วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ไม่อยากตายไวๆ ต้องทำอย่างไร?


โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันหรือโรคหัวใจขาดเลือด เป็นโรคที่พบบ่อยมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทยปัจจุบันและในขณะนี้พบว่าโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจล้มเหลว มีจำนวนคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันมากเป็นอันดับสองรองจากการประสบอุบัติเหตุ ซึ่งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันนี้มีวิธีในการรักษาอยู่หลายวิธี ได้แก่ การใช้ยาในการรักษา การผ่าตัดต่อหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ (เรียกว่า การผ่าตัดบายพาส) และการใช้บอลลูนเพื่อขยายหลอดเลือดที่ตีบตัน 

ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษา ถึงปัจจัยเสี่ยง สาเหตุ อาการและการรักษาของโรคนี้ให้เข้าใจ เพื่อที่เราจะได้ ลด ละ เลิด สาเหตุที่ทอนหัวใจเราให้เสื่อมลง และเพิ่ม หมั่นทำ ขยันสร้างพฤติกรรมดีๆ ที่จะไปสร้างเสริมหัวใจให้แข็งแกร่งต่อไป



ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

1.เพศ
    พบว่าเพศชายมีอัตราการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันได้มากกว่าเพศหญิง 3 เท่า และมีอัตราการเสียชีวิตในเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึง 5 เท่า


2.ประวัติครอบครัวเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน
ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันก่อนวัยอันควร(ผู้ชาย อายุน้อยกว่า 55 ปี,ผู้หญิงอายุน้อยกว่า 65 ปี)จะมีความเสี่ยงที่ จะเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน
          จากการศึกษาพบว่า ผู้ชายที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจะเพิ่มอัตราเสี่ยงเป็น 2-20เท่าของผู้ชาย ที่ไม่มี ประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ 

3. ภาวะไขมันในเลือดสูง
โคเลสเตอรอลสูง โอกาสการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันจะเพิ่มขึ้นตามระดับโคเลสเตอรอลที่เพิ่มขึ้น
ภาวะต่อไปนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน 

      - โคเลสเตอรอลรวม(Total cholesterol) และ LDL cholesterol สูง

      - HDL cholesterol ต่ำ(จากการศึกษาของ Framingham พบว่าอัตราเสี่ยงการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายจะเพิ่มขึ้น 25%สำหรับทุกๆ 5mg/dLที่ลดลงต่ำกว่าค่ามัธยฐานของ HDL cholesterol ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง)

      - Total cholesterol/HDL cholesterol ratio(อัตราส่วนระหว่างโคเลสเตอรอลและHDL)สูง
         จากการศึกษาพบว่า

• ในผู้ชายที่มีค่า ratio มากกว่าหรือเท่ากับ 6.4 จะมีอัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้น 2-14%เทียบกับในกลุ่มที่มีค่า total cholesterol หรือ LDL cholesterol ระดับเดียวกัน

• ในผู้หญิงที่มีค่า ratio มากกว่าหรือเท่ากับ 5.6 จะมีอัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้น 25-45%เทียบกับในกลุ่มที่มีค่า total cholesterol หรือ LDL cholesterol ระดับเดียวกัน 
ในทางตรงกันข้ามในคนที่มีระดับ ratio เดียวกัน แม้มีระดับ total cholesterol or LDL เพิ่มขึ้นก็ไม่ทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

      ไตรกลีเซอไรด์(Triglyceride) สูง,ระดับ Lp(a)(เป็นไขมันที่เกาะรวมอยู่กับโปรตีนชนิดหนึ่ง เรียกว่า lipoprotein a) สูง

      การรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง เน้นที่การคุมอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูงร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ถ้าไม่ได้ผลจึงใช้ยาลดไขมันในเลือด

     ผลดีของการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง สามารถลดอัตราการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดและอัตราการเสียชีวิต จากโรคหัวใจ ได้ ทั้งในคนที่ไม่เคยเป็นโรคหัวใจมาก่อนและผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว 


4.ความดันโลหิตสูง
        ภาวะความดันโลหิตสูงทำให้มีกล้ามเนื้อหัวใจโตและเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด,หัวใจล้มเหลว,การเสียชีวิต
ฉับพลัน,การเกิดโรคอัมพาตจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง

       ความดันโลหิตที่สูงไม่ว่าจะเป็นความดันโลหิตตัวบน(systolic blood pressure) หรือความดันโลหิตตัวล่าง(diastolic blood pressure)ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดหัวใจและเส้นเลือดสมองตีบตันได้แต่จะมีผลไม่เท่ากันในอายุที่ต่างกัน

       จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่อายุน้อยกว่า 50ปี ความดันตัวล่างจะมีผลต่ออัตราเสี่ยงมากที่สุด
       ผู้ที่อายุ 50-59 ปี ความดันโลหิตทั้งตัวบน ตัวล่างและค่า pulse pressure (ค่าความแตกต่างระหว่าง ความดันโลหิตตัวบนและตัวล่าง) มีผลต่ออัตราเสี่ยงพอๆกัน

       ผู้ที่อายุมากกว่า หรือเท่ากับ 60ปี ค่า pulse pressure จะมีผลต่ออัตราเสี่ยงมากที่สุด

      การรักษาโดยการควบคุมอาหาร จำกัดอาหารเค็ม ร่วมกับการใช้ยาลดความดันโลหิตในรายที่ความดันสูงมากหรือเริ่มมีการทำลายอวัยวะภายในร่วมด้วย

      ผลดีของการรักษาสามารถช่วยลดการเกิดภาวะอัมพาตจากสมองขาดเลือด,การเกิดหัวใจล้มเหลว รวมทั้งภาวะหัวใจขาดเลือดได้



5.Pulse pressure(ค่าความแตกต่างระหว่างความดันโลหิตตัวบนและตัวล่าง)
      ในรายที่มีค่า pulse pressure เพิ่มขึ้น จะเพิ่มอัตราเสี่ยงของการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด


6.เบาหวานและภาวะการควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี( glucose intolerance)
      เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะเส้นเลือดแข็งตีบตัน(atherosclerosis)โดยเฉพาะในผู้หญิง
      การรักษา โดยการควบคุมอาหารจำกัดอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล ร่วมกับการใช้ยาลดระดับน้ำตาล


7.ภาวะการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
      การเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันในผู้หญิงจะเพิ่มขึ้นหลังหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง
      การรักษา โดยการให้ฮอร์โมนเสริมที่มีส่วนผสมของเอสโตรเจนและโปรเจสติน


8.ปัจจัยที่เกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิต(Lifestyle factors)

• การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
       ช่วยป้องกันการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบตันและลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจได้ถึง 23% นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่ม ระดับ HDL cholesterol,ลดความดันโลหิต,ลดน้ำหนักและช่วยให้การคุมเบาหวานดีขึ้น

• การสูบบุหรี่
       เป็นตัวการสำคัญของการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบตัน   ในผู้ที่สูบบุหรี่วันละอย่างน้อย 20 มวนจะเพิ่มอัตราการเกิด กล้ามเนื้อ หัวใจตาย 3 เท่า ในผู้ชาย และ 6 เท่าในผู้หญิงเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ รวมทั้งคนที่สูดควันบุหรี่ก็มีอัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้นด้วย
      -อัตราการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายซ้ำลดลง50% ภายใน 1 ปีของการหยุดสูบบุหรี่ และกลับมาเท่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ภายใน 2 ปี
      -ประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่จะยังคงอยู่ไม่ว่าจะเคยสูบมานานหรือสูบมามากเท่าไรก็ตาม

• อาหาร 
       นอกจากอาหารที่มีไขมันสูงจะเป็นตัวทำให้เกิดเส้นเลือดหัวใจตีบตันแล้ว ยังพบว่าการทานผัก ผลไม้และอาหารที่มีเส้นใย อาหาร สูงจะช่วยลดอัตราเสี่ยงการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบตันและอัมพาตจากเส้นเลือดสมองตีบตัน
       การทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูงจะช่วยลดอัตราการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบตันและอัมพาตจากเส้นเลือดสมองตีบตันลงได้ถึง 40-50% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ทานเส้นใยอาหารต่ำ

• การดื่มสุรา
       มีหลักฐานที่เชื่อได้ว่า การดื่มสุราในขนาดที่เหมาะสมจะช่วยลดอัตราการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบตันได้ 
      จากการศึกษาผู้ชายและผู้หญิงในอเมริกา 490,000รายที่ดื่มสุราในปริมาณที่เหมาะสมพบว่าอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตจาก
โรคเส้นเลือดและหัวใจลดลง เหลือ 0.7ในผู้ชาย และ 0.6ในผู้หญิง เมื่อเทียบกลุ่มที่ไม่ได้ดื่มสุรา ซึ่งเชื่อว่า แอลกอฮอล์ทำให้มี
การเพิ่มของ HDL cholesterol ได้


9.โรคอ้วน 
       มีความสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง,ภาวะ glucose intolerance, ภาวะดื้อต่ออินสุลิน,ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น,ระดับ HDL cholesterolต่ำลง,ระดับ fibrinogenเพิ่มขึ้น

       ความอ้วนเพิ่มอัตราการเสียชีวิตรวมและที่เกิดจากโรคหลอดเลือดและหัวใจ จากการศึกษาพบว่าคนอ้วน(BMIหรือดัชนีมวลร่างกาย มากกว่า หรือเท่ากับ 40)จะมีอัตราการเสียชีวิตโดยรวมสูงที่สุด คิดเป็น 2.7เท่าในผู้ชายและ 1.9เท่าในผู้หญิง

       การศึกษาพบว่าการมีน้ำหนักเพิ่มมากหลังอายุ 20ปีจะเพิ่มโอกาสการเสียชีวิตจากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน เช่นกัน(รายงาน
ในผู้ชายที่ศึกษา 6874 รายเป็นเวลาเกือบ 20 ปี โดยเทียบกันในกลุ่มอายุ,การออกกำลังกาย,การสูบบุหรี่ใกล้เคียงกัน พบว่า 

      อัตราเสี่ยงของการตายจากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ต่ำที่สุดในกลุ่มที่มีน้ำหนักคงที่คือเพิ่มไม่เกิน 4% หลังอายุ 20 ปี
      อัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 1.57 เท่า ในกลุ่มที่มีน้ำหนักเพิ่ม 4-10%
      อัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 2.76 เท่า ในกลุ่มที่มีน้ำหนักเพิ่มมากกว่า 35%)


แหล่งข้อมูล
นักศึกษาคณแพทย์ศาสตร์ ม. ขอนแก่น
http://www.gotoknow.org/posts/499311

รูปประกอบ
http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/1/4/49/th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น