วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โรคผิวหนังอักเสบ ทำไมจึงเป็นและการรักษา โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


ถ้าคุณเคยพบว่าผิวสวยงามของคุณ วันหนึ่งไปโดนอะไรมาก็ไม่รู้ ผิวมันแห้งมากๆ แตกเป็นร่อง ทิ้งไว้แป้บเดียวก็จะบวม แดง มีตุ่มน้ำใสๆ แตกแห้งเป็นสะเก็ด ถ้าไม่รักษาเลย ผิวตรงนั้นก็จะหนาไปเลย อาการที่ว่ามาเป็นอาการของโรคผิวหนังอักเสบซึ่งนับเป็นกลุ่มโรคทางผิวหนังที่พบได้บ่อยที่สุด มารู้จักสาเหตุและแนวทางการรักษาเบื้องต้นจากเภสัชกรกันนะครับ

ทำไมเราจึงคันคะเยอ/ กลไกของโรค
 ปกติร่างกายเราจะมีระบบภูมิต้านทานที่เป็นทหารยามคอยปกป้องไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปทำอันตรายต่อภายในได้ (ท่านที่เคยตามอ่านบทความของผมอยู่ สามารถตามไปอ่านรายละเอียดได้ในหัวข้อเรื่องโรคภูมิแพ้นะครับ) อยู่มาวันหนึ่งพอมีสารเคมีหรือสารก่ออาการอักเสบเดินทางเข้าไปสัมผัสกับผิวของเรา ร่างกายจะปกป้องและต่อต้านสารดังกล่าวโดยมีกลไกเป็น ปฏิกิริยาภูมิแพ้ชนิดที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ โดยสารเคมีที่เป็นต้นเหตุจะรวมกับโปรตีนในผิวหนัง เกิดเป็นตัวกระตุ้นเม็ดเลือดขาวให้สร้างภูมิต้านทานขึ้น การกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานจะเกิดขึ้นหลังจากสัมผัสสารนั้นเป็นครั้งแรก ประมาณ 5 วัน หรืออาจนานหลายปีก็ได้

พอผิวที่โดนกระตุ้นแล้ว เมื่อไปสัมผัสกับสารที่แพ้อีกจะเกิดปฏิกิริยาที่ผิวหนัง ภายในเวลา 12 ถึง 48 ชั่วโมง บางรายที่บอบบางหน่อยก็อาจเกิดได้เร็วแค่เพียง 4 ชั่วโมง แต่บางรายอาจเนิ่นช้าไปถึง 72 ชั่วโมง หรือ 3 วันก็ได้

สาเหตุ/ถ้ารู้ได้ ก้อหายไว
1. เกิดจากร่างกายของคุณเองมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระบางอย่างภายใน แล้วแสดงอาการออกมาทางผิวหนังขึ้นได้

2. เกิดจากสาเหตุภายนอก โดยการที่คุณเองไปสัมผัสกับสิ่งแปลกปลอมแล้วทำให้ขบวนการอักเสบขึ้น สารเหล่านี้อาจมีฤทธิ์ระคายเคืองต่อผิวโดยตรง ถ้าสารนั้นมีความเข้มข้นมากๆและระยะเวลาที่สัมผัสเป็นเวลายิ่งนาน ก็จะยิ่งมีอาการมากขึ้น

รู้ได้ไงว่าเป็นโรคนี้/ให้สังเกตุจากอาการ
•ตำแหน่งของโรคที่พบมากที่สุดได้แก่ บริเวณฝ่ามือ แขน และฝ่าเท้า เพราะเป็นอวัยวะของร่างกาย ที่มีโอกาสสัมผัสกับสารก่ออาการอักเสบได้มากที่สุด

•เมื่อผิวคุณไปโดนสารก่ออาการอักเสบเช่นกรดหรือด่างที่มีความเข้มข้นสูงๆ เมื่อมาสัมผัสผิวเข้าจะเกิดอาการบวม แดง อาจถึงกับพอง หรือเป็นตุ่มน้ำ

•หากไปสัมผัสสารชนิดเจือจางอ่อนๆ ตอนแรกๆ ผิวของคุณจะทำหน้าที่เป็นด่านกั้นให้ก่อน การอักเสบจะค่อยๆทวีมากเมื่อถูกสารนั้นซ้ำเข้าอีกหลายครั้งๆ ทำให้หนังกำพร้า (คุณสามารถทำความเข้าใจกับโครงสร้างของผิวคุณได้ โดยตามไปอ่านในตอนโรคผิวหนังที่พบบ่อย ตอนรู้จักผิวหนังของเรากันก่อน) ชั้นนอกสุดของผิวหนังซึ่งทำหน้าที่รักษาความชื้น จะถูกทำลายไปก่อน หลังจากนั้นผิวหนังจะแห้งและแตกในที่สุด ทำให้ด่านแรกของผิวหนังสูญเสียคุณสมบัติในการป้องกันการซึมเข้ามาของสารเคมี เข้ามาสู่ผิวชั้นในๆถัดไปด้วย ต่อมาผิวจะแห้ง แตกเป็นร่อง เมื่อเป็นมากขึ้นจะบวม แดง มีตุ่ม หรืออาจมีตุ่มน้ำใสๆ ต่อมาแตกแห้งเป็นสะเก็ด เมื่อนานเข้าผิวจะหนา

การรักษาอย่างไร ให้หายสนิท
 • ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจและพิสูจน์ว่าแพ้สารอะไร และเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง โดยที่คุณอาจโดนทดสอบโดยเอาสารที่สงสัยในความเข้มข้นที่พอเหมาะปิดบนผิวหนังทิ้งไว้ 48 ชั่วโมง ถ้าเปิดดูพบว่า ผิวอักเสบ แดง บวม หรือเป็นตุ่มน้ำ แสดงว่าแพ้สารที่ทดสอบครับ

•หลีกเลี่ยงไม่สัมผัสกับสารระคายเคืองต่างๆ หากจำเป็นควรใช้ถุงมือ สวมป้องกันผิวหนัง

•การรักษาระยะเฉียบพลันจะใช้การชะล้างแผลจะช่วยให้ผื่นสะอาด โดยชะล้างน้ำเหลือง หนอง และสะเก็ดออก ความเย็นจะช่วยลดการอักเสบและอาการคัน นอกจากนั้นยังทำให้ผิวชุ่มน้ำ ยาซึมได้ดีขึ้น

•การใช้ยาในการรักษา เราอาจเริ่มต้นได้รับยาในรูปของครีม เจลหรือขี้ผึ้ง ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์อย่างเจาะจงต่อพื้นที่ที่ทายา โดยจะช่วยลดการอักเสบและอาการคัน ระยะเวลาการบรรเทาอาการต่างๆขึ้นอยู่กับชนิดของยา

•ส่วนยารับประทาน แพทย์จะให้ยาในกรณีที่คนไข้มีพื้นที่อักเสบเป็นบริเวณกว้าง ไม่สะดวกต่อการทายา การใช้ยาแบบนี้จะให้ความสะดวกมากกว่าการทายาในแต่ละพื้นที่อักเสบ และเวลาการใช้ยาก็มักจะสะดวกกว่าโดยอาจรับประทานเพียงแค่วันละหนึ่งครั้งเท่านั้น

•ในรายที่เรามีเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เป็นแผล ฝี หนอง ก็จะได้รับยาปฏิชีวนะร่วมด้วยเพื่อจัดการที่สาเหตุโดยตรง

•รายที่เป็นเรื้อรัง อาจใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะหาย บางรายหาย ผิวดูเหมือนปกติแล้วแต่เกิดเป็นตุ่มน้ำได้อีกบ่อยๆ ทั้งนี้เพราะคุณสมบัติของผิวหนัง ในการรักษาความชื้นยังไม่กลับเป็นปกตินั่นเอง กรณีนี้ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารระคายเคืองอย่างเข้มงวดนะครับ

หากคุณๆอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการโรคผิวหนังต่างๆ สามารถขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้จากเภสัชกรใจดีที่ร้านยาหได้เลยครับ พวกเราเภสัชกรยินดีและเต็มใจรับใช้พี่น้องครับ
หวังว่า คงเข้าใจดีแล้วนะครับ ถ้ามีอาการที่เล่ามาก้ออย่าได้วางใจเพราะสมัยนี้การเคลื่อนตัวของเชื้อโรคนั้นเร็วมั่กๆเลย คุณพ่อคุณแม่ที่รักทั้งหลายมีคำถามสุขภาพลูกรักอะไร ก้อส่งอีเมลล์มาถามเภสัชกรได้เลยนะครับ


แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 24 สค. 2555

ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

Contact dermatitis: MedlinePlus Medical Encyclopedia, www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000869.htm

นพ. วิวัฒน กอกิจ. Et al., Clinical practice guideline for exfoliative dermatitis, http://thaigovweb.com/mophweb/file/doc/news21193-121209-173214.pdf

Bradley D Shy, MD, Staff Physician, Department of Emergency Medicine, New York University School of Medicine/Bellevue Hospital Center, Coauthor(s): David Todd Schwartz, MD, Associate Professor of Emergency Medicine, New York University School of Medicine; Attending Physician, Department of Emergency Medicine, Bellevue Hospital Center and New York University Medical Center, Contact Dermatitis in Emergency Medicine: eMedicine Emergency Medicine, http://emedicine.medscape.com/article/762139-overview


Contact Dermatitis, www.mayoclinic.com

10 Home Remedies for Eczema, Rebecca Watkins,


Management of atopic eczema in primary care.,

Atopic eczema in children. Management of atopic eczema in children from birth up to the age of 12 years., National Collaborating Centre for Women's and Children's Health. Atopic eczema in children. Management of atopic eczema in children from birth up to the age of 12 years. London (UK): National Institute for Health and Clinical Excellence (NICE); 2007 Dec. 39 p. (Clinical guideline; no. 57). http://guidelines.gov/content.aspx?id=12113

Management of atopic eczema in primary care
A national clinical guideline, Scottish Intercollegiate Guidelines Network (SIGN). Management of atopic eczema in primary care. Edinburgh: SIGN; 2011. (SIGN publication no. 125). [March 2011]. http://www.sign.ac.uk/pdf/sign125.pdf

โรคผิวหนังอักเสบ ทำไมจึงเป็นและการรักษา โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

โรคผิวหนังอักเสบ ป้องกันอย่างไรไม่ให้กลับมาเป็นอีก โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ผื่นผิวหนังอักเสบ น้ำเหลืองไม่ดีเลย โดนอะไรก้อคันไปหมด

ยาทาสเตียรอยด์กับโรคผิวหนังอักเสบ Contact Dermatitis โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

โรคภูมิแพ้คืออะไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/10/29/entry-2

ยาทาสเตียรอยด์กับโรคผิวหนังอักเสบ Contact Dermatitis โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

โรคผิวหนังที่พบบ่อย ตอนรู้จักผิวหนังของเรากันก่อน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/12/25/entry-1

ผื่นผิวหนังอักเสบ น้ำเหลืองไม่ดีเลย โดนอะไรก้อคันไปหมด

นพ.ชูชัย ตั้งเลิศสัมพันธ์, Eczema, Medical Focus, ปีที่ 1 ฉบับที่ 9 กันยายน 2552 หน้า 23-25

นพ. อมรชัย หาญผดุงธรรมะ, ผิวหนังอักเสบ, นิตยสารใกล้หมอ 2 กุมภาพันธ์ 2544

แนวทางในการใช Topical Steroid, www.med.cmu.ac.th/dept/family/.../en/pdf-guideline

รูปประกอบจาก

http://www.medicinenet.com/eczema/article.htm

Eczema (Atopic Dermatitis) Pictures Slideshow: Causes, Symptoms and Treatment



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น