิ่งมองไม่เห็น ถ้าไม่มีป้ายแขวนต้องตั้งป้าย ดูความแข็งแรงทนลมด้วยกันป้ายล้ม การติดตั้งป้ายต้องดูดีๆ เพราะอาจจะโดนคู่แข่งซ้อนป้าย
-       สี ภายนอกตึกเป็นสิ่งสำคัญ เช่นท็อปเจริญใช้สีฟ้าขาวทาทั้งตึกให้ลูกค้าจดจำได้
-       ประตู ทำอย่างไรให้ลูกค้ารู้สึกว่าเดินเข้าร้านได้อย่างสะดวกไม่ติดขัดอะไร เช่นประตูเลื่อน
-       ชื่อร้าน ทำอย่างไรให้ชื่อเรียกง่ายติดปาก ถ้าเรียกยากบางครั้งลูกค้าไม่กล้าออกเสียงเรียก
-       อื่นๆ เช่นแสงแดด เพราะว่าแดดบ่ายจะร้อนกว่าแดดเช้า คนเดินจะหลบไปเดินอีกฝั่งถนนแทน

การออกแบบร้านค้าภายใน เพื่อดึงดูดลูกค้าซื้อสินค้า

-       การวางผังรวม เป็นการมองภาพรวมของทั้งร้าน ถ้าเป็น chain store ต้องให้แต่ละสาขาจัดเหมือนกันอย่างน้อย 80%
-       ทางเดิน ที่ดีควรจะประมาณ 1 เมตร ให้โล่งโปร่งสบาย ถ้าวางของมากไปลูกค้าจะอึดอัดและเดินออก ทำให้เดินไปไม่ถึงสินค้าด้านในและด้านหลังของร้าน
-       พื้น ทำอย่างไรให้เดินสะดวก ถ้าพื้นแตกต้องซ่อมเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของร้าน
-       รูปแบบชั้นวางสินค้า
-       ฝ้าเพดาน ถ้าฝ้าต่ำเช่น 2.5 เมตร แม้ว่าจะประหยัดแอร์แต่ทำให้อึดอัด ถ้าสูงกว่านี้เช่น 3 เมตรจะสูงไปทำให้ดูไม่สมดุลกับชั้นวางสินค้า ความสูงที่ดีสุดคือ 2.8 เมตร
-       แสง ถ้าสลัวไปดูไม่ดี สว่างไปจะจ้าแสบตา
-       สี สีของผนังและสีของชั้นให้เหมาะกับยา ซึ่งส่วนใหญ่ยาจะเป็นกล่องสีขาว
-       เสียงและกลิ่น บางแห่งมีเสียงโฆษณาระหว่างทางเดิน
-       อุณหภูมิ ภายในร้าน 7-ELEVEN อยู่ที่ 25องศาเซลเซียส
-       CCTV คือกล้องวงจรปิดในร้าน ไว้จับโจรใน จับโจรนอก และดูพฤติกรรมลูกค้า พบว่าเป็นโจรใน 80%

  • การสัญจร
-       ถนนทางเดียววันเวย์ ถ้าเปิดร้านฝั่งขวาไปไม่รอดเพราะรถจอดด้านซ้าย ในทางกลับกันถ้าร้านอยู่ฝั่งซ้ายแต่เป็นวันเวย์แบบจอดไม่ได้ ร้านก็เป็นเพียงทางผ่าน
-       ถนนสองทาง ดูว่าจอดรถได้หรือไม่ ดูความหนาแน่นจราจรด้วย เป็นขาวแดงหรือมีจราจรเฝ้าอยู่หรือไม่ บางครั้งร้านอยู่สี่แยก อยู่หัวมุม เห็นชัดดูดีแต่รถจอดไม่ได้ ลูกค้าได้แต่มองข้าม
-       ขนาดถนน ถ้าถนน 16 เลน ลูกค้าฝั่งโน้นไม่ข้ามมาซื้อแน่ ถ้าถนน 8 เลนแต่ไม่มีสะพานลอยก็หมดสิทธิ์เช่นกัน ทุกอย่างต้องคำนึงว่าลูกค้าสะดวกหรือไม่
  • กิจกรรม
-       ตลาดนัด บริเวณร้านเรามีตลาดนัดหรือไม่ ขนาดใหญ่หรือเล็ก ดูว่ามีอาทิตย์ละกี่วัน เวลาใดบ้าง มีกี่แผง ละแวกนั้นมีตลาดนัดอีกหรือไม่ ลักษณะเป็นอย่างไร ถ้าเป็นตลาดนัดแบบมีเต๊นท์ใหญ่ๆ สวยๆ งามๆ พ่อค้าแม่ค้าไม่ชอบ
-       ตลาดโต้รุ่ง
-       ตลาดสด
-       จุดต่อรถ มีวินรถตู้หรือไม่ หรือเป็นจุดต่อรถไปต่างจังหวัด
-       อื่นๆ

แค่อินโทรนะครับ ตอนต่อไปมาดูว่า การบริหารพื้นที่จัดวางสินค้า (Shelf + Product Management) เรามาดูว่าคุณภาณุวัชร จงโสตถิฉัตรจะเล่าถึงกลเม็ด คัด ตัด จัด สั่ง อย่างไรให้ร้าน 7-11 มีของใหม่สดเสมอไม่ขาดขายดี้ ขายดี และในเวลาเดียวกันก้อไม่เหลือบานเบอะจนกลายเป็นยอดสูญเสียจนกำไรหด 
สรุปบรรยายหลักสูตรพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านยารุ่น 1 วันที่ 24 กรกฎาคม 2554
วิทยากร อาจารย์ภาณุวัชร จงโสตถิฉัตร
การบริหารพื้นที่จัดวางสินค้า (Shelf + Product Management)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น