วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

คู่มือลดความอ้วน ตอนที่ 1: ตัวเราอ้วนจริงๆหรือเปล่า โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล



 เธอนี่อ้วนจัง”  ถ้ามีเพื่อนๆมาทักทายเราเช่นนี้ เราคงไม่มีความสุข เพราะค่านิยมของบ้านเราทุกวันนี้ความอ้วนกลายเป็นตัวตลก เป็นเรื่องที่น่าอายของสาวๆหนุ่มๆ คุณเลยได้พบว่ามีสินค้าและบริการหลากหลายที่จะมาบำบัดอาการอ้วนนี้ ทั้งที่ค่านิยมความอ้วนนี้จะแตกต่างกันไปในหลากหลายประเทศและยุคสมัย
แต่ในความจริงทางการแพทย์นั้นเรามองว่าอ้วน” เป็นโรคที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่พบมากขึ้นในเมืองไทยของเรา เนื่องมาจากจะมีโรคภัยมากมายที่เกิดตามมาจากความอ้วนที่มากเกินไป
แต่ผลจากสื่อต่างๆที่โหมกระหน่ำให้ความอ้วนเป็นแพะรับบาป มีผลทำให้คุณๆที่มีอันจะกินเยอะไปซักหน่อย พอเอามือไปแตะโดนไขมันที่สะสมไว้ที่หน้าท้อง ต้นแขน ต้นขา ก็รู้สึกไปว่าเรานี่เป็นสมาชิกชมรมคนอ้วนไปซะแล้ว วันนี้เราจะมาล้างความกังวลให้คุณได้สบายใจมากขึ้น ไม่ต้องมากังวล เพราะความจริงแล้วที่พิสูจน์ในทางวิชาการ เขาจะใช้เกณฑ์ในการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอ้วนหรือไม่ ที่รับรองโดยองค์การอนามัยโลกที่ใช้ดัชนีมวลกายหรือ Body Mass Index (BMI) ลองติดตามดูแล้วคุณจะได้วิธีไปคำนวณหาค่า BMI ของตนเอง และจะได้รู้ความจริงที่แน่ชัดเสียทีว่า น้ำหนักตัวของคุณอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมแล้วหรือไม่ หรือถ้ามากเกินไปจริงๆแล้ว จะได้ไปหาทางลดน้ำหนักอย่างปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยงของโรคร้ายที่อาจจะมาเคาะประตูบ้านของคุณได้ในที่สุด
ดัชนีมวลกาย Body Mass Index (BMI) คืออะไร ได้มาจากไหน
หลักที่ใช้วัดความอ้วนโดยและเป็นมาตรฐานยอมรับกันทั่วไปคือ ค่าดัชนีมวลกาย ได้จากการนำน้ำหนักตัวและส่วนสูงมาคำนวณ เพื่อประเมินหาส่วนของไขมันที่แฝงในร่างกาย ค่านี้ได้มาจากน้ำหนักตัวหน่วยเป็นกิโลกรัม หารด้วยความสูงหน่วยเป็นตารางเมตร
ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนักตัว (หน่วยเป็นกิโลกรัม)
                         ความสูง (หน่วยเป็นเมตร ยกกำลังสอง2)
อย่างงั้น เช้านี้คุณๆที่ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงมาแล้ว เอาเครื่องคิดเลขมากดดู หาค่าดังกล่าวของตัวคุณเองกันดีกว่า จากการวิจัยในกลุ่มคนเอเชียที่มีขนาดตัวพอๆกับคนไทยเราพบว่า เมื่อคำนวณแล้วค่าน้ำหนักตัวของคนปกตินั้น BMI ควรจะอยู่ในช่วง 18.5-24.9 และหากขยับไปมากกว่า 25 ถือว่ามีน้ำหนักตัวมากเกิน (over-weight) และหากเกินไปถึงมากกว่า 30 ก็วินิจฉัยได้แล้วครับว่าคุณมีโอกาสเป็น "โรคอ้วน" (obesity)
อย่างไรก็ตามการใช้ BMI ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง เนื่องจากไม่ได้วัดปริมาณไขมันที่สะสมในร่างกายโดยตรง แต่เป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปเพราะใช้ง่าย น่าเชื่อถือได้
หากคุณๆมีค่าตัวเลข BMI อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจริงๆแล้วละก้อ ขอความกรุณาติดตามบทความต่อไปจะมาเฉลยถึงโรคอ้วนจะก่อให้เกิดปัญหาอะไรบ้าง ที่ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อเรื่องของความสวยความงามเท่านั้น แต่ยังเป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้ายต่างๆ ตามมาได้อีกนะครับ
แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 19 กย. 2554  
E-mail: utaisuk@gmail.com Facebook: “UTAI SUKVIWATSIRIKUL 

ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้นผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ


  1.  Obesity, MedlinePlus, http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/obesity.html
  2. ·         The worldwide obesity epidemic, PT James, R Leach, E Kalamara, M Shayeghi - Obesity, 2001
  3. ·         Obesity: Preventing and Managing the Global Epidemic, Report on a WHO Consultation, Technical Report Series, No 894
  4. ·         Aree Kantachuvessiri, MD, Faculty of Public Health, Mahidol University, Obesity in Thailand
  5. ·         George A. Bray and Frank L. Greenway , Current and Potential Drugs for Treatment of Obesity, Louisiana State University, Pennington Biomedical Research Center, Baton Rouge, Louisiana 70808-4124, Endocrine Reviews 20 (6): 805-875
  6. ·         Proietto J, Fam BC, Ainslie DA, Thorburn AW., Department of Medicine, University of Melbourne, Royal Melbourne Hospital, Novel anti-obesity drugs, Expert Opin Investig Drugs 2000 Jun; 9(6):1317-26
  7. ·         Susan Z. Yanovski, M.D., and Jack A. Yanovski, M.D., Ph.D. Obesity, The New England Journal of Medicine, Volume 346:591-602, Febuary 21,2002
  8. ·         ภก.ผศ.วันชัย     ตรียะประเสริฐการใช้ยาลดนํ้าหนัก / การใช้ยาลดความอ้วน รายการวิทยุจุฬาฯ   คลินิก 101.5  MHz     ออกอากาศ  วันศุกร์ที 14   เมษายน   2543
  9. ·         รศ.นพ.สันต์ หัตถีรัตน์ ความอ้วนผอมของคนไทย หมอชาวบ้าน เล่ม: 59 เดือน-ปี: 03/1984
  10. ·         รศ.นพ.ดำรง กิจกุศล ลดความอ้วน หมอชาวบ้าน เล่ม:93 เดือน-ปี: 01/1987
  11. ·         นิตยสาร "ฉลาดซื้อ" ฉบับที่ 95 เขียนโดย กองบรรณาธิการฉลาดซื้อ
  12. ภาพประกอบ :http://noshrinkingviola.files.wordpress.com/2011/02/fat-chick_021.jpg

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ได้ดูอ้วนมาก แต่เริ่มมีไขมันสะสมนี่สิคะ กลุ้มจายยยยย - -"

    ตอบลบ
  2. แต่งงานครับ ผอมแน่ๆ

    ตอบลบ