วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

ยาประจำบ้านสำหรับลูกป่วยไข้ ยามเมื่อฤดูฝนมาเยือน


พฤกษาคมของทุกปีจะเป็นเวลาเริ่มต้นแรกของฤดูฝนที่จะมาเคาะประตูบ้านเมืองไทยของเรา ที่ตามมาพร้อมกับความเปียกชื้นและอากาศเย็นๆของฝน 

นั่นก็คือ อาการน้ำมูกไหล ไอ จาม ทั้งจากไข้หวัดและโรคอื่นๆ อย่างนี้แล้วคุณแม่คุณพ่อที่ใส่ใจสุขภาพคงจะเริ่มต้นกังวล แล้วว่าหน้าฝนนี้จะดูแลสุขภาพลูกน้อยอย่างไร ไม่ให้เจ็บไข้ได้ป่วย 

มาฟังคำแนะนำการดูแลสุขภาพเจ้าตัวเล็กให้แข็งแรง และหากถ้ามีไข้หวัดขึ้นมา จำเป็นจะต้องใช้ยา เราควรเตรียมยาอะไรบ้างนะ เพื่อจะได้ปกป้องลูกน้อยให้แข็งแรงตลอดหน้าฝนนี้

เด็กๆมักจะป่วยด้วยโรคอะไรได้บ่อย? ในฤดูฝนนี้
คุณแม่คุณพ่อคงต้องทราบไว้ก่อนว่า กลุ่มโรคที่พบบ่อยในฤดูฝนที่พบบ่อยสุดๆ ก็จะมี ไข้หวัดธรรมดาและอาการโรคหวัดที่แสดงอาการออกมาให้เราได้เห็นอันได้แก่ น้ำมูกไหล หายใจไม่ออก ไอ เป็นไข้ ส่วนโรคอื่น ๆที่เด็กๆ อาจเป็นอยุ่แล้วในฤดูอื่น แต่จะพบถี่เพิ่มขึ้นในฤดูฝนนี้ ก้อคือไข้หวัดใหญ่ และไข้เลือดออกนั้นเอง จะได้คอยสังเกตุไว้ก่อน

ไข้หวัดธรรมดา ธรรมดาก้อจริงแต่อย่าวางใจ
ในยามปกติลูกน้อยของเราจะได้รับการดูแลจนมีสุขภาพแข็งแรงดีอยู่แล้ว แม้เขาอาจจะมีโอกาสสัมผัสกับเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดอยุ่แล้ว ก็ไม่มีอาการโรคอะไรให้เห็น เนื่องจากระบบภูมิต้านทานโรคช่วยปกป้องอยุ่ แต่ถ้าหากช่วงนั้นภูมิต้านทานเกิดอ่อนแอขึ้นมา ลูกน้อยของเราก้ออาจแสดงอาการโรคออกมาเป็นไข้หวัดให้เห็นเราได้เห็นขึ้นมาได้

ทำไมลูกน้อยถึงมีโอกาสเป็นไข้หวัดธรรมดาหล่ะ? เด็กๆจะไม่สบายจากโรคหวัดธรรมดาก็ได้ โดยอาจจะไปติดต่อกันมาจากเพื่อนๆร่วมชั้นเรียนหรือเด็กข้างๆบ้านที่เป็นไข้หวัดมาก่อนอยุ่แล้ว ระหว่างเล่นหรือคลุกคลีกัน เด็กๆอาจจะติดเชื้อโรคด้วยการไปสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย จากการไอ จาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอยู่ในที่แออัด สภาพแวดล้อมที่ไม่มีการดูแลความสะอาด เช่น สถานเลี้ยงเด็ก โรงเรียนอนุบาล หรือแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ได้แก่ห้างสรรพสินค้าที่คนเย้อะๆแออัดมากๆ อากาศถ่ายเทไม่ดี เป็นต้น

อาการของไข้หวัดธรรมดา จะรู้ได้อย่างไรหล่ะ?
คุณแม่คงต้องแปลงกายไปเป็นนักสืบสุขภาพน้องน้อยแล้วหล่ะคราวนี้ คอยหมั่นสังเกตุอาการความเป็นอยู่ของลูกรัก อย่างเช่นหากเด็กๆเคยร่าเริงดี กินข้าวได้หลายชาม หลับสบายอุตุ แต่วันนึงหากเขาเริ่มมีอาการซึมลงๆ มีไข้ต่ำๆ หรือบางคนวัดอุณหภูมิร่างกายแล้วอาการไข้ไม่ขึ้นก้อเป็นไปได้ แค่สัมผัสตัวแล้วไข้รุมๆเฉยๆ

แต่เด็กมักจะแสดงอาการป่วยด้วยอาการ ไอ จาม น้ำมูกไหล ในช่วงแรกๆ หากเช็ดจมูกให้ จะพบเป็นน้ำมูกใส ๆ หากไม่ดูแลให้ดี ถ้าเป็นหลายวันๆ สีจะข้นขึ้นเป็นสีขาวขุ่น เหลืองหรือเขียว นอกจากนี้ ยังมีอาการคัดจมูก แน่นจมูกจนหายใจไม่ออก ไม่อยากกินอาหารหรือนม โดยเฉพาะในเด็กเล็กๆที่ยังพูดคุยกับเราไม่ได้ จะมีอาการร้องไห้งอแงมากกว่าปกติก้อได้ เพื่อส่งสัญญานว่า ตอนนี้หนูไม่ค่อยสบายเป็นหวัดแล้วนะ คุณแม่ช่วยหนูหน่อยซิฮะ

จะรู้ได้ไง ว่าลูกน้อยเป็นโรคหวัดธรรมดาหรือไข้หวัดใหญ่ หรือไข้เลือดออก
ดังนั้นถ้าเด็กมีอาการตามที่แนะนำมา ต้องตรวจสอบแน่ใจแล้วว่า อาการของลูกน้อยที่เป็นไข้หวัดธรรมดา มักจะมีไข้ต่ำๆ หรือไม่มีไข้ มีอาการน้ำมูก ไอ จามชัดเจน

แต่ทว่า...หากโชคร้าย ลูกรักเป็นไข้หวัดใหญ่ มักจะมีไข้ขึ้นสูงชัดเจน วัดอุณหภูมิร่างกาย ก้อจะสูงมากกว่าปกติ เด็กๆมักจะบ่นว่าปวดเมื่อยเนื้อตัว ทั้งๆที่ไม่ได้ออกไปเล่นอะไรมาเลย ที่พบบ่อยหน่อยก้อคือ เขาจะบ่นปวดศีรษะ เบื่อกินอาหาร อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน ลูกน้อยจะซึมลงๆ

และหากโชคร้ายที่สุด ถ้าเป็นไข้เลือดออกขึ้นมาหล่ะก้อ เด็กจะมีไข้สูงลอยๆตลอดเวลา พอให้กินยาพาราลดไข้ ไข้ก็ไม่ค่อยลง หรือพอหมดฤทธิ์ยา ไข้สูงก้อจะกลับมาเป็นใหม่ หากสังเกตุดูเด็กจะมีอาการหน้าแดง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ บ่นว่าปวดท้องคลื่นไส้อาเจียน และในที่สุดมักมีจุดสีแดงๆของเลือด ออกตามผิวหนัง หลังจากมีไข้ภายใน 3-4 วัน
คุณแม่คุณพ่อคือหมอคนแรกที่ดูแลลูก เมื่อเริ่มเป็นโรคหวัด
เมื่อทราบว่าลูกเป็นหวัดอย่าได้ตกใจไปเลย ถึงเวลาหมอประจำบ้านคนแรกของเด็กๆแล้วหล่ะ เริ่มต้นควรให้ความอบอุ่นให้เพียงพอ ถ้าเด็กไอก็ให้ดื่มน้ำอุ่นมากๆจะดีกว่าและปลอดภัย แต่หายังไอถี่ๆ ไอหนักๆ มากกว่าเดิม ให้จิบน้ำมะนาวผสมเกลือและน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง เพื่อขับเสมหะ ถ้ามีอาการไข้ต่ำ ๆ การลดไข้อาจใช้เพียงเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิปกติ
  • ถ้าวัดไข้แล้วยังสูง ควรให้ยาลดไข้ ปรึกษาการใช้ยาได้จากเภสัชกรทันทีเลยครับ
  • ถ้ามีน้ำมูกไหล หมั่นดูแลทำความสะอาดช่องจมูก ใช้สำลีพันปลายไม้ ชุบน้ำอุ่นหรือน้ำเกลือเช็ดในจมูกให้โล่ง โดยเฉพาะก่อนกินอาหารหรือ ก่อนนอน
  • ถ้ามีน้ำมูกเริ่มมากจนคัดจมูก ใช้ลูกยางดูดน้ำมูกออก บรรยากาศที่มีความชื้นพอประมาณจะช่วยให้ การหายใจสบายขึ้น ดังนั้นในห้องที่อากาศแห้งความชื้นต่ำ สามารถเอาน้ำอุ่นใส่ชามให้เด็กหายใจเอาไอน้ำเข้าไปทำให้สบายขึ้นได้
เห็นไหมว่า คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลอาการไข้หวัดให้ลดลงได้ตามวิธีธรรมชาติ ก่อนที่จะเริ่มต้นไปใช้ยาใดๆเสียด้วยซ้ำไป

ถ้าต้องใช้ยา ในกรณีที่การรักษาเบื้องตันไม่ดีขึ้น
            หากอาการที่เล่ามาทั้งหมดยังไม่ดีขึ้น ไข้หวัดโดยทั่ว ๆ ไป อาการมักไม่รุนแรงและหายได้ ขึ้นอยุ่กับภูมิต้านทานของลูกเราเอง ถ้าเขาเป็นเด็กสุขภาพร่างกายพัฒนาตามปกติ แข็งแรงดี ไม่มีโรคแทรกซ้อนอะไร คุณแม่สามารถทำการดูแลเบื้องต้นที่บ้านก่อนก้อได้ ไม่จำเป็นต้องมาพบแพทย์ทันที

แต่ถ้าในกรณีที่เพิ่งเป็นหวัดอาการไม่รุนแรง  แต่ในกรณีที่เป็นเด็กเล็กมากๆ  หรือเด็กเคยมีประวัติมีโรคประจำตัวเช่น หอบหืด โรคหัวใจ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องควรรีบไปหาหมอทันทีครับ

ถ้าจำเป็นต้องใช้ยา ให้ปรึกษาเภสัชกรเสียก่อน แน่นอนและปลอดภัย
ทำไมบางครั้งเราถึงจำเป็นต้องใช้ยามาเป็น “ตัวช่วย” ให้น้องบรรเทาอาการต่างๆด้วยหล่ะ ทั้งนี้แพทย์และเภสัชกรเองได้พบแล้วว่า หากปล่อยให้ร่างกายเด็กน้อยต้องไปสู้กับเชื้อโรคหรืออาการต่างๆแต่เพียงลำพัง อาจจะยังไม่พอ ทั้งนี้ก็เพื่อบรรเทาอาการต่างๆไม่ให้ลุกลาม จนกลายเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆตามมาได้ แต่หากจะใช้ยา อย่างเกรงใจเภสัชกรเลย ให้สอบถาม ทบทวนทุกประเด็นการใช้ยา เพื่อลูกรักจะได้ใช้ยาอย่างได้ผลและปลอดภัย ดังนี้
  • ถ้ายังมีอาการน้ำมูกไหล หรือคัดจมูกแน่นมากๆจนหายใจไม่ค่อยออก อาจเลือกใช้ยาแก้หวัดลดน้ำมูกได้
  •  ยาแก้หวัดกลุ่มที่เรียกว่า ยาต้านฤทธิ์ฮีสตามีน ต้องระวังอย่างมากในเด็กเล็ก ๆ หรือเด็กที่เป็นหอบหืดอยู่เดิมแล้ว ยากลุ่มนี้จะช่วยทำให้ทางเดินหายใจของเขาโล่งขึ้น หายใจสะดวก โดยไปทำให้น้ำมูกแห้งลงและอาการจามฮัดเช้ยน้อยลงไปด้วย
  •  หากลูกเรา มีอาการคัดจมูก รูจมูกบวมแน่นจนหายใจไม่ออก อาจต้องใช้ยากลุ่มพวกที่ลดอาการยุบบวมในจมูก มีทั้งรูปแบบยาพ่นจมูก หรือยากินในรูปแบบยาน้ำ ข้อดีของยากลุ่มนี้ คือออกฤทธิ์เร็วทันใจ ช่วยให้ลูกเราโล่งจมูก หายใจได้ทันที แต่ควรระวังเรื่องขนาดของการใช้ เพราะถ้ามากเกินไปจะเกิดผลตรงกันข้าม ทำให้น้ำมูกจับตัวเป็นก้อนแข็งมากเกินไป ทำให้ไปอุดตันทางเดินหายใจไม่ออก จะยิ่งแย่ลงไปใหญ่ ก่อนใช้ปรึกษาเภสัชกรก่อนนะครับ
  • ส่วนยาปฏิชีวนะ หรือเรียกกันทั่วๆ ไปว่ายาฆ่าเชื้อ หรือยาแก้อักเสบนั้น ไม่ควรให้ในคนไข้เด็ก ในทันทีที่เริ่มต้นมีอาการหวัด เนื่องจากโรคไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัส เราจะเลือกนำมาใช้ก็ในกรณี ภูมิต้านทานเขาไม่แข็งแรงมากพอ เกิดมีผลข้างเคียง จากการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมา หมอจึงจะเลือกจ่ายให้ตามอาการครับ
  •  ที่ร้านยาของตัวเภสัชกรเอง เนื่องจากใกล้โรงพยาบาลเอกชน มักมีคุณแม่บางรายมาขอรบเร้าให้จ่ายยาฆ่าเชื้อไวรัส แบบเดียวกับที่เคยได้รับมาจากโรงพยาบาลเลย ซึ่งไม่แนะนำเลยครับ เนื่องจากยังไม่มียาที่จำเพาะเจาะจงต่อเชื้อไวรัสกลุ่มนี้ อาการของโรคเองก้อไม่รุนแรง การใช้ยากลุ่มนี้อาจมีผลข้างเคียงมาก และราคาของยากลุ่มนี้ก้อสูงมาก เรามักจะสงวนยานี้สำหรับอาการไข้หวัดติดเชื้อไวรัสกลุ่มรุนแรงหรือในกลุ่มคนไข้เด็กที่มีปัญหาเรื่องระบบภูมิต้านทานไม่ปกติครับ

เมื่อไหร่ ควรจะหยุดใช้ยา
เมื่อได้รับวินิจฉัยถูกต้อง พร้อมรับการรักษาครบถ้วนแล้ว เด็กจะเริ่มมีอาการที่ดีขึ้นๆ  ความจำเป็นต้องรับประทานยาต่อหรือไม่ เมื่ออาการดีขึ้น ยาแก้หวัด และลดไข้ก็หยุดได้ แต่คงต้องเฝ้าระวังอาการ ว่าจะมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นหรือไม่ด้วย

เมื่อเด็กหายป่วย ให้เสริมอาหารอีกหนึ่งมื้อเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษทุกวันต่อไปอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ เพื่อจะได้ชดเชยส่วนที่ขาดไป เด็กก็จะได้ฟื้นตัวเร็ว และป้องกันไม่ให้การเจริญเติบโตของเขา จะได้ไม่ถูกกระทบกระเทือนนานเกินไปเนื่องจากป่วยไข้ไป เป็นอย่างไรบ้างครับ สำหรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพลูกรักของคุณแม่คุณพ่อทุกท่านในฤดูฝนที่กำลังเดินทางมาถึงนี้  ขอให้เด็กๆแข็งแรง เติบโตสมวัยในย่างหน้าฝนนี้นะครับ


รูปประกอบจาก 
http://www.4little1.com/assets/Baby-boy-and-Mum.jpg

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ไม่อยากตายไวๆ ต้องทำอย่างไร?


โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันหรือโรคหัวใจขาดเลือด เป็นโรคที่พบบ่อยมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทยปัจจุบันและในขณะนี้พบว่าโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจล้มเหลว มีจำนวนคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันมากเป็นอันดับสองรองจากการประสบอุบัติเหตุ ซึ่งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันนี้มีวิธีในการรักษาอยู่หลายวิธี ได้แก่ การใช้ยาในการรักษา การผ่าตัดต่อหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ (เรียกว่า การผ่าตัดบายพาส) และการใช้บอลลูนเพื่อขยายหลอดเลือดที่ตีบตัน 

ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษา ถึงปัจจัยเสี่ยง สาเหตุ อาการและการรักษาของโรคนี้ให้เข้าใจ เพื่อที่เราจะได้ ลด ละ เลิด สาเหตุที่ทอนหัวใจเราให้เสื่อมลง และเพิ่ม หมั่นทำ ขยันสร้างพฤติกรรมดีๆ ที่จะไปสร้างเสริมหัวใจให้แข็งแกร่งต่อไป



ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

1.เพศ
    พบว่าเพศชายมีอัตราการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันได้มากกว่าเพศหญิง 3 เท่า และมีอัตราการเสียชีวิตในเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึง 5 เท่า


2.ประวัติครอบครัวเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน
ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันก่อนวัยอันควร(ผู้ชาย อายุน้อยกว่า 55 ปี,ผู้หญิงอายุน้อยกว่า 65 ปี)จะมีความเสี่ยงที่ จะเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน
          จากการศึกษาพบว่า ผู้ชายที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจะเพิ่มอัตราเสี่ยงเป็น 2-20เท่าของผู้ชาย ที่ไม่มี ประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ 

3. ภาวะไขมันในเลือดสูง
โคเลสเตอรอลสูง โอกาสการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันจะเพิ่มขึ้นตามระดับโคเลสเตอรอลที่เพิ่มขึ้น
ภาวะต่อไปนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน 

      - โคเลสเตอรอลรวม(Total cholesterol) และ LDL cholesterol สูง

      - HDL cholesterol ต่ำ(จากการศึกษาของ Framingham พบว่าอัตราเสี่ยงการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายจะเพิ่มขึ้น 25%สำหรับทุกๆ 5mg/dLที่ลดลงต่ำกว่าค่ามัธยฐานของ HDL cholesterol ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง)

      - Total cholesterol/HDL cholesterol ratio(อัตราส่วนระหว่างโคเลสเตอรอลและHDL)สูง
         จากการศึกษาพบว่า

• ในผู้ชายที่มีค่า ratio มากกว่าหรือเท่ากับ 6.4 จะมีอัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้น 2-14%เทียบกับในกลุ่มที่มีค่า total cholesterol หรือ LDL cholesterol ระดับเดียวกัน

• ในผู้หญิงที่มีค่า ratio มากกว่าหรือเท่ากับ 5.6 จะมีอัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้น 25-45%เทียบกับในกลุ่มที่มีค่า total cholesterol หรือ LDL cholesterol ระดับเดียวกัน 
ในทางตรงกันข้ามในคนที่มีระดับ ratio เดียวกัน แม้มีระดับ total cholesterol or LDL เพิ่มขึ้นก็ไม่ทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

      ไตรกลีเซอไรด์(Triglyceride) สูง,ระดับ Lp(a)(เป็นไขมันที่เกาะรวมอยู่กับโปรตีนชนิดหนึ่ง เรียกว่า lipoprotein a) สูง

      การรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง เน้นที่การคุมอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูงร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ถ้าไม่ได้ผลจึงใช้ยาลดไขมันในเลือด

     ผลดีของการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง สามารถลดอัตราการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดและอัตราการเสียชีวิต จากโรคหัวใจ ได้ ทั้งในคนที่ไม่เคยเป็นโรคหัวใจมาก่อนและผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว 


4.ความดันโลหิตสูง
        ภาวะความดันโลหิตสูงทำให้มีกล้ามเนื้อหัวใจโตและเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด,หัวใจล้มเหลว,การเสียชีวิต
ฉับพลัน,การเกิดโรคอัมพาตจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง

       ความดันโลหิตที่สูงไม่ว่าจะเป็นความดันโลหิตตัวบน(systolic blood pressure) หรือความดันโลหิตตัวล่าง(diastolic blood pressure)ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดหัวใจและเส้นเลือดสมองตีบตันได้แต่จะมีผลไม่เท่ากันในอายุที่ต่างกัน

       จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่อายุน้อยกว่า 50ปี ความดันตัวล่างจะมีผลต่ออัตราเสี่ยงมากที่สุด
       ผู้ที่อายุ 50-59 ปี ความดันโลหิตทั้งตัวบน ตัวล่างและค่า pulse pressure (ค่าความแตกต่างระหว่าง ความดันโลหิตตัวบนและตัวล่าง) มีผลต่ออัตราเสี่ยงพอๆกัน

       ผู้ที่อายุมากกว่า หรือเท่ากับ 60ปี ค่า pulse pressure จะมีผลต่ออัตราเสี่ยงมากที่สุด

      การรักษาโดยการควบคุมอาหาร จำกัดอาหารเค็ม ร่วมกับการใช้ยาลดความดันโลหิตในรายที่ความดันสูงมากหรือเริ่มมีการทำลายอวัยวะภายในร่วมด้วย

      ผลดีของการรักษาสามารถช่วยลดการเกิดภาวะอัมพาตจากสมองขาดเลือด,การเกิดหัวใจล้มเหลว รวมทั้งภาวะหัวใจขาดเลือดได้



5.Pulse pressure(ค่าความแตกต่างระหว่างความดันโลหิตตัวบนและตัวล่าง)
      ในรายที่มีค่า pulse pressure เพิ่มขึ้น จะเพิ่มอัตราเสี่ยงของการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด


6.เบาหวานและภาวะการควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี( glucose intolerance)
      เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะเส้นเลือดแข็งตีบตัน(atherosclerosis)โดยเฉพาะในผู้หญิง
      การรักษา โดยการควบคุมอาหารจำกัดอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล ร่วมกับการใช้ยาลดระดับน้ำตาล


7.ภาวะการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
      การเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันในผู้หญิงจะเพิ่มขึ้นหลังหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง
      การรักษา โดยการให้ฮอร์โมนเสริมที่มีส่วนผสมของเอสโตรเจนและโปรเจสติน


8.ปัจจัยที่เกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิต(Lifestyle factors)

• การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
       ช่วยป้องกันการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบตันและลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจได้ถึง 23% นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่ม ระดับ HDL cholesterol,ลดความดันโลหิต,ลดน้ำหนักและช่วยให้การคุมเบาหวานดีขึ้น

• การสูบบุหรี่
       เป็นตัวการสำคัญของการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบตัน   ในผู้ที่สูบบุหรี่วันละอย่างน้อย 20 มวนจะเพิ่มอัตราการเกิด กล้ามเนื้อ หัวใจตาย 3 เท่า ในผู้ชาย และ 6 เท่าในผู้หญิงเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ รวมทั้งคนที่สูดควันบุหรี่ก็มีอัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้นด้วย
      -อัตราการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายซ้ำลดลง50% ภายใน 1 ปีของการหยุดสูบบุหรี่ และกลับมาเท่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ภายใน 2 ปี
      -ประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่จะยังคงอยู่ไม่ว่าจะเคยสูบมานานหรือสูบมามากเท่าไรก็ตาม

• อาหาร 
       นอกจากอาหารที่มีไขมันสูงจะเป็นตัวทำให้เกิดเส้นเลือดหัวใจตีบตันแล้ว ยังพบว่าการทานผัก ผลไม้และอาหารที่มีเส้นใย อาหาร สูงจะช่วยลดอัตราเสี่ยงการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบตันและอัมพาตจากเส้นเลือดสมองตีบตัน
       การทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูงจะช่วยลดอัตราการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบตันและอัมพาตจากเส้นเลือดสมองตีบตันลงได้ถึง 40-50% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ทานเส้นใยอาหารต่ำ

• การดื่มสุรา
       มีหลักฐานที่เชื่อได้ว่า การดื่มสุราในขนาดที่เหมาะสมจะช่วยลดอัตราการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบตันได้ 
      จากการศึกษาผู้ชายและผู้หญิงในอเมริกา 490,000รายที่ดื่มสุราในปริมาณที่เหมาะสมพบว่าอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตจาก
โรคเส้นเลือดและหัวใจลดลง เหลือ 0.7ในผู้ชาย และ 0.6ในผู้หญิง เมื่อเทียบกลุ่มที่ไม่ได้ดื่มสุรา ซึ่งเชื่อว่า แอลกอฮอล์ทำให้มี
การเพิ่มของ HDL cholesterol ได้


9.โรคอ้วน 
       มีความสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง,ภาวะ glucose intolerance, ภาวะดื้อต่ออินสุลิน,ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น,ระดับ HDL cholesterolต่ำลง,ระดับ fibrinogenเพิ่มขึ้น

       ความอ้วนเพิ่มอัตราการเสียชีวิตรวมและที่เกิดจากโรคหลอดเลือดและหัวใจ จากการศึกษาพบว่าคนอ้วน(BMIหรือดัชนีมวลร่างกาย มากกว่า หรือเท่ากับ 40)จะมีอัตราการเสียชีวิตโดยรวมสูงที่สุด คิดเป็น 2.7เท่าในผู้ชายและ 1.9เท่าในผู้หญิง

       การศึกษาพบว่าการมีน้ำหนักเพิ่มมากหลังอายุ 20ปีจะเพิ่มโอกาสการเสียชีวิตจากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน เช่นกัน(รายงาน
ในผู้ชายที่ศึกษา 6874 รายเป็นเวลาเกือบ 20 ปี โดยเทียบกันในกลุ่มอายุ,การออกกำลังกาย,การสูบบุหรี่ใกล้เคียงกัน พบว่า 

      อัตราเสี่ยงของการตายจากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ต่ำที่สุดในกลุ่มที่มีน้ำหนักคงที่คือเพิ่มไม่เกิน 4% หลังอายุ 20 ปี
      อัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 1.57 เท่า ในกลุ่มที่มีน้ำหนักเพิ่ม 4-10%
      อัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 2.76 เท่า ในกลุ่มที่มีน้ำหนักเพิ่มมากกว่า 35%)


แหล่งข้อมูล
นักศึกษาคณแพทย์ศาสตร์ ม. ขอนแก่น
http://www.gotoknow.org/posts/499311

รูปประกอบ
http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/1/4/49/th

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ยาที่ใช้รักษามีอะไรบ้าง?


โรคหัวใจตีบตันมีสาเหตุเกี่ยวข้องกับเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจมีลักษณะตีบและอุดตัน โดยมีสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานไขมันมากเกินไปและไขมันไปเกาะที่หลอ ดเลือดหัวใจ ทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงหัวใจไม่สะดวก ส่งผลให้หัวใจขาดออกซิเจน เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ เรามาดูว่ายาที่ใช้ในการรักษามีตัวไหนกันบ้าง


อาการของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
เส้นเลือดหัวใจตีบ มีอาการได้หลายอย่าง อาการที่พบบ่อยคือ อาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือปวดเค้น ในขณะออกกำลังกายคือ ถ้านั่งอยู่เฉยๆอาจไม่รู้สึกว่าเป็นอะไร แต่เมื่อออกแรงเดิน หัวใจต้องการออกซิเจนมากขึ้น ซึ่งต้องขึ้นกับการไหลของเลือดตามหลอดเลือด ถ้าหลอดเลือดตีบเลือดจะไหลได้ไม่พอ จึงเกิดอาการหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อขาดเลือด ซึ่งทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอก บางครั้งอาการจะแสดงเมื่ออาบน้ำเย็นหรือหลังรับประทานอาหาร เนื่องจากหลังรับประทานอาหาร หัวใจจะทำงานมากขึ้น เพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงที่ลำไส้ อาการอื่นๆที่อาจพบได้ ได้แก่ อาการเหนื่อยง่าย ปรกติผู้ป่วยเคยเดินได้ 3-4 กิโลเมตรอย่างสบายแต่ต่อมาผู้ป่วยเดินเพียงครึ่งกิโลเมตร ก็รู้สึกเหนื่อยเร็วกว่าปรกติ บางคนอาจไม่มีอาการอะไรเลยอยู่ดีๆเส้นเลือดหัวใจตันและเกิดอาการแน่นหน้าอกขึ้นมากะทันหันทั้งๆที่ไม่เคยเป็นมาก่อนได้

วิธีการวินิจฉัยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
นอกจากการซักประวัติอาการข้างต้นที่กล่าวมาแล้วนั้น อาจจะต้องมีการตรวจคลื่นหัวใจ ตรวจคลื่นหัวใจขณะออกกำลังลังกายโดยการเดินสายพาน อาจจะต้องตรวจสารกัมมันตภาพรังสีแล้วดูว่าสารกัมมันตภาพรังสีที่เข้าไปในหลอดเลือดหัวใจสม่ำเสมอทุกเส้นหรือไม่ อาจจะต้องไปตรวจด้วยการสวนหัวใจ

ใครบ้างที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

ผู้ที่มีอัตราเสี่ยงต่อเส้นเลือดตีบสูง ได้แก ผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่สูบบุหรี่มานาน นอกจากนั้นผู้ที่มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน ประวัติครอบครัวที่มีคนเป็นโรคหัวใจ ประวัติว่ามีความเครียดในการทำงานเช่น นักธุระกิจที่ทำงานยุ่งเหยิงตลอดวัน ผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายนั่งๆนอนๆอยู่กับบ้าน

การรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

- การรักษาโดยใช้ยา 
- การรักษาโดยการขยายเส้นเลือดที่ตีบด้วยบอลลูน ใส่ขดลวดเข้าไปในเส้นเลือดหัวใจ โดยไม่ต้องผ่าตัด
- การรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งจะมี2วิธีวิธีแรกจะทำการผ่าตัดต่อเส้นเลือดหัวใจ โดยใช้เส้นเลือดจากแขนหรือขา มาต่อค่อมอ้อมจุดที่ตีบตัน ที่เรียกว่า การทำby pass และวิธีที่สองคือการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจใหม่ ซึ่งจะใช้เป็นกรณีสุดท้าย

ยาที่ใช้รักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

ยาสำหรับรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ มีหลายตัวที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่


1. Aspirin
เป็นยากลุ่มแรกที่ใช้กันบ่อยๆ aspirin อาจไม่ใช่ยารักษาโรคหัวใจโดยตรง แต่ยาตัวนี้สามารถป้องกันและลดอัตราเหตุการณ์ร้ายแรงหรือฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้น ช่วยลดอัตราการเกิดการตีบตันของหลอดเลือด ใช้ได้ในทุกกรณีของเส้นเลือดหัวใจตีบไม่ว่าจะก่อนการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหลังกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือในขณะที่เส้นเลือดในหัวใจตันไปหมดแล้ว


2.Nitrate
ยากลุ่มนี้เป็นยาขยายหลอดเลือดหัวใจ ออกฤทธิ์ขยายหลอดดำและหลอดเลือดแดง ยากลุ่มเป็นยาที่เลือกใช้เป็นอันดับแรก ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบได้แก่ ชนิดฉีด ชนิดอมใต้ลิ้น ชนิดพ่น ชนิดแผ่นแปะหน้าอก และชนิดรับประทาน การเลือกใช้ยาชนิดไหนก็จะขึ้นกับระยะเวลาที่ต้องการออกฤทธิ์ เช่น ถ้าผู้ป่วยมีอาการเฉียบพลัน จะใช้ชนิดฉีดเข้าทางน้ำเกลือ ซึ่งออกฤทธิ์รวดเร็วทันที หรือใช้ชนิดอมใต้ลิ้น ชนิดพ่น ซึ่งจะออกฤทธิ์เร็วประมาณ 1-5 นาที ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง ยาที่ใช้รักษาหรือป้องกัน จะเลือกใช้ชนิดชนิดรับประทาน หรือชนิดแผ่นแปะหน้าอก ซึ่งออกฤทธิ์ปานกลางหรือยาวนาน ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ nitroglycerin,Isosorbide niditrate, Isosorbide mononitrate


3. Beta blocker
กลุ่มยาbeta blocker คือยานต้านระบบประสาทอัตโนมัติชนิดเบต้ารีเซพเตอร์ ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์โดยลดการเต้นของหัวใจให้ช้าลงและลดการบีบตัวของหัวใจให้อ่อนลง ช่วยลดการทำงานของหัวใจให้เหมาะสมกับเส้นเลือดที่มีการตีบและไหลได้น้อยลง โดยทำให้ความต้องการออกซิเจนของกล้ามเนื้อลดลงไปพอๆกับปริมาณเลือดที่ไหลน้อยลงไปด้วย ทำให้เกิดการสมดุลขึ้นมา เปรียบเสมือนกับ สินค้าส่งออก กับสินค้านำเข้า ถ้าส่งออกได้น้อย ก็ต้องนำเข้าน้อย เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนใช้กันอยู่ได้โดยไม่เกิดการขาดทุน 
ยาในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มถัดมาที่เราจะพิจารณาใช้หลังจากกลุ่ม nitrate นอกจากนี้ยาในกลุ่มนี้ยังใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูงอีกด้วย ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ propranolol,metoprolol,atenolol


4. Calcium antagonist
กลุ่มยา Calcium antagonist คือยาต้านแคลเซียม เป็นยาซึ่งมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด อาจจะเป็นทั้งหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดส่วนปลาย ซึ่งเราใช้ในการลดความดันด้วย แต่ถ้าเรานำมาใช้ในแง่เส้นเลือดหัวใจตีบ อาจจะช่วยขยายเส้นเลือดหัวใจส่วนที่ยังพอจะขยายออกได้ ยาในกลุ่มนี้ใช้ได้ในกรณีที่ผู้ป่วยยังไม่เคยเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจตายไปแล้วยาตัวนี้อาจได้ผลไม่ดี ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ nifedipine, diltiazem, verapamil


5. ACE inhibitor (Angiotensin Converting Enzyme Inhibitor)
ยากลุ่ม ACE inhibitor ออกฤทธิ์ต้านระบบ renin angioten system ในระบบร่างกาย ช่วยลดไม่ให้หัวใจขยายตัวมากขึ้น ยากลุ่มนี้มักจะใช้ในผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจล้มเหลวร่วมด้วย ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ enalapril, ramipril


6. Trimethazine
เป็นยาเพิ่มพลังงานในหัวใจให้แก่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งเรามักจะใช้ในรายซึ่งรักษาด้วยยาตัวอื่นแล้วไม่ได้ผล


ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย ในยาที่ใช้รักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

ผลข้างเคียงของยาที่เกิดขึ้นไม่มาก ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยมักจะทนต่อยาได้ดี 
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของยา aspirin คือ เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร 
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของยากลุ่ม nitrate ได้แก่ ปวดศีรษะ ความดันโลหิตต่ำ
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของยากลุ่ม beta blocker ได้แก่ มึนงง ไม่สบายท้อง อ่อนล้า
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของยากลุ่ม Calcium antagonist ได้แก่ ปวดศีรษะ หน้าแดง ใจสั่น บวมน้ำ ท้องผูก 
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของยากลุ่ม ACE inhibitor ได้แก่ ไอ ความดันโลหิตต่ำ
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของยากลุ่ม Trimethazine ได้แก่ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ มีไข้ ไม่สบายท้อง


ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
เมื่อทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบแล้ว ต้องทราบว่าโรคนี้เมื่อเป็นแล้วไม่หายขาด การรักษาไม่ว่าจะทำบอลลูน หรือการผ่าตัด by pass เป็นการประทังโรคให้อาการดูดีขึ้น โรคมักจะมีอาการมากขึ้นอย่างช้าๆ หรือว่าเร็วขึ้นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวของเรา ถ้าเราปฏิบัติตัวหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ไม่กินไขมัน ควบคุมความดัน ความคุมเบาหวานให้ดี หยุดการสูบบุหรี่ ก็จะทำให้การดำเนินของโรคช้าลง เพราะฉะนั้น เราต้องรู้จักป้องกันการรุกรานออกไปของโรค ต้องไปพบแพทย์เป็นประจำและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งคัด


แหล่งข้อมูล

 ผศ.ภก. วันชัย ตรียะประเสริฐ

ภาพประกอบ
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhki-tAh6LmssK-L40nkdzP6I50JsgyBXVYUXp1ZeCYetHTthTTmRGhNMutGHslbH8Bx3-H8ufoKT1g9tZVHBwYjlNYK44VyvQfpVi4hNBkVeoF3NvhRUiUIK9P_zNh5FT-eDoUkWuMVDI/s1600/Drug+and+heart.bmp

วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคหัวใจ รักษาอย่างไร? ให้ชีวิตยืนยาว อย่างมีความสุข



ความเป็นจริงแล้วคำว่า"โรคหัวใจ"มีความหมายกว้างมาก   ดังนั้นหากเรามีปัญหาเรื่องโรคหัวใจ อาการเกี่ยวกับระบบหลอดเลือด หัวใจ เบาหวาน อย่าได้ลังเลใจที่จะไปหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยและดูแลรักษาในทันท่วงที อาการ ข้างล่างนี้ แต่อย่างไรก็ตามอาการดังกล่าวก็มิได้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคหัว เรามีแนวทางรักษาโรคดังกล่าวเหล่านี้ มาเป็นแนวทางการรักษาอย่างกว้างๆ จากอาจารย์  นพ.ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา อายุรแพทย์โรคหัวใจ มาเป็นแนวทางเพื่อเราจะได้เข้าใจแนวทางการรักษาต่อไปครับ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

สาเหตุ : หลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน เนื่องจากตะกรันไขมัน และ ลิ่มเลือด ปัจจัยเสี่ยง (อายุ เพศชาย พันธุกรรม ไขมันในเลือด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง บุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย) แม้ไม่มีปัจจัยเสี่ยงก็เป็นได้
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการเจ็บหน้าอก, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ให้ยาลดอัตราการเต้นของหัวใจ ยาขยายหลอดเลือด แอสไพริน (ถ้าไม่มีข้อห้าม) หากควบคุมอาการไม่ได้ดี ควรฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ ขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน หรือ ผ่าตัดหัวใจ (บายพาส) หากเกิดหลอดเลือดอุดตันภายใน 6 ชม. แพทย์อาจพิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือด หรือ ขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนทันที
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากหัวใจเสียมาก บีบตัวน้อย การพยากรณ์โรคไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : งดบุหรี่   รับประทานยาลดไขมันในเลือดให้โคเลสเตอรอลน้อยกว่า 200, LDL น้อยกว่า 70 ควบคุมเบาหวาน ความดันโลหิต ให้ปกติ ออกกำลังกาย ตามสมควร หากแน่นหน้าอกรุนแรงต้องรีบมารพ.ใกล้ที่สุดทันที ยิ่งมาเร็วยิ่งดี

ความดันโลหิตสูง

สาเหตุ : มากกว่าร้อยละ 95 ไม่มีสาเหตุ กลุ่มที่มีสาเหต ุคือ ไตวาย (บ่อยที่สุด) ความผิดปกติของ หลอดเลือด เนื้องอกบางชนิด
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดปัญหาแทรกซ้อนจากความดันสูงในระยะยาว คือ ลดอัมพาต ลดโรคหัวใจ ลดไตวาย แต่ก็ยังไม่สามารถลดได้ 100 % ยังคงเสี่ยงต่อผลแทรกซ้อนดังกล่าวอยู่บ้าง
หลักการรักษา : ควบคุมความดันโลหิตด้วยยา มียาหลายกลุ่มมาก เช่น ยาลดชีพจร ยาต้านแคลเซียม ยาขับปัสสาวะ ยา ACEI ARB ฯลฯ ยาที่ดีควรครอบคลุม 24 ชม. ไม่มียาใดที่ไม่มีผลแทรกซ้อน แต่การไม่รักษา มีผลเสียมากกว่า
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาด ส่วนใหญ่จำเป็นต้องรับประทานยาตลอดไป มากบ้างน้อยบ้าง ส่วนน้อยที่หยุดยาได้ แต่ต้องติดตามวัดความดันโลหิตสม่ำเสมอ
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : ลดอาหารเค็ม รับประทานยาสม่ำเสมอ ลดน้ำหนัก (ถ้าอ้วน) อย่าให้เป็นเ บาหวาน หรือ ไขมันสูง ควรมีเครื่องวัดความดันที่บ้าน เนื่องจากค่าใกล้เคียงกับความจริง มากกว่าวัดที่รพ. (white-coat effect) เลือกรักษาที่สะดวก อย่าเปลี่ยน แพทย์บ่อยๆ หากจำเป็นนำยาเดิมไปด้วยทุกครั้ง

ภาวะหัวใจล้มเหลว

สาเหตุ : โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน กล้ามเนื้อหัวใจตาย ลิ้นหัวใจตีบรั่ว ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจพิการจากสาเหตุต่างๆ เช่น ไวรัส เบาหวาน แอลกอฮอล์ (รวมทั้งไม่มีสาเหตุ)
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการหอบเหนื่อย หรือ บวม, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดน้ำในปอด ยาขยายหลอดเลือดช่วยให้หัวใจ ทำงานสบายขึ้น  ยากระตุ้นหัวใจ นอกจากนั้นแล้ว บางรายต้องรักษาตามสาเหตุด้วย เช่น ผ่าตัดแก้ไขลิ้นหัวใจ ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ เป็นต้น หากหัวใจเต้นผิดจังหวะก็ต้องให้ยาควบคุม
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากหัวใจเสียมาก บีบตัวน้อย การพยากรณ์โรคไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : รับการรักษาสม่ำเสมอ ไม่ควรขาดยา ไม่ซื้อยารับประทานเอง เพราะยา หลายอย่างมีผลแทรกซ้อนมาก   หากแน่นหน้าอก หอบเหนื่อยมาก ต้องรีบมารพ.ใกล้ที่สุดทันที

ลิ้นหัวใจตีบ หรือ รั่ว

สาเหตุ : การติดเชื้อในวัยเด็ก (โรคหัวใจรูห์มาติก) หรือ ติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ เกิดจากความเสื่อมของลิ้นหัวใจ เช่น อายุมาก หรือ เป็นแต่กำเนิด
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการหอบเหนื่อยจากหัวใจล้มเหลว, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา :  รักษาตามอาการ ในกรณีที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว จะให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดน้ำในปอด ยาขยายหลอดเลือดช่วยให้หัวใจ ทำงานสบายขึ้น นอกจากนั้นแล้ว จำเป็นต้อง   ผ่าตัดแก้ไขลิ้นหัวใจด้วย เช่น ซ่อมลิ้น หรือ เปลี่ยนลิ้นหัวใจ   หากหัวใจเต้นผิดจังหวะก็ต้องให้ยาควบคุม ในกรณีที่เป็นน้อยไม่ต้องการ การรักษา
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากลิ้นหัวใจเสียมาก และไม่ผ่าตัดแก้ไข หรือ ผ่าตัดช้าไป การพยากรณ์โรคจะไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : เมื่อลิ้นหัวใจผิดปกติมาก แพทย์แนะนำผ่าตัดก็ควรผ่าตัด หากมีลิ้นหัวใจเทียม ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะโอกาสติดเชื้อสูง เลือดออกง่าย ไม่ควรซื้อยาเองแม้แต่ยาหวัด หากทำฟัน ขูดหินปูน ผ่าตัดใดๆ ต้องแจ้งแพทย์ก่อนทุกครั้ง สำหรับสตรีที่ต้องการตั้งครรภ์ต้องแจ้งแพทย์ก่อนเช่นกัน

กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อน

สาเหตุ : กล้ามเนื้อหัวใจพิการจากสาเหตุต่างๆ เช่น ไวรัส เบาหวาน แอลกอฮอล์ (รวมทั้งไม่มีสาเหตุ)
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการหอบเหนื่อย หรือ บวม, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดน้ำในปอด ยาขยายหลอดเลือดช่วยให้หัวใจ ทำงานสบายขึ้น  ยากระตุ้นหัวใจ นอกจากนั้นแล้ว   หากหัวใจเต้นผิดจังหวะก็ต้องให้ยาควบคุม ในรายที่รุนแรง การรักษาที่ดีที่สุดคือ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากหัวใจเสียมาก บีบตัวน้อย การพยากรณ์โรคไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : งดอาหารเค็ม รับการรักษาสม่ำเสมอ ไม่ควรขาดยา ไม่ซื้อยารับประทานเอง เพราะยา หลายอย่างมีผลแทรกซ้อนมาก   หากแน่นหน้าอก หอบเหนื่อยมาก ต้องรีบมารพ.ใกล้ที่สุดทันที

เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

สาเหตุ : การติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย วัณโรค เอดส์ ไตวาย SLE มะเร็ง (รวมทั้งไม่มีสาเหตุ)
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการเจ็บหน้าอก ลดน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ
หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ให้ยาต้านการอักเสบ รักษาสาเหตุ หากมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ อาจต้องเจาะหรือผ่าตัดระบายออก
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่หายขาดขึ้นกับสาเหตุ   การพยากรณ์โรคขึ้นกับสาเหตุ
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : อาการเยื่อหุ้หัวใจอักเสบจากไวรัส   อาจพบร่วมกับกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบด้วย ซึ่งต้องระวัง เพราะมีโอกาสหัวใจเต้นผิดจังหวะ เสียชีวิตได้

โรคอ้วน

สาเหตุ : อาหารให้พลังงานสูง เช่น ไขมัน ขนมหวาน พันธุกรรม พฤติกรรมการบริโภค
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดน้ำหนัก เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ควบคุมอาหาร ลดมัน ลดหวาน งดแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายมากขึ้น
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : ขึ้นกับความตั้งใจจริงที่จะควบคุมน้ำหนัก
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : ต้องตั้งใจจริง

เบาหวานกับโรคหัวใจ

สาเหตุ : เบาหวานทำให้หลอดเลือดเสื่อมทั้งร่างกาย รวมทั้งหลอดเลือดหัวใจ
จุดมุ่งหมายการรักษา : ป้องกันผลแทรกซ้อนจากเบาหวาน, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา : ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติที่สุด ด้วยการคุมอาหาร ยาลดน้ำตาล ยาฉีดเมื่อจำเป็น หากมีไขมันในเลือดสูงก็ต้องรักษาด้วย
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากมีผลแทรกซ้อน แล้วการพยากรณ์โรคมักไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : หลีกเลี่ยงน้ำตาล น้ำอัดลม ขนมหวาน ผลไม้หวานจัด (เงาะ ลิ้นจี่ ลำใย องุ่น) ใช้นำตาลเทียมแทน ตรวจสุขภาพระบบอื่นๆด้วย เพราะเบาหวานมีผลต่อทุกระบบในร่างกาย

ไขมันในเลือดสูง

สาเหตุ : บริโภคอาหารไขมันสูง พันธุกรรม โรคบางขนิด ร่างกายสร้างไขมันขึ้นเองเป็นส่วนใหญ่
จุดมุ่งหมายการรักษา : ป้องกันผลแทรกซ้อนจากไขมัน หลอดเลือดสมอง หัวใจ ตีบ
หลักการรักษา : ควบคุมไขมันในเลือด โคเลสเตอรอลควรน้อยกว่า 200, LDL น้อยกว่า 100 (น้อยกว่า 70 ในผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือ เบาหวาน) โดยมากมักต้องใช้ยาช่วยจึงจะได้ระดับต่ำขนาดนี้
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : การรักษาเป็นการหวังผลระยะยาว แม้ว่าอาจไม่ได้ผลในการ ป้องกันโรคหัวใจกับทุกคน
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงทุกประเภท ลดน้ำหนัก ออกกำลังกายมากขึ้น

ใจสั่น ใจเต้นแรง

สาเหตุ : อาจเป็นปกติ อาจพบได้ในคนปกติ หรือ โรคอื่นๆที่ไม่ใช่โรคหัวใจก็ได้   หรือ เกิดจากหัวใจ เต้นผิดจังหวะ
จุดมุ่งหมายการรักษา :   ลดอาการ ป้องกันการเกิดอัมพาต (ในกรณีหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด)
หลักการรักษา : ควบคุมการเต้นหัวใจด้วยยา หากไม่ได้ผล หรือ อาการมาก อาจใช้คลื่นวิทยุจี้ทำลาย วงจรไฟฟ้าหัวใจ
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค :   ขึ้นกับชนิดของหัวใจเต้นผิดจังหวะ
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : หัดจับชีพจรตัวเองเมื่อเวลาเกิดอาการ เพราะบางครั้งรู้สึกใจสั่น แต่ความจริงแล้วอัตราการเต้นปกติก็ได้

แหล่งข้อมูล
นพ.ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา อายุรแพทย์โรคหัวใจ
, หลักการรักษาโรคหัวใจ, http://www.thaiheartweb.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538922703&Ntype=2

ภาพประกอบจาก 
http://thedinfographics.com/wp-content/uploads/2011/11/thumb-HeartDisease2.jpeg

วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน วิธีสังเกตุอาการ จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น?


"คุณเภสัช ไม่รู้ทำไม ช่วงนี้ เหนื่อยง่ายจังเลย แค่เดินไปมา ยังไม่ได้ออกกำลังอะไรเลยก้อเพลียซะละ ไม่รู้ว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่นะ? " 

ญาติผู้ใหญ่ของเรา อาจเคยแข็งแรงดี ความดันก้อคุมได้ ไขมันก้อไม่เยอะ 

แต่ทำไมวันนึง ท่านอาจจะมาบ่นกับเราเช่นประโยคข้างบนก้อได้ เราจึงมีบทความที่จะมาช่วยให้เราได้รับรู้ สังเกตุอาการ ของคุณปู่ย่าตายายของเราว่ากำลังมีปัญหาของโรคทางเดินหัวใจและหลอดเลือดที่เกิดได้บ่อยเข้ารุมเร้าหรือไม่?  โรคนี้รู้จักกันดีในชื่อว่า "โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน" ที่เป็นกันเย้อะมากในผู้สูงอายุที่รักของเรา ลองมาดูว่า เรามีวิธีดูแลอาการท่านในเบื้องต้น ได้อย่างไรบ้าง? และให้มั่นใจที่สุด พาท่านไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจร่างกาย จะเป็นทางเลือกต่อไปครับ  




โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ คืออะไร?
ตามปกติหลอดเลือดแดงเปรียบเสมือนท่อน้ำที่มีความยืดหยุ่นสูง โดยเซลล์ผนังด้านในจะเรียบและเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ ตลอดจนสามารถหลั่งสารเพื่อปรับหลอดเลือดให้หดหรือขยาย และเหมาะสมตามความต้องการของอวัยวะนั้นๆ เพื่อให้เลือดไหลผ่านได้อย่างสะดวก เมื่ออายุมากขึ้นหลอดเลือดแดงจะเสียความยืดหยุ่นดังกล่าวตามการใช้งาน โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น คนอ้วน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ผู้ที่สูบบุหรี่ และไม่ออกกำลังกาย ล้วนเป็นปัจจัยให้เกิดกระบวนการซ่อมแซมหลอดเลือดแดงให้เรียบลื่น ด้วนการเคลือบด้วยไขมันทีละเล็กละน้อย โดยไม่ได้แสดงอาการอะไร จนกระทั่งผนังของหลอดเลือดแดงเริ่มหนาตัวเนื่องจากมีไขมันมาสะสมจนเกิดภาวะหลอดเลือดแดงตีบตันในที่สุด   

อาการแสดง โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

 ในระยะแรกมักไม่แสดงอาการผิดปกติ จนกระทั่งเส้นเลือดแดงตีบมากขึ้น จนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงจะเกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก เรียกว่า Angina Pectoris โดยจะมีอาการรู้สึกเหมือนถูกบีบรัดแน่นอึดอัดที่บริเวณหน้าอกตรงกลาง อาจร้าวไปไหล่ซ้ายและแขนซ้าย บางรายอาจร้าวขึ้นไปที่คอ อาการจะมีมากขึ้นเวลาออกแรงหรือทำงานหนักและนั่งพักก็จะดีขึ้น โดยอาการดั่งกล่าวอาจเป็นๆ หายๆ และความรุนแรงจะมากขึ้น หากมีภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบมากขึ้น และบางกรณีที่เกิดมีการอุดตันของเส้นเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน จะแสดงอาการเจ็บหน้าอกฉับพลันทันที มีอาการกระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น บางรายอาจมีการเหนื่อยหอบจากภาวะหัวใจวายร่วมด้วย ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาอย่างเร่งด่วน


     

ปัจจัยเสี่ยงของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ยิ่งเย้อะ ก้อยิ่งเสี่ยง


1. เพศ - อัตราการเกิดโรค พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง 3 เท่า - อัตราการเสียชีวิต พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง 5 เท่า

2. ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบก่อนวัยอันควร (ผู้ชายอายุน้อยกว่า 55 ปี ผู้หญิงอายุน้อยกว่า 65 ปี) จะมีความเสี่ยงการเกิดโรคสูง

3. ความดันโลหิตสูง พบว่า - ผู้ที่อายุน้อยกว่า 50 ปี ความดันโลหิตตัวล่างที่สูงจะมีผลต่ออัตรา เสี่ยงมากที่สุด - ผู้ที่อายุ 50 – 59 ปี ความดันโลหิตทั้งตัวบนตัวล่าง และ Pulse Pressure (ค่าความแตกต่างระหว่างความดันตัวบนและตัวล่าง) ที่ สูงขึ้น มีผลต่ออัตราเสี่ยงของการเกิดโรค - ผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป ค่า Pulse Pressure มีผลต่ออัตราเสี่ยงมากที่ สุด

4. การสูบบุหรี่ เป็นปัจจัยสำคัญ พบว่าผู้ที่สูบบุหรี่วันละ 1 ซอง จะเพิ่มอัตราการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย 3 เท่าในผู้ชาย และ 6 เท่าในผู้หญิง เทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

5. ภาวะไขมันในเลือดสูง พบว่าค่าไขมันคอเลสเตอรอลและไขมันไตรกลีเซอไรด์ที่สูง รวมถึงค่า HLD ต่ำ มีผลต่ออัตราเสี่ยงการเกิดโรคสูง

6. เบาหวาน เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและตีบตัน โดยเฉพาะผู้หญิง

7. ภาวะการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน พบการเกิดโรคนี้สูงขึ้นในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

8. โรคอ้วน พบว่าคนอ้วนที่ค่า Body Mass Index 40 จะมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้ 2 -7 เท่าในผู้ชาย และ 1.9 เท่าในผู้หญิง

การตรวจเพื่อยืนยัน โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

1. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ช่วยในการวินิจฉัยได้ในระดับหนึ่งในกลุ่มที่มีอาการเจ็บหน้าอก หรือมีการตีบของเส้นเลือดหัวใจที่ชัดเจน ซึ่งอาจต้องใช้การตรวจพิเศษชนิดอื่นที่เฉพาะเจาะจง และยืนยันการวินิจฉัยต่อไป

2. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยการวิ่งสายพาน (Exercise Stress Test) เป็นหนึ่งในหลายๆ วิธีที่ช่วยคัดกรองผู้ที่มีเส้นเลือดหัวใจตีบเล็กน้อยและยังไม่มีอาการ แต่เมื่อออกกำลังกายโดยการเดินบนสายพานที่เคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ หัวใจจะเต้นเร็วขึ้นและทำงานหนักขึ้น ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ จะเกิดอาการแน่นหน้าอกขณะออกกำลังกายหรือมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าให้เห็น นอกจากนี้ยังช่วยประเมินความฟิตของร่างกายได้อีกด้วย

3. ตรวจเลือดหาระดับเอนไซม์ของกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Enzyme) ได้แก่ ค่า CPK และ CK-MB, Troponin T, Troponin I ค่าดังกล่าวจะสูงขึ้นเฉพาะกรณีมีกล้ามเนื้อหัวใจตาย

4. การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ เป็นการตรวจที่ใช้เทคโนโลยีเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ มาตรวจหาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ สามารถประเมินเส้นเลือดหัวใจว่าตีบกี่เส้นและตีบมากน้อยแค่ไหนได้อย่างแม่นยำ

5. การตรวจโดยวิธี Nuclear Scan เป็นวิธีการตรวจโดยฉีดสารรังสีเข้ากระแสเลือด แล้วใช้เครื่องสแกนวัดว่ากล้ามเนื้อหัวใจส่วนไหนขาดเลือด เป็นวิธีที่ค่อนข้างแม่นยำสูง แต่ค่อนข้างยุ่งยากในการทำ

6. การตรวจหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้คลื่นแม่เหล็ก (Cardiac MRI) เป็นการตรวจที่แสดงให้เห็นภาพของหัวใจทั้งขนาดหัวใจ การทำงานของหัวใจ รวมถึงเห็นรายละเอียดของกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือดหัวใจว่าตีบหรือไม่ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ แต่มีข้อจำกัดคือราคาแพงมาก และมีที่ใช้เฉพาะโรงพยาบาลใหญ่ๆ เท่านั้น

7. การสวนหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiogram) เป็นการตรวจโดยใส่สายสวนเข้าไปทางหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบหรือแขน จนถึงหลอดเลือดหัวใจโดยตรง เพื่อฉีดสารทึบแสงรังสี ดูรายละเอียดของหลอดเลือดหัวใจ สามารถบอกได้ว่าเส้นเลือดหัวใจตีบกี่เส้น ตีบมากน้อยแค่ไหน เป็นการตรวจที่แม่นยำสูงสุด และยังสามารถทำการรักษาต่อทันทีที่พบหลอดเลือดตีบ ด้วยการขยายด้วยบอลลูนหรือใส่ขดลวด (Stent) ข้อเสีย เป็นการตรวจที่มีค่าใช้จ่ายสูง และมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น หลอดเลือดปริฉีกขาด แม้จะมีโอกาสเกิดน้อยมากในมือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็ตาม

แหล่งข้อมูล

รู้ได้อย่างไรว่าเป็น โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

http://www.insurefordream.com/disease_coronary_artery_disease.html