วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2556

ยากันแดด ตัวไหนปลอดภัยและได้ผล???


ประโยชน์ของครีมกันแดดที่หลายคนทราบก็คือ ช่วยปกป้องการทำลายเซลล์ผิวหนัง จากรังสีอุลตร้าไวโอเลตในแสงแดด ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้ผิวไหม้ แก่ได้เร็ว และยังเป็นสาเหตุของมะเร็งผิวหนังได้อีกด้วย หากไม่ดูแลผิวให้ดี   

ดังนั้นหากอยากจะเลือกใช้ครีมกันแดด ซึ่งมีหลายยี่ห้อ หลายสูตรเหลือเกิน จะเลือกใช้ครีมตัวไหนดีนะ ที่ได้ผลปกป้องผิวไม่ให้แสบร้อน ดำไหม้ และปลอดภัยไม่มีอันตรายต่อผิวอ่อนโยนของเรา  ตามมาฟังคำตอบได้เลยครับ

ประเภทของครีมกันแดด 
โดยทั่วไปนั้นมีทั้งหมด 3 ประเภท คือ
  1. Chemical Sunscreen เป็นครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารเคมี ทำหน้าที่ปกป้องแสงแดด โดยการดูดซับรังสีแสงแดดเข้าไว้ในผิว ซึ่งหลังจากโดนแดดสักพัก สารเคมีเหล่านี้ก็เสื่อมสภาพ นั่นคือสาเหตุที่เราจึงต้องทาครีมกันแดดทุกๆ 2-3 ชั่วโมง การเลือกใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงๆ ซึ่งมีส่วนผสมของสารเคมีปริมาณมาก อาจเกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังโดยเฉพาะคนที่มีผิวแพ้ง่าย
  2. Physical Sunscreen เป็นครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสาร ที่สามารถสะท้อนรังสี UVA และ UVB ออกไปจากผิวหนัง ซึ่งสารในกลุ่มนี้จะมีผลระคายเคืองต่อผิวหนัง น้อยกว่าสารในกลุ่มแรก แต่มีข้อด้อยคือ ครีมกันแดดประเภทนี้ไม่สามารถให้ SPF ที่สูงๆ ได้ และเมื่อทาบนผิวหนังแล้ว หน้าจะดูขาวมาก เนื่องจากสารจะเคลือบบนผิวหนังชั้นบน เพื่อรอแสงกระทบ จึงมีการดูดซึมสู่ผิวน้อย
  3. แบบผสม Chemical-Physical Sunscreen เป็นการเสริมข้อดีลดข้อด้อยในแต่ละส่วน นั่นคือลดการระคายเคืองต่อผิวหนัง จากสารประเภทสารเคมี และลดความขาวเมื่อทาครีม และเสริมประสิทธิภาพ ในการป้องกันแสงแดดร่วมกัน
sun block fabric  ครีมกันแดด
ส่วนผสมในครีมกันแดด
  • สารออกฤทธิ์กลุ่มสารเคมีที่ป้องกัน UVA ได้แก่ Oxybenzone, Sulisobenzone, Dioxybenzone, Avobenzone, Merxoryl sx
  • สารออกฤทธิ์กลุ่มสารเคมีที่ปัองกัน UVB ไ้ด้แก่ Aminobenzoic acid (PABA), Homosalate, Cinoxate, Octyl methoxycinnamate, Octyl salicylate, Padimate O, Phenylbenzimidazole sulfonic acid, Trolamine salicylate, Methyl anthralinate
  • สารออกฤทธิ์กลุ่ม Physical เป็นสารกันแดดที่สะท้อนแสงที่ป้องกันทั้ง UVA และ UVB ได้แก่ Titanium dioxide, Zinc Oxide
sun block fabric
นพ.ชลธวัช สุวรรณปิยะศิริแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังและผิวพรรณ ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับครีมกันแดดว่า ในผลิตภัณฑ์ครีมกันแดด จะมีการเขียนอธิบายอยู่ข้างหลอดของครีมกันแดด UV-A UV-B ซึ่ง 2 ประเภทนี้ คือ ชนิด AและB ก็มาจากแสงของดวงอาทิตย์ ส่องมายังพื้นโลก จะเป็น UV-A 95 % UV-B 5 % ซึ่งทำให้เกิดปัญหาของผิวพรรณตามมา และมี UV-C ซึ่งจะไม่ลงมาบนพื้นผิวโลก เนื่องจากชั้นโอโซนช่วยกรองเอาไว้ ซึ่ง UV-C เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งผิวหนัง

รังสีจาก UV-A จะทำให้ผิวแก่ก่อนวัย หน้าคล้ำได้ ฉะนั้นเวลาไปทะเล แล้วผิวคล้ำเกิดจาก UV-A

รังสีจาก UV-B Burning คือผิวไหม้แดด เกรียมแดด อย่างกรณีไปอาบแดด แล้วผิวไหม้ ผิวเกรียม เกิดจาก UV-B ฉะนั้นจึงต้องมีครีมกันแดดป้องกันทั้ง 2 อย่าง ทั้ง UV-A และ UV-B
SPF หมายถึงประสิทธิภาพในป้องผิวจากแสงแดดการการไหม้ ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่าผิวของคุณทนต่อแสงแดด ได้เป็นเวลา 15 นาทีเกิดการอาการไหม้ การทาครีมป้องกันแสงแดด SPF 30 นั้นจะช่วยให้ผิวจะทดได้ 450 นาที ก่อนที่ผิวจะไหม้ จึงสรุปได้ว่า ค่า SPF เป็นค่าจำนวนเท่าของเวลาในการทนต่อแสงแดด ก่อนที่ผิวจะไหม้ (ป้องกันรังสี UV-B) ดังนั้นครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงๆ ไม่จำเป็นที่จะต้องป้องกันรังสี UV-A ได้ ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF ที่สูง ไม่จำเป็นที่จะป้องกันรังสี UV ได้ดีเสมอไป.

PA หมาย ถึง Protection Grade of UVA หรือระดับการป้องกันแสง UV-A นั้นเอง ซึ่งมีอยู่ 3 ระดับ คือ PA+ , PA++ และ PA+++ โดยที่ PA+++ มีค่าการป้องกันสูงที่สุด PA+ นั้นเหมาะกับการป้องกันทั่วๆไป ส่วนผู้ที่ต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง ควรใช้ครีมกันแดดที่มี ระดับการป้องกัน PA++ ขึ้นไป.

Physical กับ Chemical Sun-screen Physical Sun-screen หรือครีมกันแดดชนิดกายภาพ คือเป็นสารที่ช่วยสะท้อนแสงออกไป ซึ่งอาจจะทำให้ดูขาววอก ส่วน Chemical Sun-screen จะทำการดูดซับรังสี UV แทนผิว แต่ส่วนใหญ่จะเป็นสารควบคุมให้ใช้ในปริมาณที่จำกัด ตามกฏหมายเครื่องสำอางควบคุม.

ครีมกันแดดที่อ้างว่ากันน้ำ หรือกันเหงื่อ ไม่ได้หมายความว่ามันจะกันได้ตลอด เมื่อเหงื่ออก ลงน้ำ หรืออะไรก็ตาม สารเคมีที่เป็นตัวกันแดดจะเสื่อมลง หลายๆ ครั้ง มันก็ยังเหนียวหนึบติดผิวเราอยู่ คือ พอถูกน้ำ ประสิทธิภาพในการกันแดดจะลดลง โดยส่วนมากแล้ว คำว่า Waterproof หรือ Water Resistant จะทนน้ำได้ไม่เกิน 60 นาที ก็เสื่อมแล้ว ส่วน Very Water Resistant เนี่ย ก็จะอยู่ได้ไม่เกิน 80 นาทีแค่นี้เอง
Methylparaben
อันตรายจากครีมกันแดด
สารตัวอันตรายในครีมกันแดด ปกติสาวๆ ที่ดูแลสุขภาพตัวเองนั้น มักจะทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้าน หลายๆ ท่านเคยได้สังเกตโลชั่นหรือครีมกันแดดรึเปล่า ว่าส่วนประกอบสำคัญ หากว่ามีตัวยาที่ชื่อว่า Methylparaben แล้วสารตัวนี้ถ้าซึมซับเข้าสู่ผิวมากๆ อาจจะทำให้เป็นมะเร็งผิวหนังได้ การเลือกซื้อจึงควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีตัวยานี้ ถึงแม้ว่าเปอร์เซ็นต์ที่จะทำให้เป็นมะเร็งผิวหนังจะมีอยู่ไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ก็ตาม แต่กันไว้ดีกว่าแก้ เพราะถ้าใช้โลชั่นไปนานๆ อาจมีการสะสมในร่างกายได้ 1 ปี – 2 ปี และต่อๆ ไปอีกหลายปี

ความปลอดภัยของการใช้สาร parabens ในเครื่องสำอาง
จากการที่มีข่าวลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ว่าสาร parabens ในเครื่องสำอาง อาจมีความเกี่ยว ข้องกับมะเร็งเต้านมได้ นั้นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้สืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
  1. parabens เป็นชื่อของสารในกลุ่ม esters of p-hydroxybenzoic acid ซึ่งมีคุณสมบัติ
    ยับยั้ง จุลินทรีย์ได้ จึงนิยมใช้เป็นสารกันเสียในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เครื่องสำอาง ยา และอาหาร
  2. สาร parabens ที่นิยมใช้กันมากในเครื่องสำอาง คือ methylparaben, propylparaben
    และ butylparaben ส่วนใหญ่ในเครื่องสำอางแต่ละตำรับ จะใช้สาร parabens ร่วมกันหลายชนิด เพื่อให้
    สามารถยับยั้งจุลินทรีย์ได้หลายกลุ่ม
  3. ในประเทศต่างๆส่วนใหญ่อนุญาตให้ใช้ parabens ในเครื่องสำอางได้ โดยมีข้อกำหนดแตก
    ต่างกันในรายละเอียด เช่น
    1. ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และญี่ปุ่น อนุญาตให้ใช้สารนี้ได้ โดยมิได้กำหนดอัตรา
      ส่วนสูงสุดที่ให้ใช้
    2. สหภาพยุโรป อนุญาตให้ให้ใช้สารนี้ในเครื่องสำอางได้โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
      - ถ้าใช้ ester เพียงชนิดเดียว ให้ใช้ได้ในอัตราส่วนสูงสุด คือ 0.4 %(คำนวณในรูปกรด)
      - ถ้าใช้ ester ร่วมกันหลายชนิด ให้ใช้ได้ในอัตราส่วนสูงสุด คือ 0.8 %(คำนวณในรูปกรด)
      - ในกรณีที่ใช้สารนี้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น ใช้เป็นสารยับยั้งแบคทีเรียในผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย จะสามารถใช้ในความเข้มข้นสูงกว่าที่กำหนดให้ใช้เพื่อเป็นสารกันเสียได้
    3. ตามกฎหมายไทยอนุญาตให้ใช้สารนี้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางได้โดยมิได้กำหนดอัตรา
      ส่วนสูงสุดที่ให้ใช้ แต่ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ระหว่างปรับกฎระเบียบให้สอดคล้องกับบทบัญญัติเครื่องสำอาง
      อาเซียน โดยจะใช้ข้อกำหนดในทำนองเดียวกับสหภาพยุโรป
  4. จากการศึกษาวิจัยเมื่อ ค.ศ. 2004 ( Darbre, in the Journal of Applied Toxicology ) รายงานว่าตรวจพบ parabens ในก้อนที่เต้านม (breast tumors) และได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลในประเด็นที่ว่า
    parabens ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างอ่อนๆ อาจมีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านม แต่ผล
    การศึกษาวิจัยไม่อาจสรุปได้ว่า parabens เป็นสาเหตุของมะเร็งเต้านม
  5. ในสหรัฐอเมริกา โดย US Food and Drug Administration ได้เผยแพร่ข้อมูลว่า ถึงแม้
    ฮอร์โมนส์เอสโตรเจนในร่างกายจะมีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านม แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่ชี้ชัดว่าสาร
    parabens ในเครื่องสำอางจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม ดังนั้น ผู้บริโภคจึงยังไม่ควรวิตกกังวล ในเรื่องนี้จนเกินไป ผู้ประกอบธุรกิจยังคงใช้สารนี้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางได้ และทางหน่วยงานจะติดตาม
    ข้อมูลความปลอดภัยเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด
  6. ในสหภาพยุโรป โดย The Scientific Committee on Consumer Products [SCCP] ได้
    พิจารณาข้อมูลความปลอดภัยของการใช้สาร parabens ในเครื่องสำอาง และสรุปได้ว่าเครื่องสำอางที่มีส่วน
    ผสมของสารนี้มิได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม และเห็นชอบให้ใช้ข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้สารนี้ใน
    เครื่องสำอางตามเดิม
  7. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ติดตามข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้สาร
    parabens และพบว่าปัจจุบันสารนี้ยังคงมีความปลอดภัยเมื่อนำมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง
เห็นแล้วว่าการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ควรต้องดูที่ฉลากอย่างถี่ถ้วน ไม่อย่างนั้นจะเกิดอันตรายกับผู้ใช้ได้ 

กราบขอบพระคุณแหล่งข้อมูล มาจาก

 sun blocking fabric ครีมกันแดด 

http://www.beautyfullallday.com 


รูปประกอบ มาจาก http://cdn.blisstree.com/files/2011/05/573055871.jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น