วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

บริหารร้านยาอย่างไร ให้ทุกคนรัก โดยเภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


ร้านยา "หน้าเงินเภสัช" ผมเปิดมาเพื่อหาเงินมาเติมในกระเป๋าตัวเอง อยากรวยครับ

ร้านยาดิฉัน "จานบินสวรรค์ฟาร์มาซี" เปิดมาเพื่อทำบุญ 
เผื่อแแผ่ชาวประชาค่ะ

ร้านยาของลุง "เภสัชประชานิยม" แจกยาไปเลย เพื่อสร้างคะแนนเสียง เตรียมสมัครเป็นผู้แทนว่ะ ฮ่า ฮ่า เอิ้ก...

เราไม่ได้อยู่ในโลกเล็กๆใบนี้คนเดียว มีคำถามมาว่าหากเราเปิดร้านยามาแล้ว เราต้องไปใส่ใจเอาใจใครกันแน่ ร้านเราเองนี่นา เงินลงทุนก้อเงินพ่อเรา ลูกค้าแถวนี้ก้ออุดหนุนเราดี สารวัตรยาหรือสรรพากรก้อไม่ค่อยมายุ่งมากนัก? หากทบทวนคำตอบที่ได้จาก ภญ.สวงสุดา อุตรศักดิ์ ที่มาบรรยายในงานอบรมของสมาคม
เรามาดูคำตอบว่าเปิดร้านยามาแล้วเราต้องคำนึงถึงใครกันบ้างนะ

 อาจารย์แอ้ได้อธิบายว่าเราเปิดร้านยามาแล้ว เพื่อพาหน่วยงานเราไปบรรลุเป้าหมาย และหากจะเดินทางไปสู่ความสำเร็จได้ เราต้องคำนึงถึงฝ่ายต่างๆที่เราเรียกว่า stakeholders ที่มีส่วยเกี่ยวข้องทั้งใกล้ชิดและห่างไกล แต่ทุกฝ่ายมีผลต่อการทำงานของร้านยาเรา ไม่มีเขา เราย่อมไปไม่ถึงฝัน

Stakeholder คืออะไร?
คำนี้ เดิมหมายถึง คนกลางที่ถือเงินเดิมพันในการพนัน แต่ปัจจุบัน Stakeholder น่าจะมาจาก Stake + Holder  โดย Stake หมายถึง ผลประโยชน์หรือส่วนได้ส่วนเสีย ส่วน Holder หมายถึง ผู้ถือหรือผู้ได้ประโยชน์ Stakeholder จึงหมายถึง ผู้ถือหรือผู้ได้ประโยชน์ร่วมกันของเงินหรือทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
        
ในธุรกิจร้านยานั้น เราจะพิจารณาเริ่มต้นก่อนเลยว่า หากเราเปิดร้านมาแล้ว ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากร้านเรามีใครมั่ง หากร้านเราเปิด หรือปิดลงไป ใครบ้างจะต้องรับผิดชอบต่อความเสี่ยงหรือสูญเสียผลประโยชน์อยู่ด้วยเสมอ

การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders Analysis)
  ทำไมต้องมีการวิเคราะห์เช่นนี้ด้วยหล่ะ เพราะเราไม่สามารถเปิดร้านหรือผลักให้ธุรกิจเราสำเร็จไปได้ด้วยเราเพียงคนเดียว เราต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์   พันธกิจ   และเป้าประสงค์หลักของร้านเราได้ถูกต้องและเหมาะสม เนื่องจากหน่วยงานไม่เพียงแต่มีความผูกพันกับเจ้าของทุนและลูกค้าผู้รับบริการเท่านั้น แต่ยังมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ อีกด้วย..เย้อะ

ผู้มีส่วนได้เสียต่อองค์กร (Stakeholder   Influence)
ซึ่งมีอิทธิพลต่อการวางแผนและ
การดำเนินงานของร้านยาเรา จำแนกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
           (1) ผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร (Internal Stakeholders) ได้แก่ เจ้าของทุนหรือหุ้นส่วน เจ้าของพื้นที่เช่า staff ผู้บริหารทุกระดับและ เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงาน ทุกท่าน

           (2) ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในการรับบริการ (Marketplace Stakeholders) เช่น คนไข้ผู้มารับบริการ พันธมิตรต่างๆเช่น suppliers ผู้รับจ้างต่างๆ เช่นผู้รับเหมาตกแต่งร้าน ผู้จัดทำบัญชี   เป็นต้น

          (3) ผู้มีส่วนได้เสียในสังคมแต่อยู่นอกองค์กร (External Stakeholders)  เช่น   คณะกรรมการอาหารและยา คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สถาบันการเงิน  สมาคมวิชาชีพต่างๆ สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม  และที่ขาดไม่ได้ องค์กรพัฒนาเอกชน  และสื่อมวลชน  รวมทั้งกลุ่มการเมืองที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ  เป็นต้น 

ผู้มีส่วนได้เสียกับร้านยา เค้าอยากได้อะไร
ผู้มีส่วนในองค์การแต่ละกลุ่ม แต่ละประเภทมีวัตถุประสงค์ในรายละเอียดแตกต่างกันดังต่อไปนี้
-                             ผู้ถือหุ้น เจ้าของทุน ต้องการกำไรและเงินปันผลงามๆ
-                             เจ้าของพื้นที่ให้เช่า ต้องการค่าเช่าสมใจ และจ่ายตรงเวลา
-                             คนไข้ต้องการบริการที่ดี ราคายาที่สมเหตุ
-                             พนักงานของเราต้องการ ค่าจ้าง และความก้าวหน้าในการทำงาน
-                             สำนักงาน อย. ก้ออยากได้ร้านยาที่ปฎิบัติตามกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องกัน
-                             ผู้ขายวัตถุดิบหรือสินค้า (Supplier) ต้องการรายได้ที่ดีจากการขายวัตถุดิบหรือสินค้า
-                             ชุมชนท้องถิ่นต้องการร้านยาที่ไม่ทำลายสังคมความเป็นอยู่
และการปกป้องสภาพแวดล้อม

บริหารร้านยาอย่างไร ให้ทุกคนรัก
ถ้าจะตามใจ เอาใจใส่ทุกคน ถ้าให้ทุกอย่างตามที่แต่ละฝ่ายอยากได้ เภสัชกรเจ้าของร้าน คงปวดหัวตายไปเสียก่อนจะเปิดร้าน หลักของ  ความรับผิดชอบที่เป็นภาระที่มีต่อส่วนรวม เรามีหลักคิดดังนี้
1.       ผู้บริหารต้องรับผิดชอบในการทำกำไรให้กับผู้ถือหุ้น ขณะเดียวกันก็ต้องถูก กฎหมายด้วย
ในแง่ของผู้ถือหุ้นมักจะไม่คิดว่ากำไรที่ได้นั้นถูกกฎหมายหรือผิดกฎหมาย หากผู้บริหารไม่สามารถบริหารร้านให้ได้กำไร ผู้ถือหุ้นก็จะไม่ชอบใจเพราะเป้าหมายของการลงทุนก็คือต้องการกำไร แต่ถ้าผู้บริหารมุ่งไปที่กำไรมากเกินไปมักจะนำไปสู่ความผิดทางกฎหมาย เช่นหายาผิดกฎหมายแต่กำไรเย้อะๆ

 หากต้องการกำไรมากก็ต้องลดค่าใช้จ่าย ไม่คำนึงสภาพแวดล้อม ไม่คำนึงถึงพนักงานและผู้บริโภค ดูเหมือนว่าการปฏิบัติตามกฎหมายจะส่งผลต่อกำไรของบริษัทลดลง แต่ถ้าทำผิดกฎหมาย กำไรของบริษัทจะเพิ่มขึ้น ผู้บริหารสามารถหาความสมดุลระหว่างทั้งสองได้คือปฏิบัติตามกฎหมายและมีกำไรพอสมควร

2.      กำไรนับว่าเป็นสิ่งจูงใจขั้นต้นของผู้บริหาร แต่เงินสดก็เป็นปัจจัยในการบริหารงาน บริษัทที่มีกำไรมากและนำกำไรไปจ่ายเป็นเงินปันผลก็อาจทำให้ขาดแคลนเงินสด การขาดแคลนเงินสดจะทำให้การดำเนินงานหยุดชะงักซึ่งเรียกว่ามีกำไรแต่ขาดสภาพคล่อง ผู้บริหารจะต้องพิจารณาความเหมาะสมในการรักษาสภาพคล่องกับกำไร ขณะเดียวกันเมื่อมีกำไรก็ต้องนำส่วนหนึ่งไปลงทุน ส่วนหนึ่งจ่ายเป็นเงินปันผลและอีกส่วนใช้สำหรับการดำเนินงานตามปกติ

3.      แนวความคิดที่ว่าความรับผิดชอบทางการเงินกับความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นสิ่งที่ต้องเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นคือ ถ้าต้องการกำไรสูงความรับผิดชอบต่อสังคมก็ต่ำ และถ้าต้องการรับผิดชอบสังคมให้มากกำไรที่ได้ก็ลดลง จะทำอย่างไรให้เกิดขึ้นทั้งสองอย่าง ผู้บริหารองค์การสามารถใช้กลยุทธ์ที่ไม่ทำกำไรสูง เพื่อเอาใจผู้ถือหุ้นฝ่ายเดียวหรือรับผิดชอบต่อสังคมมากจนผู้ถือหุ้นไม่พอใจ หากผู้บริหารมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนในองค์การทุกฝ่าย ทั้งผู้ถือหุ้น พนักงาน ชุมชน ลูกค้า ลูกหนี้ เจ้าหนี้ และสังคมโดยส่วนรวมจะทำให้องค์การก่อให้เกิดความรับผิดชอบทางการเงินและความรับผิดชอบต่อสังคมพร้อมๆ กัน

ลองพิจารณาดูนะครับ ว่าเราจะสมดุลย์ทุกฝ่ายได้อย่างไร จัดว่าเป็นศิลปะชิ้นงามของการเปิดร้านยาเลยทีเดียว


แหล่งข้อมูล
Stakeholder Analysis
Winning Support for Your Projects

Wal-Mart: Staying on Top of the Fortune 500 A Case Study on Wal-Mart Stores Inc. This case study was produced for the Corporate Strategy and Public Affairs Lecture, The Graduate School of Political Management, George Washington University. April 2002, Washington DC, Contributors to this Report: Patrick Hayden, Seung Lee, Kate McMahon, Mike Pereira
The case study is an examination of how Wal-Mart's Corporate Strategy affects its Public Affairs and Government Relations Strategy , http://allman.rhon.itam.mx/~oromero/Wal_Mart_CaseStudy.pdf


Creating a Strategic plan , Retail Concepts

Business Planning Papers:
Developing a Strategic Plan, http://www.planware.org/strategicplan.htm

สุดาวรรณ เต็มเปี่ยม, การบริหารผู้ได้ประโยชน์ (Stakeholder Management)

มาทบทวนความรู้เรื่องแผนกันเถอะ (PART1), http://web1.mfu.ac.th/division/planblog/?p=647

 รูปประกอบจาก  http://www.apcoworldwide.com/content/viewpoints/reputation/_assets/pdf/RoRIndicator_Summary.pdf

และ
http://www.pmhh.com/files/image/other/pharmacy(1).jpg



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น