วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

HYALURONIC ACID ช่วยลดริ้วรอยแก่ย่นได้อย่างไร ?

เปิดร้านยาที่สุขุมวิทวันแรกๆ คุณณีบ้านอยู่พร้อมพงษ์ได้แวะมาสอบถามว่า  Hyaluronic acid มันคืออะไร? อ่านมาจากนิตยสารว่ามันช่วยลดริ้วรอย บรรเทาการเหี่ยวย่นของร่องลึกบนใบหน้า จริงหรือไม่คะ? มาฟังคำตอบจากเภสัชกรกัน

กรดไฮยาลูโรนิก เป็นสารที่ใช้กันมานานกว่า 10 ปี และนิยมใช้ในเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ในการดูแลผิว   ปัจจุบันนี้ก็ยังคงได้รับความนิยมมาตลอด เป็นเพราะว่ามันออกฤทธิ์ได้ผลดี โดยเฉพาะช่วยในการลดริ้วรอย       

Hyaluronic acid นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการแพทย์โดยเฉพาะทางด้านความงาม (ทั้งในรูปครีมทาและยาฉีด) และในธุรกิจเครื่องสำอางเอง เราก็จะพบเห็นได้บ่อยมากในผลิตภัณฑ์กลุ่มลดริ้วรอย ด้วยความสามารถในการซ่อมแซมเซลล์ผิวที่ถูกทำลาย และเร่งขบวนการหายของแผล ซึ่งทั้งสองประเด็นนี้ ถูกนำมาใช้เป็นจุดขายหลักของผลิตภัณฑ์แบรนด์เนมหลายตัว และรวมไปถึงเวชสำอางที่เป็นแบรนด์เนมของแพทย์ โดยใช้เป็นสารออกฤทธิ์ที่สำคัญร่วมกับโคเอ็นไซม์-คิวเท็น (Coenzyme Q10), วิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระ

      
 ร่างกายคนเราสามารถสร้าง Hyaluronic acid ได้เอง โดยพบมากที่ผิวหนัง และปัจจุบันก็มีการผลิตขึ้นมาขายในเชิงพาณิชย์โดยผ่านขบวนการหมักทางชีวภาพ 

       Hyaluronic acid มีลักษณะหนืดข้น ละลายน้ำได้และมีคุณสมบัติอุ้มน้ำได้ดีมาก   แนะนำให้ใส่ในผลิตภัณฑ์บำรุงผิว (ทั้งครีมบำรุง, โลชั่น, สเปรย์, ลิปสติก อื่นๆ) ที่ความเข้มข้น 0.25% ถึง 2.00% 

       นอกเหนือจากคุณสมบัติในการอุ้มน้ำได้ดีแล้ว มันยังช่วยลดการสร้างอนุมูลอิสระและช่วยกรองรังสี UV ได้อีกด้วย   ดังนั้นจะเห็นได้ว่า โดยลำพังแล้วกรดไฮยาลูโรนิกก็จัดได้ว่า เป็นสารที่ช่วยชะลอความแก่ที่มีประสิทธิภาพดีตัวหนึ่ง   จึงมีราคาค่อนข้างแพงพอควร และราคาของผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายก็ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของปริมาณกรดไฮยาลูโรนิกที่ใช้

       เครื่องสำอางเอสเต้ ลอเดอร์ (Este่e Lauder) เป็นรายแรกที่ได้ออกไลน์สินค้าชื่อ เพอร์เฟ็กชั่นนิสต์ (Perfectionist) หลังจากที่ได้ทุ่มเทเงินจำนวนมหาศาลในการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ขึ้นมา ซึ่งทางเอสเต้เองก็อ้างว่า ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้จะช่วยให้ผิวมีความยืดหยุ่นและลดริ้วรอยได้ เมื่อใช้สม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน

 
       หลังจากที่เอสเต้ได้เปิดตัวไลน์สินค้า เพอร์เฟ็กชั่นนิสต์ขึ้นมา   สินค้าในกลุ่มนี้ก็มียอดขายเข้ามาจำนวนมาก ซึ่งสารสำคัญที่ช่วยให้สินค้าในไลน์นี้ของเอสเต้ประสบความสำเร็จก็คือ Hyaluronic acid นั่นเอง
       ปัจจุบัน มีเครื่องสำอางหลายชนิดที่ได้เลียนแบบเครื่องสำอางในชุดเพอร์เฟ็กชั่นนิสต์ของเอสเต้ตัวนี้   รวมไปถึงสินค้าที่เป็นแบรนด์ของแพทย์ก็เช่นกัน ซึ่งมีทั้งในรูปของครีมทาและยาฉีดก็มี 
       

แหล่งข้อมูล
HYALURONIC ACID มีผลอย่างไรต่อริ้วรอย?

HTTP://BRECOSMETICLAB.COM/NEWSLET/51/04_APR/013_HYA.HTML

รูปประกอบจาก

http://redcatyellowpumpkin.wordpress.com/2011/03/19/snsd-for-dior-cosmetic-diorsnow/sunny-jessica-dior-snow-girls-generation-snsd-20070758-597-336/

ไฮยาลูรอนิค Hyaluronic Acid เหมาะสำหรับอายุช่วงไหน

ต่อจากตอนที่แล้ว หากเราเกิดมีความหย่อนยานของผิว ริ้วรอยที่ปราฏขึ้น หรือผิวที่ขาดความชุ่มชื่น ยังมีสารความงามที่ชื่อว่า กรดไฮยาลูรอนิคที่ช่วยได้
มาดูกันว่ามันออกฤทธิ์ชะลอความชราได้อย่างไร และเหมาะกับผิวของเราหรือไม่?

ไฮยาลูรอนิค Hyaluronic Acid คืออะไรกันนะ?

คือกรดที่ร่างกายของเราผลิตขึ้นมา มีอยู่ทั่วไปตามร่างกาย และโดยเฉพาะบริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างอวัยวะและเซลล์ เพื่อเพิ่มความต้านทานต่อการเสียดสีและเพิ่มความยืดหยุ่น เช่นจุดเชื่อมต่อบริเวณหัวเข่า ถ้าขาดสารตัวนี้ จะมีผลทำให้การเดินจะเจ็บปวดเพราะว่าไม่มีตัวช่วยลดการเสียดสีระหว่างกระดูกข้อต่อนั่นเอง, และมันยังถูกใช้ในวงการแพทย์อีกด้วย เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อต่ออีกด้วย

ประโยชน์ของ กรดไฮยาลูรอนิค ที่มีต่อผิวหน้าแต่สำหรับผิวหน้าของเรานั้น กรดตัวนี้จะถูกผลิตขึ้นและถูกหล่อเลี้ยงจากบริเวณผิวหนังชั้น dermis (ผิวชั้นล่าง) และกระจายไปถึงผิวหนังชั้น epidermis (ผิวหนังชั้นบน) บทบาทสำคัญที่เราควรตระหนักก็คือ มันจะช่วยให้ผิวหนังสามารถเก็บกักความชุ่มชื่นได้มากกว่าปรกติหลายเท่าเลยละ (โดยที่ไม่เพิ่มความมันแบบที่ไม่ดี sebum บนผิวชั้นนอก ดังนั้นคนที่มีผิวมันก็สบายใจขึ้นมาบ้าง) เมื่อผิวมีความชุ่มชื่นที่ดีเพียงพอ ผิวหน้าก็จะดูอ่อนกว่าเยาว์ ดูเนียนเรียบขึ้น ริ้วรอยลดลง มีความยืดหยุ่น นุ่มนวล และดูมีชีวิตชีวา

กรดไฮยาลูรอนิคยังช่วยให้รักษาอาการบาดเจ็บของเซลล์ผิวหนังได้เร็วกว่าเดิม 80% อีกด้วย นั่นหมายความว่าผิวสามารถที่จะสมานและฟื้นฟูตัวเองได้เร็วขึ้น ผลดีอีกข้อนั่นก็คือการช่วยทำให้ผิวดูเต่งตึงขึ้นด้วย (plump effect) และโดยปรกติการไหลเวียนของเลือดจะเป็นตัวนำของเสียออกจากเซลล์ตามธรรมชาติ แต่สำหรับเซลล์ผิวที่ไม่ได้ติดต่อกับเส้นเลือดโดยตรง กรดไฮยาลูรอนิคนั้นช่วยเพิ่มการนำสารอาหารเข้าสู่เซลล์ผิวในส่วนนั้น และยังช่วยกำจัดของเสียออกจากเซลล์เหล่านั้น

ไฮยาลูรอนิค Hyaluronic Acid เหมาะสำหรับอายุช่วงไหน? 

แต่เมื่ออายุมากขึ้น ตั้งแต่ 30-40 ขึ้นไป การผลิตกรดไฮยาลูรอนิคตามธรรมชาติก็ลดน้อยลงไปด้วยครับ ผลก็คือผิวที่จะสูญเสียความชุ่มชื่น ผิวแห้งขึ้น และขาดความยืดหยุ่น สิ่งที่จะตามมาไม่ช้านั่นก็คือ ริ้วรอยที่จะเพิ่มมากขึ้น และความแก่ชราก็จะปรากฏชัดขึ้นนั่นเอง ดังนั้นการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีส่วนผสมของกรดไฮยาลูรอนิคสำหรับผู้ที่มีอายุมากขึ้นหรือผู้ที่มีผิวแห้ง ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง นอกเหนือไปจากการบำรุงและเสริมสร้างแต่เพียง collagen – elastin และลดริ้วรอยแค่พื้นผิวภายนอกตามปรกติ

แหล่งข้อมูล

กรดไฮยาลูรอนิค Hyaluronic Acid หรือ HA เพื่อการบำรุงผิว และลดเลือนริ้วรอย
http://www.cleoface.com/2010-09-21-10-16-37/2010-06-22-05-06-59/75---hyaluronic-acid--.html
ภาพประกอบจาก
http://www.dektube.com/action/viewphoto/14494/___________Fan_Bing_Bing/

ลงทุน เปิดร้านยา โดยเภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ก่อนลงทุนในกิจการใดๆก็ตามไม่ว่าจะเป็นเปิดร้านกาแฟ ร้านซักรีด สำหรับนักลงทุนที่ชาญฉลาดแล้ว คุณคงต้องลงมือทำการบ้านอย่างหนัก สำหรับการเปิดร้านยานั้น หากอยากจะเปิดให้ไม่เจ้ง มีแนวทางในการลงทุน ในมุมมองของเภสัชกรที่เปิดร้านยามาก่อน เราได้เตรียมข้อมูลเรื่องแผนการลงทุนเปิดร้านยาให้แล้ว 

ใน Excel File ที่แนบมาด้วย ในการวางแผนเปิดร้าน เราต้องพิจารณาตั้งแต่
  • สภาพพื้นที่ร้านยาที่จะไปเปิด
  • กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
  • คู่แข่ง จุดแข็งจุดอ่อน ฐานลูกค้า รูปแบบการขายสินค้า ชนิดสินค้า ราคา กำไรขั้นต้น เจ้าของและเภสัชกร
  • แผนธุรกิจและนโยบายที่เรานำมาเลือกใช้
    ซึ่งจะนำมาทำเป็นตารางการคำนวน ที่เริ่มตั้งแต่ เงินลงทุนเบื้องต้นทั้งในส่วนการเช่า ปรับพื้นที่ ค่าอุปกรณ์ ค่าจ้างพนักงาน รวมไปถึงการประเมินรายได้ กำไรที่คาดว่าจะได้ 
  • ซึ่งทั้งหมดจะนำมาคำนวนเป็น ประเมินผลของการลงทุน ว่าจะคืนทุนในเวลาเท่าใด ผลการลงทุนคุ้มกับเงินเริ่มต้น หรือไม่
ตามไป DOWNLOAD ได้ตาม link ที่แนบมาด้วยเลยครับ
http://www.docstoc.com/docs/109728514/?key=YjVjY2MwODQt&pass=NmU0Ni00NDFm

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

HYALURONIC ACID ช่วยลดริ้วรอยแก่ย่นได้อย่างไร ?

เปิดร้านยาที่สุขุมวิทวันแรกๆ คุณณีบ้านอยู่พร้อมพงษ์ได้แวะมาสอบถามว่า  Hyaluronic acid มันคืออะไร? อ่านมาจากนิตยสารว่ามันช่วยลดริ้วรอย บรรเทาการเหี่ยวย่นของร่องลึกบนใบหน้า จริงหรือไม่คะ? มาฟังคำตอบจากเภสัชกรกัน


 กรดไฮยาลูโรนิก เป็นสารที่ใช้กันมานานกว่า 10 ปี และนิยมใช้ในเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ในการดูแลผิว   ปัจจุบันนี้ก็ยังคงได้รับความนิยมมาตลอด เป็นเพราะว่ามันออกฤทธิ์ได้ผลดี โดยเฉพาะช่วยในการลดริ้วรอย
       


Hyaluronic acid นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการแพทย์โดยเฉพาะทางด้านความงาม (ทั้งในรูปครีมทาและยาฉีด) และในธุรกิจเครื่องสำอางเอง เราก็จะพบเห็นได้บ่อยมากในผลิตภัณฑ์กลุ่มลดริ้วรอย ด้วยความสามารถในการซ่อมแซมเซลล์ผิวที่ถูกทำลาย และเร่งขบวนการหายของแผล ซึ่งทั้งสองประเด็นนี้ ถูกนำมาใช้เป็นจุดขายหลักของผลิตภัณฑ์แบรนด์เนมหลายตัว และรวมไปถึงเวชสำอางที่เป็นแบรนด์เนมของแพทย์ โดยใช้เป็นสารออกฤทธิ์ที่สำคัญร่วมกับโคเอ็นไซม์-คิวเท็น (Coenzyme Q10), วิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระ

      
 ร่างกายคนเราสามารถสร้าง Hyaluronic acid ได้เอง โดยพบมากที่ผิวหนัง และปัจจุบันก็มีการผลิตขึ้นมาขายในเชิงพาณิชย์โดยผ่านขบวนการหมักทางชีวภาพ

       Hyaluronic acid มีลักษณะหนืดข้น ละลายน้ำได้และมีคุณสมบัติอุ้มน้ำได้ดีมาก   แนะนำให้ใส่ในผลิตภัณฑ์บำรุงผิว (ทั้งครีมบำรุง, โลชั่น, สเปรย์, ลิปสติก อื่นๆ) ที่ความเข้มข้น 0.25% ถึง 2.00%

       นอกเหนือจากคุณสมบัติในการอุ้มน้ำได้ดีแล้ว มันยังช่วยลดการสร้างอนุมูลอิสระและช่วยกรองรังสี UV ได้อีกด้วย   ดังนั้นจะเห็นได้ว่า โดยลำพังแล้วกรดไฮยาลูโรนิกก็จัดได้ว่า เป็นสารที่ช่วยชะลอความแก่ที่มีประสิทธิภาพดีตัวหนึ่ง   จึงมีราคาค่อนข้างแพงพอควร และราคาของผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายก็ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของปริมาณกรดไฮยาลูโรนิกที่ใช้

       เครื่องสำอางเอสเต้ ลอเดอร์ (Este่e Lauder) เป็นรายแรกที่ได้ออกไลน์สินค้าชื่อ เพอร์เฟ็กชั่นนิสต์ (Perfectionist) หลังจากที่ได้ทุ่มเทเงินจำนวนมหาศาลในการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ขึ้นมา ซึ่งทางเอสเต้เองก็อ้างว่า ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้จะช่วยให้ผิวมีความยืดหยุ่นและลดริ้วรอยได้ เมื่อใช้สม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน



       หลังจากที่เอสเต้ได้เปิดตัวไลน์สินค้า เพอร์เฟ็กชั่นนิสต์ขึ้นมา   สินค้าในกลุ่มนี้ก็มียอดขายเข้ามาจำนวนมาก ซึ่งสารสำคัญที่ช่วยให้สินค้าในไลน์นี้ของเอสเต้ประสบความสำเร็จก็คือ Hyaluronic acid นั่นเอง
       ปัจจุบัน มีเครื่องสำอางหลายชนิดที่ได้เลียนแบบเครื่องสำอางในชุดเพอร์เฟ็กชั่นนิสต์ของเอสเต้ตัวนี้   รวมไปถึงสินค้าที่เป็นแบรนด์ของแพทย์ก็เช่นกัน ซึ่งมีทั้งในรูปของครีมทาและยาฉีดก็มี
       

แหล่งข้อมูล
HYALURONIC ACID มีผลอย่างไรต่อริ้วรอย?

http://brecosmeticlab.com/newslet/51/04_apr/013_hya.html

รูปประกอบจาก

http://www.tumblr.com/tagged/snsd-30-day-challenge?before=1295817614

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คู่มือรักษาสิว ตอนที่ 7 การรักษาสิวให้ยุบเร็ว ไม่เกิดซ้ำ และ ไม่เกิดแผลเป็น โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

เมื่อคุณได้รับคำแนะนำในการรักษาสิวกันแล้ว คงอยากรู้แล้วใช่ไหมว่าขบวนการรักษาให้สิวหายสนิทและป้องกันผลข้างเคียงต่างๆตามมานั้นเขาทำกันอย่างไร เรามาติดตามหลักในการรักษาสิวจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คุณมีผิวใสสวยงามตลอดไป
อาการสิวที่เป็นกันมากและสมควรรับการรักษา
โรคสิวเป็นการอักเสบเรื้อรังของท่อรูขนและต่อมไขมันพบได้บ่อยและหายได้เอง มักเริ่มเป็นในระยะวัยรุ่น พบว่ามีปัจจัยต่างๆ มากมายมีผลต่อการเกิดหรือการหายของโรค เมื่อคุณเริ่มเป็นสิวจะสังเกตได้เป็นลักษณะผื่นที่แตกต่างกัน ตั้งแต่เป็นตุ่มเล็กๆ ไม่มีอาการอักเสบจนถึงตุ่มอักเสบ เจ็บเหมือนฝี อาจแยกผื่นของสิวได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ
1. ผื่นสิวไม่อักเสบ (Non-inflammatory lesions)
ลักษณะจะเป็นตุ่ม (palpules) เล็กๆ ซึ่งตรงกลางอาจเป็นสีดำเรียก back head or open หรือ comedone ที่เรียกว่าสิวหัวดำ แต่บางทีอาจเป็นผื่นที่มีสีผิวหนังปกติ เรียก white head or closed comedone หรือสิวหัวขาว
2. ผื่นสิวอักเสบ (Inflammatory lesions)
ลักษณะเป็นได้ตั้งแต่ตุ่มแดง (erythematous palpules) เป็นมากก็มีหนองไหลออกมาเป็นตุ่มหนอง (pustules) แต่ถ้ายังไม่รักษาก่อให้เกิดเป็นตุ่มแดงขนาดใหญ่อักเสบและเจ็บมาก (nodules and nodulocystic lesions) หรือที่เรียกว่าสิวหัวช้างนั่นเอง
การเกิดผื่นสิวทั้ง 2 ชนิดดังกล่าวเป็นขบวนการที่ต่อเนื่องกัน ถ้าเราสามารถที่จะหยุดระยะแรกๆ ของการเกิดผื่นไว้ ก็จะทำให้ไม่มีสิวผื่นอักเสบเกิดตามมาได้
หลักในการรักษาสิว
ทุกครั้งที่คุณได้รับการรักษา เรามีหลักการดูแลให้คนไข้กลับไปมีผิวสวยได้ตามเดิมดังนี้
1. ให้ความรู้แก่ผู้ป่วย
คุณจะได้รับการอธิบายถึงลักษณะและความรุนแรงของสิวที่เป็นอยู่ ตลอดจนสาเหตุประกอบต่างๆที่อาจทำให้อาการของสิวเลวลง เป็นการรักษาทางจิตใจผู้ป่วย เพื่อให้คุณเองเกิดความมั่นใจและลดความวิตกกังวลจากความเข้าใจและการรับรู้ผิดๆ ถูกๆ จากเพื่อนฝูงหรือคำโฆษณาต่างๆ
2. ให้ความมั่นใจว่าสิวที่หน้าจะดีขึ้นได้ 
โดยทั่วไปถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม สิวจะเริ่มดีขึ้นในเวลาประมาณ 2-3 เดือน และจะดีขึ้นมากในเวลา 4-8 เดือน และหลังจากนั้นอาจต้องใช้ยาคุมโรคไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งจนกว่าจะพ้นวัยที่เป็นสิว และที่สำคัญ คือ ผู้ป่วยต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดทั้งในด้านการรับประทานยาและการใช้ยาทา โดยแพทย์จะต้องบอกถึงผลดีและผลข้างเคียงของยาแต่ละตัวให้ผู้ป่วยทราบด้วย
ขบวนการรักษาสิวให้นิ่งสนิท
คนไข้ทุกรายก็อยากได้ผิวสวยให้ผื่นนูนๆหรือสิวอักเสบหายไป ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์สำคัญในการรักษาผื่นอยู่แล้ว เราจะมีขบวนการรักษาดังต่อไปนี้
1. ป้องกันการเกิดของ comedone ที่เป็นต้นเหตุของการอุดตันให้น้อยที่สุด
2. กำจัด comedone ที่เกิดขึ้นแล้ว ถ้ามีแล้วทำอย่างไรให้ก้อนไขมันนี้สลายตัวไป ไม่อุดตัน
3. ลดการผลิตไขมันจากต่อมไขมัน สำหรับน้องๆวัยรุ่นที่มีปริมาณไขมันมาก เราต้องช่วยโดยการหาทางลดให้สมดุลย์
4. ป้องกันการแตกของ comedone ถ้ามีผื่นสิวเกิดเข้าไปแล้ว ต้องช่วยไม่ให้เม็ดไขมันนี้แตกจนเป็นชนวนเพื่อลดการอักเสบให้น้อยที่สุด
5. ถ้ามีการอักเสบของสิว ควรเร่งให้การอักเสบหายเร็วขึ้น
6. รักษาแผลเป็นให้ดูดีขึ้น หากมีรอยแผลไม่ว่าสิวจะแตกเองหรือจากการกระทำ ต้องช่วยคนไข้ให้ผิวกลับสู่สภาพเดิมให้มากที่สุด
เห็นไหมว่าการรักษาสิวที่ดีที่สุดไม่ยากเลย และต้องเริ่มด้วยตัวคุณเอง จากความเข้าใจ ถ้าคุณๆ ใจร้อนอยากทราบคำตอบทุกเรื่องเกี่ยวกับสิว จะตามไปอ่านบทความเกี่ยวกับการรักษาสิวที่ยังเข้มข้น สนุกสนานเหมือนเดิม โดยคลิ้กตามไปที่ link ข้างล่าง หรือจะให้ง่ายก้อ ใช้ google พิมพ์คำว่า อุทัย  สิว คุณก้อสามารถตาสว่างกับทุกคำตอบรักษาสิวให้หายสนิทต่อไป หรือส่งอีเมลล์มาถามที่ utaisuk@gmail.com ยินดีตอบรับทุกท่านครับ
แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 27 ธค. 2554
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
·         รูปประกอบจากอินเตอร์เนท
·         John S. Strauss, MD, Chair of Workgroup, Guidelines of care for acne vulgaris management,4Th International Workshop for the Study of Itch Sanfrancisco California, September 9-11,2007, http://www.aad.org/research/_doc/ClinicalResearch_Acne%20Vulgaris.pdf
·         Lehmann HP, Robinson KA, Andrews JS, Holloway V, Goodman SN. Acne therapy:  Acne therapy: a methodologic review. J Am Acad Dermatol 2002;47:231-40.
·         ACNE, U.S. National Library of Medicine 8600 Rockville Pike, Bethesda, MD 20894 U.S. Department of Health and Human Services National Institutes of Health, http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/acne.html
·         American Academy of Dermatology, ACNE, http://www.skincarephysicians.com/acnenet/acne.html
·         ACNE, Acne Treatment Site, D1 Interactive Media, Inc. - Acne Treatment Products, Forums, & Information Acne, http://www.acne-site.com/
·         Acne.com - Dermatologist advice on Acne, http://www.acne.com/#
·         ACNE, MedicineNet, http://www.medicinenet.com/acne/article.htm
·         Acne Medications, Drugs.com, Data sources include Micromedex™ [Updated 10 September 2010], Cerner Multum™ [Updated 21 September 2010], Wolters Kluwer™ [Updated 2 September 2010] and others.,  http://www.drugs.com/condition/acne.html
·         Prescription treatments for acne, Acne.org - A community organization, http://www.acne.org/prescription.php
·         ACNE: Treatments and drugs By Mayo Clinic staff, Mayo Foundation for Medical Education and Research (MFMER).,http://www.mayoclinic.com/health/acne/DS00169/DSECTION=treatments-and-drugs
·         Acne Drug Information, Health Central-MY skincare connection, The HealthCentral Network, http://www.healthcentral.com/skin-care/drug-info.html
·         ประวิตร พิศาลบุตร,โรคโรคสิวในเวชปฏิบัติ (Acne in Clinical Practice) , คลีนิคเล่ม: 277 เดือน-ปี: 01/2551, http://www.doctor.or.th/node/6867
·         Thiboutot D. New treatments and therapeutic strategies for acne. Arch Fam Med 2000;9:179-87.
·         ประวิตร พิศาลบุตร,โรคโรคสิวในเวชปฏิบัติ (Acne in Clinical Practice) ตอนที่ 2 , คลีนิคเล่ม: 228 เดือน-ปี: 02/2551, http://www.doctor.or.th/node/6921
·         Huber J, Walch K. Treating acne with oral contraceptives: use of lower doses. Contraception 2006;73:23-9
·         ประวิตร พิศาลบุตร,โรคโรคสิวในเวชปฏิบัติ (Acne in Clinical Practice) ตอนที่ 3 , คลีนิคเล่ม: 229 เดือน-ปี: 03/2551,
·         Huber J, Walch K. Treating acne with oral contraceptives: use of lower doses. Contraception 2006;73:23-9.
·         ประวิตร พิศาลบุตร,โรคโรคสิวในเวชปฏิบัติ (Acne in Clinical Practice) ตอนที่ 4 , คลีนิคเล่ม: 230 เดือน-ปี: 04/2551
·         Goldsmith LA, Bolognia JL, Callen JP, Chen SC, Feldman SR, Lim HW, et al. American Academy of Dermatology Consensus, Conference on the safe and optimal use of isotretinoin: summary and recommendations. J Am Acad Dermatol 2004;50:900-6. Erratum in J Am Acad Dermatol 2004;51:348.
·         1984;10:490-6.ปรียา กุลละวณิชย์ และประวิตร พิศาลบุตร บรรณาธิการ, Dermatology 2000 ตำราโรคผิวหนังในเวชปฏิบัติปัจจุบันกรุงเทพมหานคร: บริษัทโฮลิสติกพับลิชชิ่งจำกัด2540.
·         อภิชาติ ศิวยาธร และกนกวลัย กุลทนันทร์ บรรณาธิการโรคผิวหนังที่ต้องรู้สำหรับเวชปฏิบัติทั่วไปกรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน2546
·         ประทีป วรรณิสสร พยาธิกำเนิดของโรคสิว องค์ความรู้ใหม่ วารสารโรคผิวหนัง 2549; 22: 74-81. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
·         ผศ. ภญ. นิตยาวรรณ กุลวณาวรรณภญ. นิตย์ธิดา ภัทรธีระกุล, ยารักษาสิว, วารสารเภสัชชุมชน ปีที่ ฉบับที่ 43 พศ.2553
·         รศ. นพนภดล นพคุณ แนวทางการดูแลรักษาโรค Acne Clinical Practice Guideline Acne, thaigovweb.com/mophweb/file/doc/news21193-121209-173007.pdf
·         สาเหตุ และ ประเภทของ สิว (Acne), Doctor Cosmetic, http://www.doctorcosmetics.com/read_content.php?id=1607&pagetype=articles
·         รัศนี อัครพันธุ์. โรคของต่อมไขมัน. ใน : ปรียา กุลละวณิชย์ประวิตร พิศาลบุตร. ตำราโรคผิวหนังใน เวชปฏิบัติปัจจุบัน (Dermatology 2010). กรุงเทพฯ : บริษัท โฮลิสติก พับบลิชชิ่ง จำกัด, 2548:56-70.
·         ปรียา กุลละวณิชย์วลัยอร ปรัชญพฤทธิ์. Facial dermatitis. ใน : ปรียา กุลละวณิชย์ประวิตร พิศาลบุตร. ตำราโรคผิวหนังในเวชปฏิบัติปัจจุบัน (Dermatology 2010) . กรุงเทพฯ : บริษัท โฮลิสติก พับบลิชชิ่ง จำกัด, 2548:56-70
·          Acne Treatments & Skin Care, SkinCareGuide.com, http://www.acne.ca/index.html
·         ประวิตร พิศาลบุตรยารับประทานโรคสิววิชัยยุทธเวชสาร, July 2528, ,www.vichaiyut.co.th/jul/28_02-2547/28_02-2547_P77-81.pdf
·         ประวิตร พิศาลบุตร, blog ความรู้เรื่องผิวหนัง http://myskinarticles.blogspot.com
·         เพ็ญวดี ทิมพัฒนพงศ์. ตำราเรื่องสิว วิทยาการก้าวหน้าและโรคที่เกี่ยวข้อง. 2536 หน้า 87-99 Acne 
·         James J. Leyden, M.D., Therapy for Acne Vulgaris, Journal of Medicine Massachusetts Medical Society Volume 336:1156-1162, April 17, 1997 no 16, http://content.nejm.org/cgi/content/full/336/16/1156 The New England
·         สิว คู่มือการรักษาแบบสมบูรณ์ , complete acne treatment, www.complete-acne-treatment.com
        คู่มือรักษาสิวให้หายสนิทตอนที่ ทุกคำถามเรื่องสิว เรามีคำตอบ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/10/08/entry-1

·         คู่มือรักษาสิวให้หายสนิท: ตอนที่ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคสิว โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล , http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/10/11/entry-1

·         คู่มือรักษาสิวให้หายสนิท: ตอนที่ สาเหตุของการเกิดสิว โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุลhttp://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/10/14/entry-1

·         คู่มือรักษาสิวให้หายสนิท: ตอนที่ 4 ประเภทของสิว โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุลhttp://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/11/11/entry-1

·         คู่มือรักษาสิวให้หายสนิท: ตอนที่ 5 รักษาสิวอย่างไรให้หายและไม่เกิดแผลเป็น โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/11/15/entry-1

·         คู่มือรักษาสิวให้หายสนิท: ตอนที่ 6 ยารักษาสิวมีอะไรบ้าง ใช้ตัวไหนดี โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/12/22/entry-1

·         คู่มือรักษาสิวให้หายสนิท: ตอนที่ หลักการรักษาสิวให้ยุบเร็ว ไม่เกิดซ้ำ และ ไม่เกิดแผลเป็น โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/12/25/entry-1

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เปิดร้านยา ตอนที่ 1: สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนตัดสินใจ โดยเภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ในซองจดหมาย E-Mail ที่ส่งมาแสวงหาคำตอบสุขภาพจากผมนั้นถามนั้น ยังมีอีกหนึ่งคำถามที่ขยันส่งกันมาจัง คือถามว่า "สนใจอยากลงทุนเปิดร้านขายยา" เห็นบอกว่า กำไรดี โอกาสเสี่ยงน้อย ภาวะเศรษฐกิจแย่ยังไง ยังไงคนก็ยังต้องป่วย ยาก้อยังขายได้ จริงหรือเปล่า 
มาฟังคำตอบจากเภสัชกรร้านยาไหมครับ 
ว่าเปิดร้านขายยาต้องทำอย่างไร
ก่อนลงทุนในกิจการใดๆก็ตามไม่ว่าจะเป็นเปิดร้านกาแฟ ร้านซักรีด สำหรับนักลงทุนที่ชาญฉลาดแล้ว คุณคงต้องลงมือทำการบ้านอย่างหนัก สำหรับการเปิดร้านยานั้น ผมได้เตรียมข้อมูล การเปิดร้านยาอย่างไร” เป็นการรวบรวมข้อมูลสำหรับเภสัชกร รวมทั้งผู้Œที่สนใจในการเปิดร้านยา จะได้ทราบขั้นตอนต่างๆในการเปิดร้านยา ได้เห็นภาพรวมธุรกิจร้านยาในหลายๆ ด้าน ที่เกี่ยวข้Œองกับการจัดการค้าปลีก วิชาชีพ จรรยาบรรณและจริยธรรม โดยรวมเนื้อหาตั้งแต่การวิเคราะห์ตลาดและคู่แข่ง การขอใบอนุญาต กลยุทธ์สำคัญๆในการเลือกทำเล งานก่อสร้างร้าน การเลือกสินค้าที่จะมาวางจำหน่ายและแหล่งที่จะซื้อ ไปจนถึงการบริหารคลังสินค้าและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
อยากเปิดร้านขายยา ต้องทำอย่างไรบ้าง ตอนที่ 1: สิ่งที่คุณต้องรู้ ก่อนตัดสินใจ
เป็นข้อมูลก่อนเริ่มต้น เพื่อให้นักลงทุนได้เตรียมตัวเป็นเสบียงตุนไว้ก่อนตัดสินใจกระโจนสู่โลกธุรกิจร้านขายยาครับ หัวข้อที่ท่านควรรู้ได้แก่ 
1. รู้จักธุรกิจสุขภาพ ยาและเวชภัณฑ์
·         ภาพรวมตลาดยาและร้านขายยา
·         ภาพรวมการรับบริการทางสาธารณสุขของคนไทยและแนวโน้ม
·         แนวโน้มธุรกิจร้านยาและสภาวะการแข่งขัน
·         ช่องทางการจัดจำหน่าย
·         ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดยา
2. เจาะลึกธุรกิจร้านยา
·         ตลาดร้านยา
·         กฎหมายและระเบียบบังคับที่เกี่ยวข้องกับร้านขายยาในปัจจุบันและอนาคต
·         การแบ่งประเภทร้านยาและจำนวนร้านยา
·         สภาวะการแข่งขันและแนวโน้มตลาด
·         คู่แข่งขันหลักในตลาดร้านยา Chainstore & Francise vs. Local & International
·         Key Success Factors ในการเปิดร้านยาให้ประสบความสำเร็จ
3. Checklist คิดก่อนลงมือทำ
·         ปัจจัยการลงทุน
·         ผลตอบแทนและความเสี่ยง
·         ความพร้อมและคุณสมบัติของผู้ประกอบการ
โปรดติดตามตอนต่อไป: อยากเปิดร้านขายยา ต้องทำอย่างไรบ้าง 
ตอนที่ 2: สิ่งที่คุณต้องลงมือทำ