ความดีใจหรือกังวลใจของคู่รักทั้งหลายเมื่ออยู่กันได้ในซักระยะหนึ่งแห่งความรัก แล้วพบว่าคุณผู้หญิงเริ่มมีอาการประจำเดือนขาดหายไป คงสงสัยว่าว่า “เอ๊ะ นี่เรากำลังตั้งครรภ์หรือไม่?” หรือจะเป็นสาเหตุอื่นๆที่ทำให้ประจำเดือนหายไปกันแน่นะ มาฟังคำตอบจากเภสัชกรหนุ่มหล่อ เพื่อให้รู้จักวิธีการทดสอบเพื่อให้แน่ใจอย่างไรว่าเรากำลังจะมีทายาทรักมาชื่นชม
ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ เชื่อถือได้แค่ไหน?
การทดสอบการตั้งครรภ์ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเป็นชุดทดสอบสำเร็จรูปหลายแบบ เช่นดูจากแถบสี หยดทดสอบ หรือใช้น้ำยาสำเร็จรูปตรวจในห้องแลป แต่ละวิธีจะมีวิธีการใช้และข้อจำกัดแตกต่างกันไป ปัจจุบันนี้มีการทดสอบการตั้งครรภ์แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ
1.การทดสอบด้วยตนเอง
ทำได้ง่ายโดยการทดสอบจากปัสสาวะของผู้ที่สงสัยว่าจะตั้งครรภ์ ด้วยชุดทดสอบสำเร็จรูปที่วางจำหน่ายหลักการทดสอบนี้เป็นหลักการเดียวกับการทดสอบในโรงพยาบาล มีหลักว่าการตรวจสอบหาฮอร์โมนเอสซีจี (HCG) ในปัสสาวะ ซึ่งฮอร์โมนนี้จะมีการสร้างโดยเซลล์ตัวอ่อนของมนุษย์
สามารถทำได้ง่ายและตรวจได้ทันทีที่มีการปฏิสนธิ และเติบโตของเซลล์ตัวอ่อนในมดลูก แต่ควรระวังเพราะว่าวิธีนี้มีจุดอ่อน ตรงที่ปริมาณของฮอร์โมนที่ว่านี้จะถูกขับออกมาในปัสสาวะแม่ เมื่อมีปริมาณมากพอในระดับหนึ่ง โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณวันที่ 14 ของการปฏิสนธิ คือทันทีที่รอบเดือนไม่มาตามกำหนด ทำให้การตรวจสอบฮอร์โมนในปัสสาวะ ยังมีความคลาดเคลื่อนได้
เนื่องจากวิธีนี้ง่ายและสะดวก ความแม่นยำของชุดทดสอบด้วยตนเอง ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต ราคา และการเก็บรักษาจึงควรปรึกษาเภสัชกรเพื่อหายี่ห้อที่น่าเชื่อถือที่สุด
ข้อควรระวังในการทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยตนเอง คือ ไม่ว่าผลการทดสอบจะเป็นบวกหรือลบ อย่าวางใจควรไปได้รับการตรวจเพิ่มเติมจากแพทย์ได้อีก กรณีที่ผลการทดสอบเป็นบวก การตรวจจะช่วยเพิ่มความมั่นใจต่อการวินิจฉัยการตั้งครรภ์ และเราจะได้ตรวจร่างกายเพื่อเตรียมดูแลสุขภาพของหญิงมีครรภ์ต่อไป หากแต่เป็นลบ แพทย์จะได้ตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุอื่นๆต่อไป
2.การตรวจทางห้องทดลอง
ใช้หลักการตรวจวัดหาฮอร์โมนเอชจีซี ในปัสสาวะหรือในเลือด ซึ่งการทดสอบนี้มีความแม่นยำและเชื่อถือได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ และสามารถตรวจสอบได้ตั้งแต่วันที่ 7-10 ของการปฏิสนธิ การตรวจทางห้องทดลองจะให้ผลแม่นยำ ต่อเมื่อเป็นการทดสอบโดยห้องแลปที่มีอุปกรณ์มาตรฐานและตรวจสอบสม่ำเสมอและโดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกอบรม
การตรวจทางห้องแลป บางแห่งจะต้องใช้ปัสสาวะตื่นนอนเช้าเป็นครั้งแรกเป็นสิ่งทดสอบ ซึ่งท่านต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด มิฉะนั้นท่านจะต้องเสียเวลาในการตรวจซ้ำหรือได้ผลการตรวจที่ผิด-พลาด ในปัจจุบันโรงพยาบาลทั่วไป มักจะไม่จำกัด กล่าวคือ ใช้ปัสสาวะในช่วงไหนของวันก็สามารถนำมาตรวจสอบได้
ตรวจแล้วเชื่อถือได้แค่ไหน?
การทดสอบการตั้งครรภ์ทั้งสองวิธีจะมีความแม่นยำและเชื่อถือได้ในการทดสอบที่ให้ผลบวก แต่ก็มีความคลาดเคลื่อนไปได้เช่นกัน ควรได้รับการตรวจจากแพทย์ผู้ชำนาญอีกครั้งหนึ่ง
หลังจากหาซื้อชุดทดสอบที่มีคุณภาพจากแหล่งที่เชื่อถือและตรวจสอบได้ กลับมาที่บ้านก่อนใช้ เพื่อความมั่นใจว่าการทดสอบด้วยตนเองไม่ผิดพลาด เราควรปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
1. อ่านคำแนะนำการใช้ชุดทดสอบอย่างละเอียดและทำความเข้าใจ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำนั้น ๆ อย่างเคร่งครัด เช่น การใช้ปัสสาวะตื่นนอนเช้าครั้งแรก ไม่ว่าคุณจะร้อนใจที่จะทราบผลการตรวจสอบเร็วเพียงใด คุณต้องใจเย็นรอวันรุ่งขึ้นที่จะเก็บปัสสาวะ ตื่นนอนเช้าครั้งแรกมาใช้ในการทดสอบ
2. เตรียมนาฬิกาใช้จับเวลาที่จะทดสอบ
3. ขณะรอเวลาอ่านผล ไม่ควรให้ภาชนะหรือชุดทดสอบอยู่ใกล้ของที่มีความร้อนสูง
4. ในการทดสอบซ้ำ ควรเว้นระยะห่างจากการทดสอบครั้งแรก อย่างน้อย 2-3 วัน
ตอนต่อไป มาดูว่าการแท้งลูกตามธรรมชาติ เกิดได้อย่างไร
อยากทราบทุกคำตอบของเรื่องยา กรุณาส่งซองคำถามของคุณมาได้ที่ utaisuk@gmail.com หรือแวะไปที่ Facebook “UTAI SUKVIWATSIRIKUL” หรือ “PHARMATREE” ยินดีตอบรับทุกท่านครับ
แหล่งข้อมูล
•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 1 มีค. 2555
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้นผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url addressไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
· รูปประกอบจากเว็บไซต์
Abortion, U.S. National Library of Medicine , U.S. Department of Health and Human Services National Institutes of Health, http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/abortion.html
Induced Abortion, ,http://www.acog.org/~/media/For%20Patients/faq043.ashx
Abortion - Abortion Clinics, Abortion Pill, Abortion Information” abortion blog, http://abortion.ws/
Abortion, Heritage House '76, http://www.abortionfacts.com/
Paungmora N, Herabutya Y, O-Prasertsawat P, Punyavachira P. Comparison of oral and vaginal misoprostol for induction of labor at term: A randomized controlled trial. J Obstet Gynaecol Res. 2004; 30(5): 358-62
Ozsoy M, Ozsoy D. Induction of labor with 50 and 100 mcg of misoprostol: comparison of maternal and fetal outcome. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol. 2004; 113: 41-4
Berkley E.,Meng C.,&Rayburn W.F.,Success rates with low dose misoprostol before induction of labor for nulliparas with severe preeclampsia at various gestational ages, The Journal of Maternal-Fetal and Neonatal Medicine, November 2007;20(11):825-831
Misoprostol as a single agent for medical termination of pregnancy,http://www.uptodate.com/contents/misoprostol-as-a-single-agent-for-medical-termination-of-pregnancy?source=search_result&selectedTitle=3%7E82
Carlan et al,Extemporaneous preparation of misoprostol gel for cervical ripening:a randomized trial, Obstet Gynecol.1997;90:911-915
Abortion Medications , Drugs.com , http://www.drugs.com/condition/abortion.html
Medication Abortion, Ibis Reproductive Health, http://medicationabortion.com/
Mifepristone, Medlineplus The American Society of Health-System Pharmacists, Inc, http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a600042.html
Misoprostol, Medlineplus The American Society of Health-System Pharmacists, Inc, http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a689009.html
Goldberg AB. and Greenberg MB. Misoprostol and Pregnancy. N Engl J Med. 2001 Jan 4; 344(1): 38-47.
พ.ญ. กมลนัทธ์ ประพันธ์วัฒนะ , อ.ทีปรึกษา: ร.ศ. พ.ญ. สายพิณ พงษธา, Induced abortion, OB-GYN CMU., http://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=516:induced-abortion&catid=45:topic-review&Itemid=56
ศ.นพ.อุดม คชินทร, Management of NSAIDs-induced gastrointestinal injury, วารสารคลินิก เล่ม : 293
เดือน-ปี : 05/2552, http://doctor.or.th/node/9372
ปิยะวัน วงษ์บุณหนัก , การสำรวจทัศนคติของวัยรุ่นหญิงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล "การทำแท้งและการใช้ยาทำแท้งในวัยรุ่น" หัวหน้าทีมวิจัยด้านสุขภาพ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, http://www.meedee.net/magazine/edu/health-n-mind/2052
วิธีการคุมกำเนิดทุกรูปแบบ รู้ไว้ก่อนเลือกใช้ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://utaisuk.blogspot.com/2011/10/blog-post_08.html
ยาเม็ดคุมกำเนิดทำงานอย่างไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/12/11/entry-1
เลือกยาเม็ดคุมกำเนิดแบบไหนดีนะ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/12/05/entry-1
ผลข้างเคียงของยาเม็ดคุมกำเนิด โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/12/10/entry-1
ไพศาล ลิ้มสถิตย์ ,ร่างกฎหมายคุ้มครองอนามัยการเจริญพันธุ์ กับ การแก้ปัญหาวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์หรือตั้งครรภ์โดยไม่มีความพร้อม,หมอชาวบ้าน เล่ม : 379, เดือน-ปี : 11/2553, http://www.doctor.or.th/node/11263
ดร.จริยาวัตร คมพยัคฆ์,การตั้งครรภ์,หมอชาวบ้าน เล่ม : 131 เดือน-ปี : 03/2533, http://www.doctor.or.th/node/4880
นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย, ทำแท้งเถื่อนมีผลอย่างไร, หมอชาวบ้าน เล่ม : 361 เดือน-ปี : 05/2552, http://www.doctor.or.th/node/7537
ข้อเท็จจริง...ยาไซโตเทค (Cytotec),กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค, กระทรวงสาธารณสุข, www.vcharkarn.com/varticle/43143
รูปประกอบ