วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อย. จับกาแฟลดความอ้วน 3 ยี่ห้อ ตรวจพบผสมยาลดความอ้วน


ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากการที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารจากการร้องเรียนของผู้บริโภค โดยได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์กาแฟจาก “ร้านบ้านสมุนไพร” 3 ยี่ห้อ ผลวิเคราะห์พบสารไซบูทรามีน (Sibutramine) ในผลิตภัณฑ์กาแฟทั้ง 3 รายการ


อย.ประกาศผลตรวจผลิตภัณฑ์กาแฟ 3 ยี่ห้อ ที่เคยตรวจจับพบสารไซบูทรามีน ซึ่งเป็นยาลดความอ้วน ดังคาด ล้วนเป็นผลิตภัณฑ์กาแฟที่แสดงฉลากอวดอ้างทําให้ผอมทั้งสิ้น จัดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์มีสิ่งน่าจะเป็น อันตรายแก่สุขภาพเจือปน แจ้งเตือนผู้จําหน่าย และแจ้งสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ รวมทั้งด่าน อาหารและยาให้เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์กาแฟดังกล่าว และผลิตภัณฑ์กาแฟที่มีฉลากอวดอ้างลดความอ้วน มิให้เข้า มาจําหน่ายแก่ผู้บริโภคแล้ว

รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากการที่สํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารจากการร้องเรียนของผู้บริโภค โดยได้เก็บ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์กาแฟจาก “ร้านบ้านสมุนไพร” เลขที่ A 3/7 ชั้น 1 ห้างโลตัส สาขาบางกะปิ ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร และได้ส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์กาแฟเพื่อตรวจวิเคราะห์ ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จํานวน 3 รายการ ซึ่งล้วนแต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีเลขสารบบอาหารในกรอบ เครื่องหมาย อย. และแสดงฉลากอวดอ้างลดความอ้วน ได้แก่

1.) กาแฟบรรจุกระป๋องโลหะทรงกลม ฉลาก สีขาว-แดง ระบุข้อความ “กาแฟมหัศจรรย์ 26 วัน ผอม...มี 26 ซอง บรรจุซองละ 10 กรัม”

2.)กาแฟบรรจุ รวมในกระป๋องโลหะทรงรี ฉลากสีดํา-แดง ระบุข้อความ “สําหรับคนดื้อ (ลดยาก) Brazil Potent Slimming Coffee...ขนาด 10 กรัม/ถุง × 26 ถุง...ผู้ร่วมผลิต:บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพอ้ายซื่อหยวนเยอรมันนีกรุ๊ป จํากัด บริษัท ผลิตภัณฑ์บํารุงสุขภาพไห่ฝางซิ่นเพ็ง จํากัด เลขที่ 29 ถนนเหอผิง เขตไห่เฉิน เมืองไห่ฝาง” และ

3.)กาแฟบรรจุกล่องกระดาษรูปทรงสี่เหลี่ยมสีน้ําตาลทองรูปถ้วยกาแฟระบุข้อความ“Slimming Coffee Lishou lnstant Coffee Net.WT : 150 g (10 g × 150 bags)...” Batch number: 120510 Production date:2012/05/10 Valid Date: 2014/05/09

ปรากฏผลวิเคราะห์พบสารไซบูทรามีน(Sibutramine) ในผลิตภัณฑ์กาแฟ ทั้ง 3 รายการ จึงจัดเป็นอาหารที่มีสิ่งที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพเจือปนอยู่ ถือเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ 



 ขณะนี้ อย.ได้แจ้งไปยังสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ รวมทั้งด่านอาหารและยาให้เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์กาแฟดังกล่าวมิให้เล็ดรอดเข้ามาขาย และขอเตือนมายัง ผู้บริโภคให้ระมัดระวังในการเลือกซื้อกาแฟดังกล่าวมาบริโภค อย่าได้หลงคารมผู้ขายว่ากินแล้วจะสามารถ ทําให้ลดความอ้วนได้ เพราะมักตรวจพบลักลอบใส่สารไซบูทรามีน เมื่อผู้บริโภคได้รับสารดังกล่าวสะสมเข้าไป ในร่างกายเป็นจํานวนมาก อาจเป็นอันตรายต่อการบริโภค เนื่องจากสารดังกล่าวมีผลข้างเคียงสูง ได้แก่ ทําให้ เกิดความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว ปากแห้ง ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ และ ท้องผูก เป็นต้น หากต้องการลด หรือควบคุมน้ําหนัก ไม่จําเป็นต้องบริโภคผลิตภัณฑ์กาแฟ หรือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใด ๆ ควรควบคุมการ บริโภคอาหารร่วมกับการออกกําลังกายเป็นประจํา หากผู้บริโภคพบเห็นการผลิตหรือจําหน่ายผลิตภัณฑ์ สุขภาพผิดกฎหมาย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด 

แหล่งข้อมูล
กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค, 28มิถุนายน2556 , 
http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/ข่าวผลพิสูจน์อาหารร้านบ้านสมุนไพร.pdf

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ต่อมลูกหมากโต ยาที่ใช้รักษามีอะไรบ้าง???



 
โรคต่อมลูกหมากโต คือ สภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ผิดปกติ เนื่องจากตำแหน่งของต่อมลูกหมากจะอยู่ในบริเวณใต้กระเพาะปัสสาวะ อาจจะเกี่ยงเนื่องไปเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่ก้อได้ ยาที่ใช้ในกาารักษาและอาหารเสริมที่ใช้ป้องกันมีหลายตัว  เรามีบทความการรักษาโดยการใช้ยาโดย นพ.เปรมสันติ์ สังฆ์คุ้ม โรงพยาบาลรามาธิบดี มาแนะนำให้ทราบถึงการใช้ยาแต่ละตัว 

การรักษาต่อมลูกหมากโตโดยการใช้ยา 

ซึ่งในการรักษาผู้ป่วยแต่ละคนจะมีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันออกไปตามอาการของผู้ป่วย  ทำให้การรักษาผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตอาจมีความแตกต่างกันบ้าง  ดังนั้นเราไม่แนะนำให้ทุกท่านไปซื้อยากินเองนะครับ เราอยากให้ท่านได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยชาญแต่ละท่านที่พร้อมดูแลท่านอยู่แล้ว 

               การรักษาโดยการใช้ยาจะใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากขึ้น   หรืออาการผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะนั้นส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้คุณภาพชีวิตของเราลดลง  ดังนั้นการรักษาต่อมลูกหมากโตโดยการใช้ยา ต้องร่วมกับการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวันที่มีผลต่อการปัสสาวะนั้นเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด และมีผลข้างเคียงไม่มากนัก เนื่องจากยารักษาต่อมลูกหมากโตในปัจจุบันมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายารักษาต่อมลูกหมากโตในยุคเก่าๆ  

ยาที่ใช้รักษาโรคต่อมลูกหมากโตแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ดังนี้

ยาคลายกล้ามเนื้อเรียบของต่อมลูกหมาก 

(Alpha-adrenergic antagonist)  เนื่องจากในต่อมลูกหมากมีส่วนประกอบของกล้ามเนื้อเรียบอยู่ประมาณ 40%  และกล้ามเนื้อเรียบเหล่านี้จะมีการบีบตัวทำให้ท่อปัสสาวะมีการตีบแคบลง  เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปัสสาวะลำบาก 

ยากลุ่มนี้จะทำให้กล้ามเนื้อเรียบเหล่านี้คลายตัว  ท่อปัสสาวะกว้างขึ้น  ทำให้ปัสสาวะได้คล่องขึ้น  เบ่งปัสสาวะน้อยลง 
ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้เช่น 
Terazosin 
, Doxazosin 

, Alfuzosin 

, Tamzulosin 


, Silodosin เป็นต้น  

ยาแต่ละตัวมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน  เห็นผลเร็ว  ทานยาเพียงวันละหนึ่งครั้ง และเป็นยาที่มีทั่วไปในโรงพยาบาลเกือบทุกแห่ง  จึงมักเป็นยาตัวแรกที่แพทย์มักจะจ่ายให้แก่ผู้ป่วย  ยากลุ่มนี้อาจมีอาการข้างเคียงได้บ้าง เช่น เวียนศรีษะ  หน้ามืด  อ่อนเพลีย คัดจมูก เป็นต้น

ยาลดขนาดต่อมลูกหมาก (5alpha-reductase inhibitor) 


ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยยับยั้งเอนไซม์  5 alpha-reductase เป็นเอนไซม์ที่ตรวจพบได้ใจต่อมลูกหมาก  เอนไซม์นี้ทำหน้าที่เปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนให้เป็นฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน  ผลของฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรนทำให้ต่อมลูกหมากมีขนาดโตขึ้น  ดังนั้นเมื่อรับประทานยาในกลุ่มนี้แล้วขนาดของต่อมลูกหมากจะค่อยๆลดลงประมาณ 20% ที่ระยะเวลาประมาณ 6-12 เดือน ทำให้การปัสสาวะทำได้คล่องขึ้น  

ยากลุ่มนี้ใช้เวลาในการออกฤทธิ์นานกว่ายาคลายกล้ามเนื้อเรียบต่อมลูกหมาก  ดังนั้นจึงมักไม่ใช่ยาตัวแรกที่ผู้ป่วยได้รับ  การใช้ยากลุ่มนี้มักใช้ร่วมกันกับยาคลายกล้ามเนื้อเรียบต่อมลูกหมากในผู้ป่วยที่มีขนาดต่อมลูกหมากโตมากกว่า 30-40 กรัมขึ้นไป  มีการศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับยาสองชนิดนี้ร่วมกันพบว่าสามารถลดการดำเนินโรคต่อมลูกหมากโตได้ (risk reduction 67% from MTOPS trial)


ตัวอย่างในกลุ่มนี้ เช่น

Fenasteride


Dutrasteride  


เนื่องจากยากลุ่มนี้มีผลยับยั้งฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรนอาจมีผลข้างเคียงจากการที่ฮอร์โนลดลงได้บ้าง เช่น  ความต้องการและสมรรถภาพทางเพศลดลง 

ยาลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ (Anticholinergic) 


โรคต่อมลูกหมากโตนั้นนอกจากทำให้เกิดการอุดกั้นของท่อปัสสาวะยังมีผลต่อกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะด้วย ผลที่เกิดตามมาทำให้กระเพาะปัสสาวะมีการบีบตัวไวกว่าปกติ  ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะบ่อย  ต้องรีบไปเข้าห้องน้ำหลังปวดปัสสาวะเพราะกลัวปัสสาวะราด  รวมถึงปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน 

ดังนั้นผู้ป่วยที่ได้รับยาคลายกล้ามเนื้อเรียบต่อมลูกหมากแล้วยังมีอาการปัสสาวะบ่อยมากอยู่  ยากลุ่มนี้อาจทำให้อาการปัสสาวะบ่อยดีขึ้นได้ 
ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้เช่น 


Oxybutinin ,


Tolteridine 


, Trospium 


, Solifenacin 


, Darifenacin เป็นต้น  

ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้อาจทำให้มีอาการปากแห้ง คอแห้ง ท้องผูกได้  และไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้ในผู้ป่วยที่มีอาการอุดกั้นของท่อปัสสาวะรุนแรง  มีปัสสาวะเหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะมาก  หรือเป็นต้อหิน (narrow angle glaucoma)ร่วมด้วย

ยากลุ่มสมุนไพร (Phytotherapeutics) 


ในท้องตลาดมียากลุ่มสมุนไพรที่ให้สรรพคุณในการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตเป็นจำนวนมากและมีราคาแตกต่างกัน  ผู้ป่วยหลายๆท่านใช้ยากลุ่มนี้แล้วอาการดีขึ้น  หลายท่านอาจเกิดความสงสัยว่ากลไกการออกฤทธิ์เป็นอย่างไร ได้ผลหรือไม่ 
ข้อมูลทางการแพทย์ที่มียังไม่ทราบกลไกการออกฤทธ์ของยากลุ่มนี้ชัดเจน  แต่เชื่อว่าเกิดจากหลายกลไกตามที่กล่าวมาข้างต้นรวมๆกัน  ดังนั้นข้อมูลที่มี ณ ปัจจุบันยังมีไม่มากพอที่จะสนับสนุนหรือต่อต้านการใช้ยาในกลุ่มนี้ครับ

ที่กล่าวมาเป็นภาพรวมของการรักษาต่อมลูกหมากโตโดยการใช้ยา  ซึ่งในการรักษาผู้ป่วยแต่ละคนจะมีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันออกไปตามอาการของผู้ป่วย  ทำให้การรักษาผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตอาจมีความแตกต่างกันบ้าง  หากท่านมีข้อสงสัยเรื่องยาประการใด อย่าลังเลใจ เภสัชกรใจดีทั้งหลายพร้อมให้คำปรึกษาเรื่องยาอยู่แล้วครับ 


แหล่งข้อมูล

นพ.เปรมสันติ์ สังฆ์คุ้ม,
 การรักษาโดยการใช้ยา (Medical therapy) , โรคต่อมลูกหมาก โรงพยาบาลรามาธิบดี,

http://www.prostate-rama.com/conten6_2.php

รูปประกอบ มาจาก  

http://www.mims.com/Thailand

http://www.yourcancertoday.com/Cancers/Prostate-Cancer/78

http://nafcpowderroomtalk.blogspot.com/2012/06/not-just-about-men.html

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ผู้ชายวัยทอง ร่างกายเหี่ยว ใจหดหู่ sex หมด คุณกำลังเป็นอยู่หรือเปล่า???




ที่เรียกกันว่าผู้ชายวัยทอง ถึงแม้นว่าอัณฑะไม่ได้หยุดสร้างฮอร์โมนเพศชาย เพียงแต่สร้างในปริมาณน้อยลงนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาด้านความเป็นชาย ที่เรียกกันว่า Andrologist ใช้คำเรียกผู้ชายวัยทองว่า PADAM  ย่อมาจากคำว่า Partial Androgen Deficiency of the Aging Male ซึ่งหมายถึง ภาวะที่มีการขาดฮอร์โมนเพศชายไปบ้าง ซึ่งในวัยทองเช่นนี้ คุณภาพชีวิตทั้งร่างกายและจิตใจจะเปลี่ยนไปมาก ทั้งความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ พลังในการทำงานรวมไปถึงกิจกรรมเซ็กส์ และจิตใจก้อจะเปลี่ยไปเย้อะมาก  เรามาดูว่าหากคุณอยู่ในกลุ่มผู้ชายสูงอายุ กำลังเป็นโรคชายชราวัยทองกันหรือเปล่า?  

ปัจจัยที่ทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดลงเร็วกว่าปกติ

นอกจากอายุซึ่งเป็นปัจจัยทางธรรมชาติที่ทำให้ระดับฮอร์โมนเพศชายลดลงแล้ว ปัจจุบันยังมีปัจจัยเสริมอื่นๆ อีกมากมายที่ทำให้ผู้ชายเข้าสู่วัยทองเร็วกว่าปกติ นั่นคือ
1. เรื่องของกรรมพันธุ์
2. การทำงานหนัก และพักผ่อนน้อย
3. มีความเครียดตลอดเวลา
4. ความอ้วน
5. การขาดสารอาหารบางชนิด (เช่น แร่ธาตุสังกะสี เบต้าแคโรทีน)
6. การดื่มเหล้า สูบบุหรี่
7. มีโรคเรื้อรัง (เช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง ไตวาย ฯลฯ)
8. การกินยาบางชนิด (เช่น ยารักษาไทรอยด์)
9. การออกกำลังกายที่มากเกินไป เป็นต้น
สรุปได้ว่า อะไรก็ตามที่ทำให้ร่างกายเสื่อมถอยเร็ว จะทำให้มีการหมดฮอร์โมนเร็วขึ้นด้วยเช่นกัน

การเปลี่ยนแปลงของชายวัยทอง มีอะไรบ้างนะ? 


เมื่อย่างเข้าสู่วัย 40 ปี การผลิตฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนจากอัณฑะจะลดลงเรื่อยๆ 
แม้ว่าฮอร์โมนเพศชายโดยรวมจะไม่ลดลงมากนัก แต่ส่วนใหญ่จะโดนจับโดยโปรตีนชนิดหนึ่ง มีชื่อว่า Sex Hormone Binding Globulin โปรตีนชนิดนี้จะไปจับกับฮอร์โมนเพศ ทำให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่เป็นอิสระและสามารถจะออกฤทธิ์ได้นั้นลดลงตามอายุที่มากขึ้น 


หลังจากอายุ 40 ปีแล้ว ทุกๆ 1 ปีที่อายุมากขึ้น ฮอร์โมนเพศชายที่สามารถออกฤทธิ์ได้จะลดลง 1% ทุกปี และเมื่อฮอร์โมนเพศชายลดลงจนถึงระดับหนึ่งจากระดับสูงสุด ซึ่งแต่ละคนจะมีระดับฮอร์โมนเพศไม่เท่ากัน เมื่อลดลงไปประมาณ 20% ของค่าดั้งเดิม จะทำให้เกิดอาการต่างๆ ที่แสดงออกถึงภาวะการพร่องฮอร์โมนเพศชาย เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าผู้ชายจะไม่ขาดฮอร์โมนเพศไปเลยเหมือนผู้หญิง แต่ฮอร์โมนเพศชายจะค่อยๆ ลดลงไปบางส่วน โดยอาการที่แสดงออกก็จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป 


อาการที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ชายเริ่มขาดฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนนั้น จะแสดงออกทั้งทางร่างกายและจิตใจ คล้ายกับอาการที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงวัยทอง



ฮอร์โมนเพศชายมีผลทั้งต่อร่างกายและจิตใจ
รูปประกอบมาจาก  http://bodystream.ca/bhrt/bhrt-for-men/


ผลทางด้านร่างกาย

อวัยวะต่างๆ ที่ถูกควบคุมโดยฮอร์โมนเพศชายจะเริ่มทำงานลดลง

โดยเฉพาะระบบสืบพันธุ์ จะมีการเปลี่ยนแปลงชัดเจนที่สุด 
1 - อวัยวะเพศมีขนาดเล็กลง เนื่องจากฮอร์โมนเพศชายจะเป็นตัวควบคุมการเผาผลาญไขมันในร่างกาย เมื่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลง การเผาผลาญไขมันจึงลดลงเป็นเงาตามตัว ไขมันในเลือดที่เหลือใช้จึงไปเกาะอยู่ภายในผนังหลอดเลือด ทำให้เส้นผ่าศูนย์กลางภายในของผนังหลอดเลือดแคบลง เกิดภาวะหลอดเลือดตีบตัน เมื่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะเพศตีบตัน จึงทำให้อวัยวะเพศมีเลือดมาคั่งน้อยลง อวัยวะเพศชายจึงแข็งตัวได้น้อยหรือไม่แข็งตัวได้นานพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้

2 - มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่กระฉับกระเฉง ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมากตามมือและเท้า รวมทั้งมีอาการมือเท้าเย็นเวลากลางคืน เป็นต้น

3 - ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และปวดตามร่างกายโดยไม่มีสาเหตุ

4 - ผิวหนังบางลง ไม่ยืดหยุ่น เริ่มมีไขมันมาเกาะพอกที่บริเวณหน้าท้องและสะโพกทำให้ลงพุง เพราะไม่มีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนไปช่วยเผาผลาญไขมัน

5 - ผมจะร่วง โดยเฉพาะบริเวณกลางศีรษะ

6 - กล้ามเนื้อเล็กลง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง เป็นตะคริวง่าย

7 - ความจำลดลง สมาธิลดลง โดยเฉพาะความจำระยะสั้น เนื่องจากการทำงานของอัณฑะลดลง

8 - กระดูกจะบางลงและหักง่าย แม้ว่าผู้ชายจะเกิดภาวะกระดูกหักน้อยกว่าผู้หญิง แต่ผลการวิจัยพบว่า เมื่อผู้ชายขาดฮอร์โมนเพศชาย กระดูกก็จะบางลงเช่นกัน และเกิดภาวะกระดูกพรุนได้เมื่อย่างเข้าวัยชรา

9 - ระบบหัวใจและหลอดเลือดเสื่อม นอกจากอัณฑะจะมีหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนแล้ว ยังมีหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนด้วย เพียงแต่สร้างมาในปริมาณที่น้อยมาก


ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกาะตัวของไขมันตามผนังหลอดเลือด เมื่อปริมาณของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนกับเอสโตรเจนลดลง โอกาสที่จะเกิดไขมันในเลือดสูง และไขมันไปเกาะหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบและอุดตันได้ง่าย โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ จึงมีโอกาสเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้สูง ซึ่งจะพบมากขึ้นในผู้ชายที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย

ผลทางด้านจิตใจ 


1 - ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง หดหู่ ซึมเศร้า โดยไม่มีสาเหตุ เฉื่อยชา นอนไม่หลับ วิตกกังวล กลัว และตกใจ โดยไม่มีสาเหตุ หงุดหงิดโมโหง่าย เบื่ออาหาร ใจสั่น เป็นต้น

2 - ความต้องการทางเพศลดลง ไม่มีความตื่นเต้นทางเพศ ขาดความกระตือรือร้นในการมีเพศสัมพันธ์ ความสุขในการมีเพศสัมพันธ์ลดลง และกลัวจะล้มเหลวในการมีเพศสัมพันธ์ 
อย่างไรก็ตาม การสร้างฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนที่ลดลงในผู้ชายวัยทองนั้น อาจจะลดลงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการดำเนินชีวิต ลักษณะการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน เป็นต้น

การใช้ฮอร์โมนทดแทนในวัยทองมีข้อควรระวังอย่างไร 




บทบาทของฮอร์โมน testosterone
รูปมาจาก http://socyberty.com/sexuality/the-main-male-hormone/

ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมีบทบาทต่อร่างกายหลายอย่างด้วยกันดังกล่าวแล้ว ชายวัยทองที่มีอาการของคนขาดฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนและได้รับการตรวจยืนยันแล้วว่าอาการเหล่านั้นเกิดจากการขาดฮอร์โมนจริง อาจได้รับการรักษาโดยการให้ฮอร์โมนเสริม 

ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมีใช้ทั้งชนิดฉีด รับประทาน แปะผิวหนัง และฝังใต้ผิวหนัง แต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ก่อนใช้ฮอร์โมนจึงต้องมีข้อบงชี้เสมอ และเมื่อใช้แล้วต้องมีการตวรจติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากยาที่อาจเกิดขึ้นได้ 


ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมีผลที่ควรระวัง ได้แก่ ต่อมลูกหมากโต มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม นมโต ผลต่อตับ การเปลี่ยนแปลงระดับไขมันในเลือด จำนวนอสุจิน้อยลง ภาวะเลือดข้นและการคั่งของเกลือและน้ำในร่างกาย เป็นต้น ดังนั้นการใช้ฮอร์โมนทดแทนจึงควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ หากระดับฮอร์โมนสูงเกินไป อาจเกิดปัญหาดังกล่าวได้ และฮอร์โมนนเทสโทสเตอโรนชนิดรับประทานที่เป็น 17 alpha alkylated steroids เช่น methyl testosterone, fluoxy mesterone จะเป็นพิษต่อตับจึงไม่แนะนำให้ใช้ 



จะดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเข้าสู่วัยทอง

 
เมื่ออายุมากขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมลงของร่างกายหลายอย่างด้วยกัน ทำอย่างไรจึงจะชะลอความเสื่อมเหล่านั้น หรือหากเกิดขึ้นแล้วทำอย่างไรจึงจะอยู่ได้โดยมีคุณภาพชีวิตที่ดี การปฏิบัติตัวเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกข้อแนะนำการปฏิบัติตัวเริ่มตั้งแต่ชีวิตประจำวันได้แก้

1 ควรเลือกอยู่ในที่มีอากาศบริสุทธิ์ หลีกเลี่ยงสถานที่แออัดไปด้วยมลพิษ


2 ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละสามวันนานครั้งละ 30 นาทีติดต่อกัน เพื่อป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูง โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ช่วยเสริมสร้างความเข็งแรงของกล้ามเนื้อและข้อ รวมทั้งป้องกันโรคกระดูกพรุน การออกกำลังกายควรมีทั้งแบบแอโรบิค และมีการต้านทางแรงโน้มถ่วงของโลก โดยเลือกออกกลำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เช่นผู้สูงอายุอาจใช้การเดินติดต่อกันนานอย่างน้อย 30 นาที หรือรำมวยจีนเป็นต้น


3 เลือกรับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมสูง รับประทานใยอาหารเพื่อป้องกันการท้องผูกและมะเร็งลำไล้ ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 1,500 – 2,000 มิลลิลิตรต่อวัน ลดอาหารไขมัน ลดเหลือ งดสูบบุหรี่ สุรา และยาเสพติด เพราะทั้งบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด ทำให้กระดูกพรุนและเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

4 ทำจิตใจให้แจ่มใส อารมณ์ดี และให้ความอบอุ่นกับครอบครัว

5 พักผ่อนให้เพียงพอ โดยการนอนหลับสนิทช่วยเพิ่มฮอร์โมนได้เองตามธรรมชาติ ทำงานอดิเรกที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม ทำให้ได้บริหารความคิด จิตใจสบาย


6 จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ไม่ให้หกล้มง่าย เพราะวัยสูงอายุจะมีกล้ามเนื้อที่ไม่แข็งแรง ร่วมกับกระดูกพรุน หากหกล้มจะเกิดกระดูกหักได้ง่าย ควรรับแสงแดดบ้างเพื่อช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ป้องกันกระดูกพรุน

ถ้าลองเช็คดูแล้ว คุณกำลังอยุ่ในวัยและอาการดังกล่าว หากเปลี่ยนแปลงปฏิบัติตัวดังกล่าวได้ดีแล้วท่านก็จะสามารถอยู่ในวัยนี้ได้อย่างมีคุณภาพ อย่างไรก็ตามวันนี้เป็นวัยที่ร่างกายมีความเสื่อมถอย การพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายประจำปีจึงมีความสำคัญเพื่อตรวจหาโรคที่ซ่อนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดสูง หรือโรคหัวใจ เพื่อการวินิจฉัยและรักษาโรคแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะสายเกินไป

แหล่งข้อมูล

นิตยสารหมอชาวบ้าน 252, เมษายน 2000

ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์, นพ.บัณฑิต ศรไพศาล, สุมาลี ทองแก้ว
http://doctor.or.th/article/detail/2498
รูปประกอบจาก http://drmarykashurba.com/services/male-hormone-replacement/

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ผมร่วงบางและศีรษะล้าน: ผมร่วงของเราเป็นแบบไหนนะ? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล



จากตอนที่แล้ว ถ้าคุณลองนับเส้นผมแล้วพบว่าหลุดร่วงมากกว่าวันละร้อยเส้นแล้วละก้อ คุณกำลังอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของการหลุดร่วงของเส้นผมมากกว่าปกติ หากปล่อยทิ้งไว้ ผมที่ปรกก้อจะค่อยหล่นร่วงไป แถมถ้าผมใหม่ไม่งอกมาทดแทน อีกไม่นานคุณอาจจะเหมือนดาราคนดังjohn statham ที่เราเอารูปมาแปะให้เห็นว่าจะมีอนาคตของผมร่วงเป็นอย่างไร อีกไม่นานๆ

อย่างนี้ เราลองมาดูกันก่อนว่าลักษณะของผมร่วงที่คุณประสบพบอยู่ ว่าเป็นแบบไหนกันน้า??? เพื่อจะได้เข้าใจถึงต้นเหตุกันก่อน เพื่อจะได้นำไปสู่การรักษาที่ทำให้ผมกลับมาดกเงางามเหมือนเดิม


รูปแบบผมร่วงของคุณเป็นแบบไหนนะ? 

ครั้งนี้เรามาดูผมร่วงตามตำแหน่งก่อนดีไหมครับ เริ่มต้นด้วยอาการผมร่วงเป็นหย่อม และ ผมร่วงทั้งศีรษะ

 ผมร่วงเป็นหย่อมๆ


ผมร่วงเป็นหย่อมๆ
รูปประกอบมาจาก http://visitdrsant.blogspot.com/2011/03/blog-post_7166.html

คุณจะพบว่าผมมักจะไม่ค่อยร่วงทั้งหมดศีรษะ แต่จะร่วงเป็นหย่อมๆคล้ายกับผมแหว่ง อาจจะพบได้หย่อมหนึ่งหรือหลายหย่อมกระจายกันไป เวลาส่องด้วยกระจกแล้วคุณจะพบว่ามีช่องว่างบนหนังศีรษะ อันมีหลายแบบอันเนื่องมาจาก

1. ผมร่วงที่เกิดจากเชื้อราของหนังศีรษะ

 

ผมร่วงจากเชื้อรากลาก ที่เกิดขึ้นบนหนังศีรษะ
รูปประกอบมาจาก http://www.siamhealth.net/public_html/Health/Photo_teaching/tinea_capitis.htm#.UcgTvaVlzy8


ผมร่วงแบบนี้เกิดจากเชื้อราไปเกาะกินบนหนังศีรษะหรือที่ภาษาบ้านๆ เรียกว่ากลากบนหนังศีรษะ หรือชันนะตุ อาการที่ตรวจพบได้คือแรกเริ่มหนังศีรษะที่มีการติดเชื้อราจะเป็นขุย ระหว่างนี้เชื้อราอาจไปแทรกในเส้นผมทำให้ผมหักหลุดร่วงได้บ้าง ถ้าเป็นมากไม่รีบรักษา เชื้อราจะลามไปทำลายผิวหนังให้เกิดการอักเสบเกิดเป็นวงใหญ่มากขึ้นๆ ระหว่างนี้คนไข้จะคันอย่างมากทำให้ต้องใช้มือเกาอย่างรุนแรงจนหนังศรีษะฉีกขาดไปก็มี หากมีการซ้ำเติมของเชื้อแบคที่เรียที่อาจติดมาจากเล็บที่เกาไปซ้ำเติมที่รอยแผลจากกการเกา ทำให้เกิดการติดเชื้ออักเสบรุนแรงกลายเป็นแผลมีหนองหรือน้ำเหลืองซึมออกมาได้ ถึงขั้นนี้แล้วโคนรากผมมันจะถูกทำลาย ผมจะหลุดร่วงจากรากผมอย่างมาก ทำให้เกิดเป็นรอยแหว่งสังเกตุได้ชัด

กลุ่มหลักที่เป็นมากพบได้ในเด็ก ซึ่งอาจติดมาจากเพื่อนที่โรงเรียนหรือเด็กแถวบ้าน เกิดจากการคลุกคลีกัน หรือใช้ของใช้ร่วมกัน เช่น หวี แปรงผม ผ้าเช็ดตัว

การรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อราทั้งรูปแบบยาทา แชมพูหรือยากินอย่างต่อเนื่องเพื่อออกฤทธิ์ทำลายเชื้อราให้หมดไปก่อน หากรากผมยังไม่ถูกทำลายมากนักยังมีโอกาสที่เส้นผมใหม่จะผุดเติบโตได้ ส่วนการป้องกันเชื้อราทำได้โดยรักษาความสะอาด สระผมสม่ำเสมอ และไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน

2. ผมร่วงลักษณะเป็นวง ALOPECIA AREATA

 
ผมร่วงแบบเป็นหย่อม ALOPECIA AREATA
รูปประกอบมาจาก http://www.leimo.com/hair-loss-articles/the-ugly-truth-about-alopecia-areata.html
คนไข้จะสังเกตพบว่าผมร่วงเป็นหย่อมขนาดประมาณเท่ากับเหรียญบาทอาจเป็นหย่อมเดียวหรือหลายหย่อม บางคนถ้าพบมากๆหลายวงถึงกับทำให้ผมบางไปทั้งศีรษะ สาเหตุของผมร่วงมักเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน เมื่อตรวจดูหนังศีรษะจะปกติ ไม่พบอาการอักเสบแต่อย่างใด ลักษณะที่ผมจะหลุดมาเองจากรากผม พบได้ค่อนข้างบ่อย ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องผมก็จะกลับขึ้นได้เป็นปกติ


3. ผมร่วงที่เกิดจากการถอนผม

อาการที่ตรวจพบมักเกิดในเด็กที่ดึงผม หนังศีรษะมักจะนูนขึ้นมาเป็นตุ่ม ๆ คล้ายเวลามีอาการขนลุก หรือเหมือนหนังไก่ที่ถูกถอนขนออกไปแล้ว มักพบเส้นผมสั้นๆเล็กเพราะรูขุมขนยังดีอยู่

ผมร่วงแบบนี้มักเกิดขึ้นในเด็กที่ขาดความอบอุ่น และได้รับการเลี้ยงดูที่ค่อนข้างเข้มงวด การดึงผม จึงเป็นลักษณะการหาทางออก เป็นการระบายอารมณ์ของเด็กอย่างหนึ่ง เพราะเด็กเกิดความรู้สึกเก็บกด ไม่รู้จะทำอย่างไร จึงทำร้ายตัวเองด้วยการดึงผม ส่วนใหญ่มักพบในเด็กอายุประมาณ5-8 ขวบ เพราะเด็กวัยนี้ยังไม่มีทางออกอย่างอื่น ต่างกับเด็กวัยรุ่นซึ่งมีทางออกอย่างอื่น เช่น หนีออกจากบ้าน คบเพื่อน ติดยาเสพติด เป็นต้น การรักษาแพทย์มักเชิญพ่อแม่ผู้ปกครองมาพบปะ หาทางดูแลลูกรักอย่างถูกต้อง ให้ความรักความอบอุ่นกับเด็กมากขึ้น ถ้าแก้ไขพฤติกรรมได้ผมก็จะขึ้นใหม่ตามปกติ

ผมร่วงทั้งศีรษะ
 คนไข้กลุ่มนี้จะทราบได้ใช้หลักการนับปริมาณผมที่หล่นร่วงที่เกิดกระจายทั้งศีรษะ ถ้าร่วงเกินวันละ 100 เส้นก็ถือว่ามีอาการผมร่วง แต่ถ้าต่ำกว่า 100 เส้นจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงทั้งศีรษะ มีหลายอย่างที่จะทราบได้ต่อเมื่อคุณไปพบแพทย์ผู้ชำนาญที่จะทำการการซักประวัติ การตรวจร่างกายรวมทั้งสภาพหนังศีรษะและเส้นผมอย่างละเอียด สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผมร่วงทั่วไปมีดังนี้

1. ผมร่วงจากโรคซิฟิลิส

 
ผมร่วงจากซิฟิลิส
รูปมาจาก http://anagen.ucdavis.edu/1510/case_reports/alopecia/cohen.html


ผู้ที่ติดโรคนี้มาจะแสดงอาการได้หลายระยะ ระยะแรกจะเป็นแผลที่อวัยวะเพศ ระยะที่ 2 อาจจะมีลักษณะเป็นผื่นออกดอกในช่วงที่เชื้อแพร่กระจายไปทั้งตัว บางคนไม่มีผื่น แต่แสดงออกโดยการมีผมร่วงอย่างเดียว หรือบางคนอาจจะมีผมร่วงร่วมกับมีผื่นของซิฟิลิสเกิดขึ้นก็ได้

การตรวจพบสาเหตุในกลุ่มคนหนุ่มสาวที่ค่อนข้างแข็งแรงดี ถ้าหมอตรวจไม่พบอะไร แต่มีอาการผมร่วงมาก มักจะได้รับการตรวจเลือด เพื่อพิสูจน์ยันโรคซิฟิลิส โรคนี้ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็หายไปทำให้ผมจะงอกกลับมาสู่สภาพเดิมได้

2. ผมร่วงเกิดจากความเครียดทางจิตใจหรือร่างกายอย่างรุนแรง

ที่พบได้บ่อย ได้แก่มีไข้สูง เช่น ไทฟอยด์ มาลาเรีย ประสบอุบัติเหตุรุนแรง หรือมีการกระทบกระเทือนจิตใจและอารมณ์อย่างแรง เส้นผมที่อยู่ในระยะช่วงที่จะหลุดได้หรืออยู่ในระยะพัก (วงจรการเจริญเติบโตของเส้นผมตามไปอ่านได้จากตอนแรกครับ) และหลังจากที่เกิดเหตุการณ์จับไข้ขึ้นสูงอย่างรุนแรงดังกล่าวแล้ว ประมาณ 2-3 เดือน คนไข้จะมีผมร่วงอย่างมาก หรือที่ภาษาชาวบ้านที่เรียกว่า “จับไข้หัวโกร๋น” หลังจากผ่านเหตุการณ์อย่างนี่สักครั้งในชีวิตจนเกิดผมร่วงตามหลังมา จากนั้นรูขุมขนก็จะกลับเจริญขึ้นมาใหม่เป็นปกติ

3. ผมร่วงระยะหลังคลอด 

 
คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ก้อมีโอกาสผมร่วงได้
รูปจาก http://www.medexpressrx.com/blog/causes-and-cures-of-hair-loss-during-pregnancy.aspx


คุณผู้หญิงที่ตั้งครรภ์มานาน 8-9 เดือน ระหว่างช่วงที่คลอดและระยะหลังคลอดนี้ ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างจะเฉียบพลัน จะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรากผมได้ ผลที่ตามมาหลังคลอดมักจะมีผมร่วง มักจะเป็นระยะ 2-3 เดือนหลังจากคลอด คุณแม่ที่มีผมร่วงจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ไม่จำเป็นต้องมาหาหมอ ผมจะค่อย ๆ กลับคืนสู่สภาพปกติได้เอง

4. ผมร่วงจากโรคทางกาย 
 มีหลายสาเหตุ เช่น เอสแอลอี (ลูปัส) โรคของต่อมธัยรอยด์ การกินยาบางชนิดที่ทำให้ผมร่วงเกิดจากผลข้างเคียงของยา เช่นยารักษามะเร็ง เพราะมีผลไปทำลายเซลล์และการสร้างผม คุณสามารถขอคำปรึกษาซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องมาหาหมอโดยตรงเพื่อค้นหาสาเหตุ เพราะถ้ารู้สาเหตุก็สามารถรักษาให้หายได้สาเหตุของผมร่วงและแนวทางการรักษา

ตอนต่อไป เรามาดูถึงต้นเหตุที่ทำให้ผมร่วงจริง บางจัง กันนะครับ จะได้ป้องกันผมร่วงกันต่อไป


แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 24 มิย. 2556  ,E-mail: utaisuk@gmail.com

 ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้นผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

 การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ ของผู้เขียนได้โดยตรง

  บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

ผมร่วง แล้วฉันจะหัวล้านไหม? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ผมร่วง มีกี่แบบ? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

สาเหตุของผมร่วง โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ผมร่วง สาเหตุและวิธีสังเกตุอาการด้วยตัวคุณเอง โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

 ผมร่วง รักษาอย่างไรให้เส้นผมกลับคืนมา โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ผมร่วง ดูแลสุขภาพเส้นผมอย่างไรไม่ให้ร่วงอีก โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ยารักษาผมร่วง โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ทำไมผู้ชายจึงหัวล้าน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ฮอร์โมนเพศชายทำให้ศีรษะล้านได้อย่างไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

Minoxidil Lotion ยาทารักษาผมร่วง โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

PROPECIA และ PROSCAR ยารักษาผมร่วง ผมบาง ศรีษะล้าน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

Hair Science,

Alfredo Rebora, MD
, Pathogenesis of androgenetic alopecia, Journal of the American Academy of Dermatology,Volume 50, Issue 5 , Pages 777-779, May 2004, http://www.jaad.org/article/S0190-9622(04)00006-4/abstract

Hair-raising. The latest news on male-pattern baldness.
,Proctor PH., Adv Nurse Pract. 1999 Apr;7(4):39-42, 83., http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10382384?dopt=Abstract

 Drug Induced Hair Loss, American Hair Loss Association. , http://www.americanhairloss.org/drug_induced_hair_loss/

 Androgenetic Alopecia, http://emedicine.medscape.com

British Association of Dermatologists’ guidelines for the
management of alopecia areata 2012
A.G. Messenger,  et al: http://www.bad.org.uk/Portals/_Bad/Guidelines/Clinical%20Guidelines/Alopecia%20areata%20guidelines%202012.pdf

 Androgen Therapy in Women: An Endocrine Society Clinical Practice Guideline
Margaret E. Wierman, et al:, 2006 Archive |October 2006 |Wierman et al. 91 (10): 3697, http://jcem.endojournals.org/content/91/10/3697.short
Barnett S. Kramer, et al: ,Use of 5-α-Reductase Inhibitors for Prostate Cancer Chemoprevention: American Society of Clinical Oncology/American Urological Association 2008 Clinical Practice Guideline, http://jco.ascopubs.org/content/27/9/1502.long

 Olsen E, Hordinsky M., McDonald-Hull S.       et al: , Alopecia areata investigational assessment guidelines. J Am Acad Dermatol             1999; 242-6. http://www.jaad.org/article/S0190-9622(99)70195-7/abstract

 Antonella Tosti, et al:,
Alopecia areata: A long term follow-up study of 191 patients
From the Department of Dermatology, University of Bologna, Journal of the American Academy of Dermatology
Volume 55, Issue 3, September 2006, Pages 438–441,
http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0190962206012886

 Shabnam Madani, Alopecia areata update ,Journal of the American Academy of Dermatology, Volume 42, Issue 4, April 2000, Pages 549–566, http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0190962200901646

 Alopecia, Thaichinda S1. Division of Dermatology, Department of Medicine, Hat Yai Hospital, Songkhla, 90110, Thailand Songkla Med J 2008;26(6):587-599S. http://thailand.digitaljournals.org/index.php/SOMJ/article/view/1136

Vera H. Price, M.D. Alastair J.J. Wood, M.D., Editor, Treatment of Hair Loss
N Engl J Med 1999; 341:964-973September 23, 1999, http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJM199909233411307

 John D. McConnell, et al:, The Long-Term Effect of Doxazosin, Finasteride, and Combination Therapy on the Clinical Progression of Benign Prostatic Hyperplasia, N Engl J Med 2003; 349:2387-2398December 18, 2003, http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/nejmoa030656

 A R Diani et al: , Hair growth effects of oral administration of finasteride, a steroid 5 alpha-reductase inhibitor, alone and in combination with topical minoxidil in the balding stumptail macaque., http://jcem.endojournals.org/content/74/2/345.short
James Leyden et al:, Finasteride in the treatment of men with frontal male pattern hair loss , Dermatology 19th World Congress, Australia, June 1997. Journal of the American Academy of Dermatology
Volume 40, Issue 6, June 1999, Pages 930–937, http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0190962299700812

 L Rhodes et al:,The effects of finasteride (Proscar) on hair growth, hair cycle stage, and serum testosterone and dihydrotestosterone in adult male and female stumptail macaques (Macaca arctoides)., http://jcem.endojournals.org/content/79/4/991.short

 Kid Wan Shum et al:,
Hair loss in women with hyperandrogenism: Four cases responding to finasteride
Journal of the American Academy of Dermatology
Volume 47, Issue 5, November 2002, Pages 733–739, http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S01909622020015

 Alopecia (Baldness), www.merck.com

Alopecia Areata, www.medicinenet.com

 นพ.สมยศ จารุวิจิตรรัตนา ผมร่วง หมอชาวบ้าน เล่มที่ 62 เดือน 6 ปี 1984

นพ.อภิชาติ ศิวยาธร ผมร่วง หมอชาวบ้าน เล่มที่ 112 เดือน 8 ปี 1988

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ใบกระท่อม เมื่อเสพแล้ว มีผลต่อร่างกายเราอย่างไร?



ปัจจุบันใบกระท่อมมีปัญหาการแพร่ระบาดในกลุ่มวัยรุ่นและนักเรียน  เนื่องมาจากหาได้ง่ายกว่ายาเสพติดอื่นๆ มีราคาถูกและทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มได้เช่นเดียวกับสารเสพติดอื่น  โดยมักนิยมนำน้ำกระท่อมต้ม ผสมกับโค้ก  ยากันยุง และยาแก้ไอ (4x100)  เรามาดูว่าในพืชกระท่อมมีสารอะไรที่มีผลต่อร่างกายผู้เสพอย่างไรบ้าง? อันตรายต่อร่างกายขนาดไหน? เพื่อเตือนคนที่เรารักว่าอย่าไปยุ่งกับมันเลย

ภาพประกอบด้านบน
ชุดสืบฯ ภูธรจังหวัดภูเก็ต รวบ 3 ผู้ต้องหาลอบค้าใบกระท่อมให้กลุ่มวัยรุ่น และแรงงานต่างด้าวในพื้นที่ พร้อมของกลางยาบ้า 408 เม็ด ใบกระท่อม 304 มัด และอุปกรณ์การผลิตสารเสพติด 4 คูณ 100
http://siangtai.com/new/index6.php?name=hotnews-index&file=readnews&id=11662

 กฎหมายควบคุมพืชกระท่อม ตอนนี้เราควบคุมอย่างไร? 
  • จัดเป็นยาเสพติดในไทย พม่า มาเลเซีย
  • ยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตาม พ.ร.บ ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ห้ามปลูก ผลิต ครอบครอง จำหน่าย นำเข้าส่งออก หรือเสพพืชกระท่อม
  • จัดเข้าในบัญชีของกลุ่มยาและสารพิษ ประเภท 9 ในออสเตรเลีย ห้ามปลูกและนำเข้าพืชกระท่อมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2548 ยกเว้นการนำเข้าเพื่อการศึกษาวิจัย
  • ยาและสารพิษในกลุ่มประเภท 9: เป็นสารที่ไม่มีการใช้บำบัดอาการหรือโรคแต่มีแนวโน้มในการใช้ในทางที่ผิด
พืชกระท่อมคืออะไร?
กระท่อม (Kratom) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mitragyna speciosa Korth. อยู่ในวงศ์ Rubiaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 10-15 เมตร  ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียว   เรียงตัวเป็นคู่ตรงข้าม    แผ่นใบขนาดกว้างประมาณ 5-10 ซม.  ยาวประมาณ 8-14 ซม.   ดอกมีสีขาวอมเหลืองออกเป็นช่อตุ้มกลมขนาด 3-5 ซม.   กระท่อมพบได้ในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น ปทุมธานี แต่จะพบมากในป่าธรรมชาติบริเวณภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูลพัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และตอนบนของประเทศมาเลเซีย

คนเขาเอาพืชกระท่อม ไปเสพอย่างไรบ้าง?

                                       รูปประกอบ: อุปกรณ์การเสพยา 4 x 100 จาก http://satu-indah.blogspot.com

                   ใบกระท่อมมีรสขมเฝื่อนเมา ใช้ประโยชน์ทางยาได้โดยเป็นยาแก้ปวดท้อง แก้บิด ท้องเสีย แก้ปวดเมื่อยร่างกาย  ระงับประสาทช่วยให้ทํางานทนไม่หิวง่าย    ผู้ใช้พืชกระท่อมส่วนใหญ่มักเป็นชาวนา  ชาวสวนและผู้ใช้แรงงานในชนบท   

          วิธีเสพใบกระท่อม  เคี้ยวใบสด หรือบดใบแห้ง ละลายน้ำดื่ม  บางรายเติมเกลือด้วยเล็กน้อยเพื่อป้องกันท้องผูก   ส่วนมากจะเคี้ยวเพียง 2-3 ใบ และดื่มน้ำอุ่น หรือกาแฟร้อนตาม   ใช้วันละ 3-10 ครั้งต่อวันตามอาการเหนื่อย   เมื่อใช้ไประยะหนึ่ง  ปริมาณการใช้จะเพิ่มขึ้น (ประมาณร้อยละ 37 ใช้วันละ 21-30 ใบ) 

ในบางรายก้อจะเอามาสูบใบแห้งหรือสกัดเอายางท่อม หรือไปผสมเป็นยาสูตร 4x100
ผู้เสพจะมีการนัดมานั่งเสพด้วยกัน และพูดคุยกันในเรื่องทั่ว ๆ ไป เหมือนการเสพน้ำชาหรือกาแฟ หรือคล้ายการตั้งวงเสพเหล้า กินกันจนหมดก็แยกย้ายกันกลับ ผู้เสพจะบอกว่าเสพแล้วรู้สึกสบายหายเครียด พูดคุยได้สนุกขึ้น ต่อมาก็จะเริ่มมึน ๆ ง่วง ๆ เหมือนเมาเหล้าแต่น้อยกว่ามาก โดยส่วนใหญ่ใช้สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง

ผลทางเภสัชวิทยาของสารเคมีในพืชกระท่อมมีผลต่อร่างกายเราอย่างไรบ้าง?


ภาพประกอบ: สาร mitragynine ที่สกัดได้จากใบกระท่อม
ภาพจาก https://psychoactiveherbs.com

จากการศึกษาสารสำคัญในใบกระท่อม   พบว่ามีแอลคาลอยด์หลายชนิด  แต่ที่สำคัญคือ mitragynine และ 7-hydroxy mitragynine เมื่อนำใบกระท่อมจำนวน 20 ใบ จะสกัดแล้วให้สาร mitragynine ประมาณ 17 มิลลิกรัม   สารนี้พบได้เฉพาะในพืชกระท่อมเท่านั้น  จึงใช้เป็นสารพิสูจน์เอกลักษณ์พืชกระท่อมได้    มีรายงานผลการศึกษาวิจัยสารสกัดจากใบกระท่อมและ mitragynine ในสัตว์ทดลอง   พบฤทธิ์ที่สำคัญดังนี้

                  1. ฤทธิ์ลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ  จึงมีฤทธิ์ทำให้เกิดการชาเฉพาะที่ได้  และยังมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางคล้ายโคเคน   

                  2. ฤทธิ์ระงับปวดในลักษณะเดียวกับมอร์ฟีนในฝิ่น      โดยออกฤทธิ์ที่   mu-opioid receptor และ delta-opioid receptor   และฤทธิ์ระงับปวดยังเกี่ยวพันกับฤทธิ์กดการทำงานของ 5-HT2A receptor    จึงเป็นสารแก้ปวดที่แตกต่างจากมอร์ฟีนฝิ่น

                 3. ฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารได้เช่นเดียวกับมอร์ฟีน  โดยผ่านกลไกการออกฤทธิ์ที่ opioid receptors  ทั้งนี้เชื่อว่า มีความเกี่ยวข้องกับอาการข้างเคียง เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด    และอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้เสพใบกระท่อมไม่รู้สึกหิว (ไม่อยากอาหาร) จึงทำงานได้นานขึ้น 

                 4. ฤทธิ์ลดการบีบตัวลำไส้  โดยออกฤทธิ์ที่   mu-opioid receptor และ delta-opioid receptor    จึงแตกต่างจากสารกลุ่ม opioid อื่นๆ

                 5. ฤทธิ์ในการลดไข้  โดยทดสอบเปรียบเทียบกับ aminopyrin                      
                      
                จะเห็นได้ว่าใบกระท่อมให้ผลการออกฤทธิ์ที่อาจมีประโยชน์ทางยาได้   แต่ทำให้เสพติดได้และยังมีผลเสียต่อสุขภาพ หากใช้ติดต่อกันนานๆ 

ผลของกระท่อมต่อร่างกายเรา มีอะไรบ้าง?
มีการศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้ใบกระท่อมมีการศึกษาหนึ่งสรุปว่า การใช้ใบกระท่อมในขนาดต่ำให้ผลระงับประสาท  แต่เมื่อขนาดสูงขึ้น กลับเปลี่ยนเป็นกระตุ้นประสาทแทน   แต่จากการศึกษาหลายแห่งสรุปในทางตรงกันข้าม กล่าวคือ การใช้ใบกระท่อมในขนาดต่ำๆ ให้ผลกระตุ้นระบบประสาท มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทคล้ายยาบ้าอ่อน ๆ ส่วนขนาดสูงกดประสาท

ในรายงานการศึกษาในคนที่เสพติดกระท่อมในประเทศไทย  พบว่าหลังเคี้ยวใบกระท่อมไปประมาณ 5-10  นาที  จะมีอาการเป็นสุข  กระปรี้กระเปร่า  ไม่รู้สึกหิว (ไม่อยากอาหาร)    ทํางานได้นานขึ้น   ทนแดด  แต่จะเกิดอาการกลัวหนาวสั่นเวลาอากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝน   ผู้เสพจะมีผิวหนังแดงเพราะเลือดไปเลี้ยงผิวหนังมากขึ้น      อาการข้างเคียง  ได้แก่  ปากแห้ง  ปัสสาวะบ่อย  เบื่ออาหาร ท้องผูก  อุจจาระแข็งเป็นก้อนเล็กๆ  นอนไม่หลับ   ถ้าเสพใบกระท่อมในปริมาณมากๆ จะทําให้มึนงง และคลื่นไส้อาเจียน (เมากระท่อม)  แต่ในบางรายเสพเพียง 3 ใบ ก็ทำให้เมาได้          

เมื่อใช้เป็นระยะเวลานาน จะมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด  นอนไม่หลับ ผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณโหนกแก้มมีสีคล้ำขึ้นคล้ายหน้าผู้ป่วยโรคตับ  ประมาณร้อยละ30 ของผู้ติดกระท่อม  รายงานว่า มีความต้องการทางเพศลดลง  และต้องใช้กระท่อมร่วมกับแอลกอฮอล์เพื่อกระตุ้นให้เกิดความต้องการทางเพศ    บางรายจะมีอาการโรคจิตหวาดระแวง เห็นภาพหลอน คิดว่าคนจะมาทำร้ายตน และพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง    

ถ้าหยุดเสพ  จะเกิดอาการขาดยา  ได้แก่ ไม่มีแรง ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและกระดูก แขนขากระตุก รู้สึกอ่อนเพลียไม่สามารถทำงานได้  อารมณ์ซึมเศร้า  นํ้าตาไหล นํ้ามูกไหล  ก้าวร้าว

ตอนหน้าเรามาดูว่ากลไกอะไรของกระท่อมจึงทำให้คนไข้เสพติดและ หากจะดื้ออยากเสพกันไปนานๆจะเกิดผลเสียรุนแรงต่อร่างกายอย่างไร และถ้าอยากจะเลิก ควรไปขอความช่วยเหลือจากใคร? ที่ไหนดี?

แหล่งข้อมูล
กลุ่มงานเภสัชกรรม Anonymous, กระท่อม, สถาบันธัญญารักษ์
,http://www.gotoknow.org/user/thawepon/profile


ภาพประกอบ
ชุดสืบฯ ภูธรจังหวัดภูเก็ต รวบ 3 ผู้ต้องหาลอบค้าใบกระท่อมให้กลุ่มวัยรุ่น และแรงงานต่างด้าวในพื้นที่ พร้อมของกลางยาบ้า 408 เม็ด ใบกระท่อม 304 มัด และอุปกรณ์การผลิตสารเสพติด 4 คูณ 100
http://siangtai.com/new/index6.php?name=hotnews-index&file=readnews&id=11662